Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75762
Title: Effects of astaxanthin supplementation on biological parameters in Thai healthy volunteers
Other Titles: ผลของการเสริมแอสตาแซนธินต่อพารามิเตอร์ทางชีวภาพในอาสาสมัครชาวไทยที่มีสุขภาพดี
Authors: Chuenjai Sratongfaeng
Advisors: Kulwara Meksawan
Pithi Chanvorachote
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Subjects: Astaxanthin
Antioxidants
แอนติออกซิแดนท์
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Astaxanthin, a powerful antioxidant, is widely used as a dietary supplement to promote several health benefits. However, the effects of long-term supplementation on general biological parameters in healthy adults is still insufficient. The objective of this study was to investigate the effects of 12-week astaxanthin supplementation on blood glucose, lipid profile and hematological parameters in healthy volunteers. Thirty-three healthy participants (16 in the experimental group and 17 in the placebo group) were enrolled in the study. The participants in the experimental group were supplemented with 4 mg/day of astaxanthin while those in the placebo group were supplemented with soybean oil capsule for 12 weeks. Body mass index and blood pressure were recorded, and blood sample was collected to determine serum astaxanthin, fasting blood glucose (FBG), lipid parameters, and hematological parameters before and after the supplementation. Moreover, the daily dietary intake was assessed by 3-day food record, and adverse effects during supplementation were investigated. After astaxanthin supplementation, serum astaxanthin concentration significantly increased from baseline (p < 0.05), and significantly 5-fold higher than those in the placebo group (p < 0.05). There were no significant changes in FBG, total cholesterol, high-density lipoprotein cholesterol, and low-density lipoprotein cholesterol from baseline after 12-week supplementation in both groups.  Although significant increased triglyceride level was found in the experimental group at week 12 (p < 0.05), the level was still in the reference range. No differences in FBG and lipid parameters at week 12 between groups were observed. In this study, most of hematological parameters were not affected by astaxanthin supplementation. Interestingly, the results showed reduced total energy and carbohydrate intakes of the participants in the experimental group at week 12 (p < 0.05), and their sodium intake was significantly lower than those in the placebo group (p < 0.05). No serious adverse effects were reported. Red stool, mild itching and loosing appetite occurred and then became better without discontinuing the supplementation. The findings suggested no effects on general biological parameters and potential dietary intake-lowering effect of astaxanthin in healthy individuals.  
Other Abstract: แอสตาแซนธินเป็นสารต้านออกซิเดชันที่มีการนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันอย่างแพร่หลาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ เกี่ยวกับผลของการเสริมแอสตาแซนธินในระยะยาว ต่อพารามิเตอร์ทางชีวภาพทั่วไป ของผู้ที่มีสุขภาพดี การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเสริมแอสตาแซนธินเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน และพารามิเตอร์ด้านโลหิตวิทยาในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี  มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 33 คน (16 คน ในกลุ่มทดลอง และ 17 คนในกลุ่มยาหลอก) ผู้เข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มทดลอง ได้รับการเสริมแอสตาแซนธินวันละ 4 มิลลิกรัม ในขณะที่กลุ่มยาหลอกได้รับเม็ดแคปซูลน้ำมันถั่วเหลือง เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการเสริมผลิตภัณฑ์ มีการเก็บข้อมูลดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และมีการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจสอบระดับแอสตาแซธินในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ระดับไขมัน และพารามิเตอร์ด้านโลหิตวิทยา นอกจากนี้ยังมีการประเมินการรับประทานอาหารโดยใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 3 วัน และมีการศึกษาผลไม่พึงประสงค์ในระหว่างการเสริมผลิตภัณฑ์ด้วย หลังการเสริมแอสตาแซนธิน พบว่าระดับแอสตาแซนธินในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) และระดับแอสตาแซนธินมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญถึง 5 เท่า (p < 0.05) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร คอเลสเตอรอลรวม เอชดีแอลคอเลสเตอรอล และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หลังจากได้รับการเสริมด้วยแอสตาแซนธินเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แม้พบว่า กลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธินมีระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในสัปดาห์ที่ 12 แต่ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นยังอยู่ในระดับปกติ ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและระดับไขมัน ในสัปดาห์ที่ 12 ในการศึกษานี้ การเสริมแอสตาแซนธินไม่มีผลต่อพารามิเตอร์ด้านโลหิตวิทยาส่วนใหญ่ ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มทดลอง ได้รับพลังงานรวมและคาร์โบไฮเดรตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในสัปดาห์ที่ 12 (p < 0.05) และมีการบริโภคโซเดียมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการเสริมแอสตาแซนธิน โดยพบอุจจาระมีสีแดง มีอาการคันเล็กน้อย และความอยากอาหารลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้ค่อย ๆ ดีขึ้นเอง โดยไม่ต้องหยุดการเสริมแอสตาแซนธิน ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมแอสตาแซนธินขนาด 4 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน รวมไปถึงพารามิเตอร์ด้านโลหิตวิทยา และอาจมีผลลดการบริโภคอาหารในผู้ที่มีสุขภาพดี
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Food Chemistry and Medical Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75762
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.235
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.235
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6076101033.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.