Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75895
Title: Effect of dietary microencapsulated organic acid and essential oil on sow performance and nursery piglet growth performance and fecal bacteria
Other Titles: ผลของการเสริมกรดอินทรีย์และสารสกัดน้ำมันที่ห่อหุ้มด้วยไมโครแคปซูลในอาหารต่อประสิทธิภาพของแม่สุกรและประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและแบคทีเรียในอุจจาระในสุกรอนุบาล
Authors: Aprilia Rizky Riadini
Advisors: Anongnart Assavacheep
Pornchalit Assavacheep
Kris Angkanaporn
Other author: Chulalongkorn university. Faculty of Veterinary Science
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The effect of feed supplementation with microencapsulated organic acids and essential oils (MOE, Porcinate+) in feed was investigated according to sow and nursery pig growth performances, and fecal bacteria population. Experiment 1: healthy three hundred and twenty sows during its late gestation period (7 days before farrowing) until the weaning phase (28 days after farrowing) were randomly divided as control group (160 sows) which was fed with basal diet, and treatment group (160 sows), which was fed with basal diets supplemented with 2 kilograms (kg) of MOE in 1 ton of feed. Each of 4 replications was composed of 40 sows in control and 40 sows in treatment groups. The results showed that sow back fat (BF) thickness and body condition score (BCS) were significantly decreased during late gestation phase until weaning within groups. However, BCS and BF thickness in treatment group were significantly higher compared to the control group at wean. The percentage of shoulder ulcer and score during lactation were lower in treatment group compared to control group. Furthermore, the positive correlation between BF to BCS tends to be found (p=0.01, r=0.362). Weaned pig numbers and weight were significantly increased in the treatment group compared to the control group. Experiment 2: two thousand and eight hundred weaned pigs were randomly divided into two groups; the control group (1400 pigs) which was fed with basal feed without MOE), and the treatment group (1400 pigs) which was fed with basal feed + MOE 2 kg/1 ton between 28 - 42 days old, and basal feed + MOE 1 kg/1 ton between 43 - 56 days old, respectively. The outcome revealed that average daily gain (ADG), average daily feed intake (ADFI), and feed conversion ratio (FCR) were statistically better in treatment than control groups. At the beginning and middle of the experiment, average number of coliform bacteria, E. coli, and Lactobacillus spp. in feces, including L/T and L/C ratios tended to have no significant difference between treatment than control groups. However, at the end of experiment (56 days of age), all bacterial population of both groups seemed to be statistically different, except the L/T and L/C ratios. In conclusion, feed supplementation with microencapsulated citric, fumaric, malic, and sorbic acid as organic acid mixture and eugenol, thymol, and vanillin as essential oil mixture offers better sow performance, increasing weaning pig weight gain and feed efficiency.
Other Abstract: ศึกษาผลการเสริมกรดอินทรีย์และสารสกัดน้ำมันห่อหุ้มด้วยไมโครแคปซูล (MOE, Porcinate+) ในอาหารต่อประสิทธิภาพของแม่สุกรและประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและประชากรแบคทีเรียในอุจจาระลูกสุกรอนุบาล ในการทดลองที่ 1 แม่สุกรอุ้มท้องจำนวน 320 แม่ ในช่วงก่อนคลอด 1 สัปดาห์จนถึงหย่านม ถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่กินอาหารปกติ จำนวน 160 แม่ และกลุ่มทดลองที่กินอาหารปกติเสริมด้วย MOE ขนาด 2 กิโลกรัมต่อตันอาหาร จำนวน 160 แม่ โดยในการทดลองแบ่งออกเป็น 4 ซ้ำ ในแต่ละซ้ำจะมีแม่สุกร 40 แม่ในกลุ่มควบคุมและ 40 แม่ในกลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่าแม่สุกรทั้งสองกลุ่มมีความหนาไขมันสันหลังและคะแนนรูปร่างลดลงในช่วงหย่านม โดยที่แม่กลุ่มทดลองมีการเสียความหนาไขมันสันหลังและคะแนนรูปร่างน้อยกว่าแม่กลุ่มควบคุม พบว่าร้อยละของแม่สุกรที่มีแผลหลุมที่หัวไหล่ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม รวมทั้งคะแนนแผลหลุมหัวไหล่ด้วย โดยพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความหนาไขมันสันหลังและคะแนนรูปร่าง ในการทดลองที่ 2 ลูกสุกรอนุบาลจำนวน 2800 ตัว ถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม (1400 ตัว) ได้รับอาหารปกติของฟาร์ม และกลุ่มทดลอง (1400 ตัว) ได้รับอาหารปกติเสริมด้วย MOE ขนาด 2 กิโลกรัมต่อตันอาหารในช่วงอายุ 28 - 42 และขนาด 1 กิโลกรัมต่อตันอาหารในช่วงอายุ 43 - 56 วัน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการกินอาหารต่อวันและอัตราแลกเนื้อของลูกสุกรในกลุ่มทดลองมีค่าทีดีกว่ากลุ่มควบคุม พบว่าจำนวนประชากรแบคทีเรียรวม เชื้อโคลัยฟอร์ม เชื้ออีโคลัยและเชื้อแลคโตบาซิลลัสในอุจจาระลูกสุกร รวมทั้งอัตราส่วนของเชื้อแลคโตบาซิลลัสต่อประชากรแบคทีเรียรวม อัตราส่วนของเชื้อแลคโตบาซิลลัสต่อเชื้อโคลัยฟอร์มในช่วงต้นและช่วงกลางของงานทดลองมีแนวโน้มจะไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมและทดลอง แต่ในช่วงท้ายของการทดลองที่อายุ 56 วัน พบว่าจำนวนประชากรแบคทีเรียรวม เชื้อโคลัยฟอร์ม เชื้ออีโคลัยและเชื้อแลคโตบาซิลลัสในอุจจาระลูกสุกรของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของอัตราส่วนของเชื้อแลคโตบาซิลลัสต่อประชากรแบคทีเรียรวม อัตราส่วนของเชื้อแลคโตบาซิลลัสต่อเชื้อโคลัยฟอร์มระหว่างทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการทดลองว่าการเสริมด้วยส่วนผสมของกรดซิตริก กรดฟูมาริก กรดซอร์บิกและส่วนผสมของสารสกัดน้ำมัน ยูจีนอล ไธมอลและวานิลินที่ห่อหุ้มด้วยไมโครแคปซูลในอาหารช่วยทำให้ประสิทธิภาพแม่สุกรได้ดีขึ้น และเพิ่มน้ำหนักหย่านมและสมรรถภาพการใช้อาหารของลูกสุกรอนุบาลได้
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2020
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Veterinary Science and technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75895
URI: https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.470
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.470
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6278008031.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.