Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75999
Title: | การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา โรงพยาบาลศิริราช |
Other Titles: | Designing graphics for medical services of university hospital: case study Siriraj hospital |
Authors: | ดัยนยา ภูติพันธุ์ |
Advisors: | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การออกแบบกราฟิก ป้ายสัญลักษณ์ -- การออกแบบ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จำนวนผู้มาใช้บริการทางการแพทย์ทุกระดับขั้นและทุกประเภทในโรงพยาบาล มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในแผนกผู้ป่วยนอก ที่มีผู้มาใช้บริการในแต่ละวันสูงถึง 12,000 คน และ 2,000,000-3,000,000 คนต่อปี (ICT.MOPH, 2562) และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลที่ดีในการใช้บริการ ทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้และให้บริการล่าช้าและปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาความแออัดของการใช้บริการ นำไปสู่ปัญหาการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรครุนแรง เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน การกำหนดยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในด้านสาธารณสุข กำหนดให้การบริการทางการแพทย์ (Service Excellence) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความเป็นเลิศทางสาธารณสุขของประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562) กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน สถาบันวิจัยรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ได้มีความพยายามในการแก้ปัญหานี้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในแนวทาง “smart hospital” เช่นการใช้ ตู้ดิจิทัล (digital kiosks) หรือการ ใช้แอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาล เพื่อช่วยในการบริหารจัดการการนัดหมาย การเช็คอินเข้าตรวจ การชำระค่าบริการ ค่ายา และอื่น ๆ เช่น แอปพลิเคชั่น Siriraj Connect ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล Rama App ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Chula Care ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หรือ แอปพลิเคชั่น QueQ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมาการนำองค์ความรู้ในการออกแบบเรขศิลป์มาปรับใช้กับสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย แต่การใช้สื่อเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลนั้น ยังไม่มี การให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการใช้และการให้บริการทางการแพทย์ เมื่อผู้ใช้บริการมาที่สถานบริการได้จริง (SEGD, 2014) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ (Baby Boomer) และกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึง เข้าใจ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (MDES, 2562) การนำระบบเรขศิลป์ป้ายบอกทางในสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อสนับสนุนการใช้งานสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยเคลื่อนย้ายผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว และลดความแออัดของการใช้บริการลงได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคลาการและเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลมากเท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ นอกจากนั้นระบบเรขศิลป์ป้ายบอกทางในสิ่งแวดล้อม ยังสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการใช้งานสื่อเรขศิลป์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในแนวทาง “smart hospital” ในสถานพยาบาลได้ดีและทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันระบบเรขศิลป์ป้ายบอกทาง ยังสามารถช่วยสื่อสารความรู้สึกเชิงบวก เรื่องราว และ อัตลักษณ์ขององค์กรของสถานพยาบาลเหล่านั้นได้อีกด้วย (SEGD, 2014) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ มีขึ้นเพื่อหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางในสิ่งแวดล้อม สำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่เพื่อสังเกตและเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ (กรณีศึกษาโรงพยา บาลศิริราช) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสถาณการณ์ การใช้สื่อเรขศิลป์สำหรับการบริการทางการ แพทย์ใน โรงพยาบาลในปัจจุบัน เพื่อหาภาระของการใช้สื่อเรขศิลป์ชนิดต่าง ๆ ความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยเน้นวิเคราะห์การใช้งานของสื่อเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางเป็นหลัก การศึกษา คัดเลือก และวิเคราะห์ ตัวอย่างงานเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ที่ดีและมีคุณภาพ รวมถึงการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบงานต้นแบบและการประเมินผลงาน ถูกนำมาใช้เพื่อหาแนวทางในการออกแบบสื่อเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ผลของการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า แนวทางการออกแบบสื่อเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ ในโรงพยา บาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่ดี ที่ผู้ออกแบบควรคำนึงถึง ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ในสามเรื่อง คือ 1) รูปแบบและการใช้งานของระบบป้าย 2) องค์ประกอบศิลป์ในการออกแบบ และ 3) การใช้สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์สื่อโต้ตอบ โดยผสมผสานคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ (unique point) ในงานออกแบบที่ดีผ่านกระบวนการในการออกแบบ 6 ข้อ สำหรับนำมาใช้ในการออกแบบ ดังนี้ 1) การหาและการนำอัตลักษณ์เรื่องราวของโรงพยาบาล (แบรนด์) มาใช้ 2) การให้ ความสำคัญกับความเกี่ยวข้องของโรงพยาบาลกับชุมชนรอบข้าง 3) การออกแบบเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึก ในเชิงบวกให้ผู้มาใช้บริการ 4) การออกแบบโดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นและยั่งยืน 5) การออกแบบโดยเน้นการตอบสนองผู้มาใช้บริการเป็นหลัก และ 6) การใช้เทคโนโลยีสื่อปฏิสัมพันธ์โต้ตอบในงานออกแบบ ซึ่งแนวทางในการออกแบบนี้ จะนำไปสู่กระบวน การในการออกแบบเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัยที่ดีต่อไป |
Other Abstract: | According to Thailand 20 years National Strategy on Public Health under Service Excellence, Thailand strives to improve its healthcare service system not only to accompany domestic users, but also aim to become an international medical hub in the region and one of the best globally (Ministry of Public Health, 2017). However, one of the challenges to implement the strategy is the overpopulation of medical service users especially in a large governmental hospital setting. Numbers of patients for hospital visits are increased yearly, especially in the area of out-patient departments (OPD) of the large public hospitals, university hospitals, which mostly hold a number of visitors around 10,000 per day and between 2,000,000-3,000,000 per year (ICT.MOPH, 2019). The Ministry of Public Health, private and public sectors, along with hospitals themselves have launched policies and practices to try to solve this problem including the governmental policy of “Smart Hospital.” The use of media and technology that link to communication design applications and practices has become one of the executed tools to help tackle this problem, for example, the use of informative and “smart” digital kiosks to search for a specific information and to make an online payment along with hospital’s mobile applications, such as, Siriraj Connect, Rama App, Chula Care, and QueQ to help reduce number of patients for hospital visit to manage the traffic flow and appointments. However, the use of Environmental Graphic Design (EGD) system for wayfinding is overlooked even though it is proven to help create efficiency of visitors’ flows through hospital’s services (SEGD, 2014). The use of signage system for wayfinding in hospital setting is also help facilitate visitors who are not equipped with the use of technology through online communication. With the use of an effective signage navigation system, visitors not only are facilitated for their needs of direction, but also are physically engaged and interact with the hospital brand identity. From stated reasons above, the study to search for the appropriate design direction and practice of EGD design for large public hospital is essential to help solving the problem. The objective of this research is to search for the appropriate approaches to design directions and practices of environmental graphics design (EGD), signage system, for healthcare services in large public hospital settings. The investigation covers on-site observation of the use of communication design media and applications, focusing on EGD systems in healthcare service areas, such as out-patient departments in large public hospitals in Thailand; Siriraj Hospital, Ramathibodi Hospital, and Chulalongkorn Hospital, to depict and identify audiences’ pain points and design challenges for EGD usage. Questionnaires and in-depth interviews are also distributed and arranged during the investigation along with the review of best practice projects, case studies, related researches and material for analysis. On-site visits for the EGD usage observation are also arranged along with the prototype design and assessment. The investigation result shows three main design criteria for EGD design direction and practice in the areas of 1.) Form and Usage, 2.) Design Elements, and 3.) Interactive Multimedia. The result also identifies six key unique points of the EGD design for healthcare service project through design process and practice including 1.) Brand story identification and implementation, 2.) Hospital and surrounding community integration, 3.) Positive experiences creation, 4.) Flexibility and sustainability design approach, 5.) User-centric on patient focused, and 6.) Advanced technology with interactive experience usage. The integration of found criteria and key unique qualities lead to the design guideline for healthcare EGD for medical services in a large public hospital setting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75999 |
URI: | https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.546 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.546 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986813335.pdf | 25.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.