Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76001
Title: การออกแบบเรขศิลป์สำหรับพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ
Other Titles: Graphic design for museums to enhance lifelong learning for Thai digital natives
Authors: สิรดา ไวยาวัจมัย
Advisors: เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: พิพิธภัณฑ์ -- การจัดแสดง
การออกแบบกราฟิก
Museum exhibits
Graphic design
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พิพิธภัณฑ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรในชาติ เป็นพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ประชาชนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยเปิดมุมมองความคิดกระตุ้นให้เกิดความสงสัย สนใจค้นหาคำตอบ สามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ความรู้ไปสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มช่วงวัยที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ ส่วนหนึ่งในพันธกิจหลักของงานพิพิธภัณฑ์คือการสื่อสารองค์ความรู้ที่อยู่ภายใน สามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างเข้าใจ จึงจะสามารถสะท้อนบทบาทพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชาติสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการสร้างชุดเครื่องมือการวิจัยแบบสอบถาม แบบวิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดี แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มโดยการเก็บข้อมูลจากนักจัดการองค์ความรู้งานพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักออกแบบ และกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับพิพิธภัณฑ์ในกลุ่มดิจิทัลเนทีฟ คือแพลทฟอร์มออนไลน์ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี เน้นรูปแบบการสื่อสารใน 2 ลักษณะคือ การสร้างคุณค่าของข้อมูล (High Value) และกระตุ้นการมีส่วนร่วม (High Engagement) โดยพบแนวทางการพิจารณาเนื้อหาเด่นของพิพิธภัณฑ์เพื่อใช้สื่อสารได้เป็น 6 เรื่องเด่น เรียกว่า “S-6 (Story of 6)” จากการประยุกต์ใช้ผลของการวิจัยเพื่อการออกแบบสร้างสรรค์สื่อเรขศิลป์ออนไลน์สำหรับพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ สามารถสร้างความดึงดูดใจต่อกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟช่วยเชื่อมโยงองค์ความรู้ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างยั่งยืน
Other Abstract: Museums, as a learning space, play an important role for human resources development of the nation. Museums create a connection of self-assessment learning between knowledge and people. To broaden a wide of thinking, ambulating a curiosity to explore the answers. To apply and constitute wisdom into success particularly for those young generation who driving the nation. A part of its museum mission, is to communicate knowledges inside a museum and to be able to adapt into a progressive technology precisely. This significant role may reflect a lifelong learning space and impact a target group to develop the potential of people in the nation prosperously. This research is purposed to study a graphic design approach to enhance lifelong learning in Thai digital natives and applied a mixed research methodology of quantitative and qualitative research. Producing research tools of a questionnaire, best practice analysis form, in-depth interview, and focus group discussion by collecting all the data from senior knowledge management of a museum, professionals, academics, designers, and Thai digital natives. The result of the research founded that designing the graphic for museums for Thai digital natives is online platforms which related to behavioral technology. Emphasizing a communication method with two approaches; create ‘high value’ and trigger ‘high engagement’. The research was clearly identified a considerably influence of museum to communicate into 6 stories called “S-6 (Story of 6)”. By applying the research, the result considered attracting Thai digital natives bridging knowledge and enhance a museum for lifelong learning sustainably.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76001
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.549
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.549
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986841935.pdf31.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.