Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76014
Title: ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีวิจัยสร้างสรรค์: การแสดงฟลูตเชมเบอร์อองซอมเบิลผ่านการตีความเชิงทฤษฎีและประวัติศาสตร์
Other Titles: Doctoral creative music research: a performance of flute chamber ensemble through theoretical and historical approaches
Authors: เศรษฐพงศ์ จรรยารยชน
Advisors: ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การแสดงดนตรี
ฟลูต
Music -- Performance
Flute
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาบทเพลงของฟลูตผ่านวรรณกรรมทางดนตรีในรูปแบบของการบรรเลงรวมวงเป็นการสะท้อนถึงอัจฉริยภาพของคีตกวีและระดับความสามารถของนักดนตรีที่บรรเลงในแต่ละยุคสมัย การศึกษาและตีความเพื่อสังเคราะห์ทักษะปฏิบัติผ่านการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีที่หลากหลาย การบูรณาการทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมอง และองค์ความรู้เชิงปฏิบัติดนตรี สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การตีความบทเพลงผ่านประสบการณ์ รสนิยม การนำเสนอแนวความคิดทางดนตรี ผ่านกระบวนการฝึกฝนอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการบรรเลง งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา องค์ความรู้ พัฒนาการ แนวคิดและบทบาทของเครื่องดนตรีฟลูตในบริบทของการบรรเลงรวมวงจากกลวิธีการบรรเลงและบทประพันธ์ที่เปลี่ยนเพลงตามอิทธิพลแนวคิดของผู้ประพันธ์และยุคสมัยทางดนตรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบรรเลงจากวรรณกรรมทางดนตรี นำไปสู่การตีความวิเคราะห์สังคีตลักษณ์เพื่อสังเคราะห์ และพัฒนากลวิธีการบรรเลงฟลูตในบริบทของการบรรเลงรวมวง 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการแสดงฟลูตในรูปแบบการบรรเลงรวมวง โดยนำแนวคิดและองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานและบูรณาการร่วมกับการแสดงดนตรีภายใต้กรอบของการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีหลักคือฟลูต นำเสนอผ่านการแสดงคอนเสิร์ต 3 รายการ ผ่านกระบวนการคัดเลือกวรรณกรรมการบรรเลงรวมวงที่สำคัญสำหรับเครื่องดนตรีฟลูต รูปแบบการประสมวงดนตรี เอกลักษณ์และมุมมองของคีตกวีทั้งต่อบทประพันธ์และเครื่องดนตรี และคุณค่าของบทประพันธ์ ภาพสรุปของการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์สู่แนวคิดด้านพัฒนาการวรรณกรรมดนตรีฟลูต เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งมุมมองของคีตกวีต่อเอกลักษณ์เครื่องดนตรีฟลูต สังเกตได้ว่าฟลูตนั้นมีอัตลักษณ์ของเครื่องดนตรีในการนำเสนอบทบาทในสัญญะของนกหรือเสียงร้องได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีช่วงระยะเวลาที่เริ่มได้รับความนิยมและเป็นเครื่องดนตรีกระแสนิยมในแต่ละยุคสมัย แต่มิได้หมายความว่าหลังจากผ่านพ้นยุคสมัยเหล่านั้นค่านิยมจะหายสาบสูญจนหมดสิ้นไปทั้งหมด แนวคิดในการบรรเลงนั้นยังคงมีอยู่แม้ช่วงเวลาจะเปลี่ยนผ่านไป เพียงแต่อาจจะลดบทบาทลงเท่านั้น ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ความคิดของสังคมต่อเครื่องดนตรีฟลูตได้อย่างมีนัยสำคัญ ความเป็นดนตรีแห่งมิตรภาพ เป็นภาพสะท้อนของการบรรยายคุณลักษณะของดนตรีเชมเบอร์ถึงกระบวนการทำงานร่วมกันของนักดนตรีอย่างเป็นระบบทั้งด้านการฝึกซ้อม การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการวิพากษ์เพื่อหาข้อสรุปอย่างเป็นประชาธิปไตยผ่านการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ ของบทเพลง กล่าวได้ว่าการบรรเลงในวงดนตรีเชมเบอร์นั้นจะต้องมีทักษะพิเศษทั้งในเชิงดนตรีและสังคม โดยสิ่งที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของดนตรีแชมเบอร์นั้น คือ การสื่อสารและกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างนักดนตรี
Other Abstract: The study of flute through music literature in the form of ensemble music reflects the intelligence of composers and capability of musicians living in each era. To research and analyze ensemble music for synthesis purpose, critical thinking patterns, perspectives, and practical music knowledge result in interpretations via experiences, preferences, musical concepts that come from consistent practice which is the main concept of performing arts. This research aims to: 1) To research and analyze the problem and to develop concepts and the role of flute on the chamber music by studying the performance and repertoires that have changed in accordance with the composer’s method and the Western music era; 2) To study the pattern of performance through musical literature which can lead to a form and analysis interpretation and improvement of flute’s role in chamber music; and 3) To create recognition of flute performance in chamber music. According to the key of performing development and sincerity towards music expression, it is important to utilize fundamental techniques and integrate performing practice within the concept of chamber music performance by focusing on the flute throughout the three doctoral recitals. The process of selecting flute chamber music repertoires, instrumental forms, composer’s uniqueness, and aspects within the masterpieces and instrumentations. An overview of the historical synthesis towards the conceptual development of flute repertoires brought about the composer's perspective on the identity of the flute. In the past, flute represented a strong concept of musical instrument identity in expressing its role in both bird and voice imitation. Despite its popularity as a mainstream musical instrument during particular era, this concept still remains unceasingly through different transitions. Thus, it might be less important which reflects the perception of society towards flute. The Music of Companionship expresses the characterization of chamber music towards the collaborative process amongst musicians in terms of rehearsal, knowledge exchange, and criticism in finding the right conclusion through discussion about performance practice. Chamber music performance requires both musical and social talents, while the key to chamber music is the communication and collaboration between musicians.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76014
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086816735.pdf27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.