Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76072
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
Other Titles: Content analysis of marketing communications for environmentally friendly products in video clips of Thai and Taiwanese youtubers
Authors: ปาณิสรา จันทร์นวล
Advisors: วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด
การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลิตภัณฑ์สีเขียว
Communication in marketing
Content analysis ‪(Communication)‬
Green products
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนำเสนอในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 2) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประเภทของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 3) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบคลิปวิดีโอ รูปแบบการโฆษณา และ การระบุผู้โฆษณาของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาคลิปวิดีโอในช่องยูทูบจำนวน 10 ช่อง ที่มีช่วงเวลาในการลงคลิปวิดีโอตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม ในปี พ.ศ. 2562 และสุ่มคลิปวิดีโอ 3 คลิปต่อเดือน รวมเป็นจำนวน 180 คลิปวิดีโอที่นำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่ายูทูบเบอร์ไต้หวันมีปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทย ในด้านประเภทสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไต้หวันนั้นมีสินค้าประเภทอาหารปรากฏมากที่สุด ในขณะที่คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทยมีสินค้าประเภทสุขภาพและความงามปรากฏมากที่สุด ในด้านรูปแบบคลิปวิดีโอ การโฆษณา และการระบุผู้โฆษณา พบว่า ยูทูบเบอร์ทั้งไทยและไต้หวันใช้รูปแบบคลิปวิดีโอรีวิวสินค้า รูปแบบการโฆษณาทดลองสินค้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าคลิปวิดีโอส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีการระบุผู้โฆษณา จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อแนะนำที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของงานที่ผ่านมาในส่วนของการสื่อสารการตลาดบนยูทูบว่าควรมีการสร้างความโปร่งใสในการให้ผู้รับสารทราบว่าคลิปวิดีโอนั้นมีการโฆษณาหรือไม่ อีกทั้งผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเนื้อหาคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to compare the number of video clips containing environmentally friendly products presented in YouTube video clips from Thai and Taiwanese YouTubers 2) to compare the amount of environmentally friendly products, environmentally friendly brands and types of environmentally friendly products in YouTube video clips from Thai and Taiwanese YouTubers 3) a comparative study of video clip formats, advertising format, and advertiser identification of environmentally friendly products in YouTube video clips from Thai and Taiwanese YouTubers. The method of this research was to analyze the content of video clips on 10 YouTube channels. The results showed that Taiwanese YouTubers had more video clips containing environmentally friendly products than Thai YouTubers. In terms of products that are claimed to be environmentally friendly, Taiwanese YouTuber's video clips show the most food products. While Thai YouTube's video clips show the most health and beauty products. In terms of video clip formats, advertising format, and Marketing resources, both Thai and Taiwanese YouTubers used the Product Review format and Product Testing format the most. The results also showed that most of the video clips are not identified as advertisement, and do not acknowledge it as advertising and indicate it as being such. 
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76072
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1364
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1364
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184683228.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.