Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76108
Title: ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีการกำหนดจุดยืนเรื่องการต่อต้านการเหยียดรูปร่างและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันมี
Other Titles: Image of brand with standpoint against body shaming and purchasing decision of generation ME consumers
Authors: ศุภิสรา ชัยสว่างเลิศ
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การเลือกของผู้บริโภค
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
Consumers' preferences
Branding ‪(Marketing)‬
Brand name products
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีการกำหนดจุดยืนเรื่องการต่อต้านการเหยียดรูปร่าง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็น ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันมีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยนำร่องโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชันมี จำนวน 200 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคเจเนอเรชันมี มีความคิดเห็นและภาพลักษณ์ตราสินค้าเชิงบวกต่อตราสินค้าที่มีการกำหนดจุดยืนเรื่องการต่อต้านการเหยียดรูปร่าง และมีการตัดสินใจเลือกซื้อในระดับสูง เช่นเดียวกับเมื่อตัดสินใจซื้อแล้วจะไม่เปลี่ยนใจอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า 1) ความคิดเห็นต่อตราสินค้าที่มีการกำหนดจุดยืนเรื่องการต่อต้านการเหยียดรูปร่างมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีทิศทางแปรตามกัน 2) ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีการกำหนดจุดยืนเรื่องการต่อต้านการเหยียดรูปร่าง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน
Other Abstract: The objectives of this research are to explore Generation ME consumer’s opinion, image of brand with standpoint against body shaming and explain relationship of opinions, brand image, and Generation ME consumer’s buying decisions. This pilot research is based on a survey method using a questionnaire to collect data from 200 samples of generation Me consumers. The results indicate that Generation ME consumer’s opinion and image of brand with standpoint against body shaming is positive and Generation ME buying decision is high. The result of hypothesis testing shows that Generation ME consumer’s opinion of brand with standpoint against body shaming positively correlates with brand image at the significance .01 which is a high level, while image of brand with standpoint against body shaming positively correlates with the brand image at the significance .01 which is a middle level.
Description: สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76108
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.333
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.333
Type: Independent Study
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280037728.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.