Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/763
Title: การศึกษาความสามารถในการเขียน ของนิสิตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์
Other Titles: A study of the writing ability of EAP science students
Authors: สุภาณี ชินวงศ์
Email: csupanee@chula.ac.th, Supanee.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การเขียน
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
ความสามารถทางภาษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนงานเชิงวิชาการและปัญหาในการเขียนของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะสาขา โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนของนิสิตที่มีความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ อีกทั้งศึกษาประเภทและปริมาณของข้อผิดพลาดในงานเขียนของนิสิตที่มีความสามารถทางภาษาต่างกัน และเพื่อหาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยปรับปรุงทักษะการเขียนของนิสิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาในปีการศึกษา 2541 จำนวน 180 คน และในปีการศึกษา 2542 จำนวน 200 คน โดยแบ่งตามระดับความสามารถทางภาษาเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ โดยพิจารณาจากผลคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบทักษะการเขียนแบบอัตนัยซึ่งครอบคลุมการเขียน 4 ประเภท คือการเขียนตอบคำถาม การเขียนบรรยายกราฟ การเขียนสรุปความ และการเขียนอภิปราย แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิต และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้สอนเกี่ยวกับความจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเขียนงานประเภทต่าง ๆ ปัญหาในการเขียน วิธีการเขียนการสอนทักษะการเขียนและการตรวจและประเมินงานเขียน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย one-way ANOVA, Scheffe test และ t-test แบบกลุ่มอิสระ และหาความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับที่ของสเปียร์แมน การวิจัยนี้พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเขียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาล โดยมีความสามารถในการเขียนบรรยายกราฟดีที่สุด รองลงมาคือ การเขียนตอบคำถาม การเขียนสรุปความและการเขียนอภิปรายตามลำดับ 2. โดยเฉลี่ยแล้วนิสิตกลุ่มเก่งมีความสามารถในการเขียนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง นิสิตกลุ่มปานกลางมีความสามารถในการเขียนอยู่ในระดับปานกลาง และนิสิตกลุ่มอ่อนมีความสามารถอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ และความสามารถในการเขียนของนิสิตทั้งสามกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. โดยเฉลี่ยแล้วนิสิตกลุ่มตัวอย่างสามารถใช้ภาษาในการเขียนสรุปความดีกว่าการเขียนบรรยายกราฟและการเขียนอภิปรายตามลำดับ 4. โดยเฉลี่ยแล้วนิสิตกลุ่มตัวอย่างสามารถเรียบเรียงเนื้อความในการเขียนบรรยายกราฟได้ดีกว่าการเขียนสรุปความและการเขียนอภิปรายตามลำดับ 5. โดยเฉลี่ยแล้วนิสิตกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านเนื้อหาในการเขียนบรรยายกราฟดีกว่าการเขียนสรุปความและการเขียนอภิปรายตามลำดับ 6. ความสัมพันธ์ระหว่างผลคะแนนสอบการเขียนงานเชิงวิชาการ 4 ประเภท อยู่ในระดับปานกลางถึงตำ 7. นิสิตที่มีความสามารถทางภาษาต่ำจะมีข้อผิดพลาดในการเขียนคล้ายกับนิสิตที่มีความสามารถทางภาษาสูงต่ำจะมีข้อผิดพลาดในการเขียนคล้ายกับนิสิตที่มีความสามารถทางภาษาสูงกว่าแต่ในปริมาณที่มากกว่าทั้งด้านกลไกการเขียนด้านคำศัพท์ ด้านไวยากรณ์และระดับข้อความ 8. ไวยากรณ์เป็นปัญหาที่นิสิตกลุ่มตัวอย่างประสบมากที่สุดในการเขียน รองลงมาคือ คำศัพท์ การเรียบเรียงเนื้อความ การคิดเนื้อความที่จะเขียน และกลไกการเขียนตามลำดับ ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าความสามารถในการเขียนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ ความสามารถทางภาษา ความรู้ภูมิหลัง และประเภทของงานเขียน นอกจากนี้ระดับความสามารถทางภาษามีผลต่อชนิดและปริมาณของข้อผิดพลาดในงานเขียน งานวิจัยนี้ได้เสนอว่าในการสอนทักษะการเขียนงานเชิงวิชาการควรเน้นการสอนไวยากรณ์และคำศัพท์ควบคู่ไปกับการสอนกระบวนการคิดและกระบวนการเขียน ควรมีการผสมผสานระหว่างการสอนแบบเน้นผลงานและการสอนแบบเน้นกระบวนการ ควรให้นิสิตฝึกฝนทั้งการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านเนื้อหาและฝึกฝนการเขียนทั้งในและนอกชั้นเรียน
Other Abstract: The present study was designed to examine writing abilities and problems of English for Academic Purposes (EAP) science students, and to compare the writing abilities of students with high, mid-level, and low language proficiency levels. In addition, the study investigated the types and frequencies of writing error committed by these different ability groups, as well as explored teaching methods and learning strategies that could enhance students' writing skills. Data were collected from science who were enrolled in EAP courses in 1998 and 1999, totalling180 and 200 respectively. They were classified as high-proficiency, mid-proficiency, and low-proficiency groups on the basis of their scores on the Foundation English II test. They were first required to take an academic writing test, consisting of a reading comprehension question-answer type, a graph description, a summary, and an opinion essay. Questionnaires about writing needs, problems and teaching methods for writing were then distributed to these students as well as the teachers who were assigned to teach the EAP course for science students. Statistical methods used in the study included arithmetic means, standard deviations, percentages, one-way ANOVA, Scheffe test, and t-test. The Pearson product-moment correlations and the Spearman rank correlations were also employed. The findings can be summarized as follows: 1. Science students had mid-level writing proficiency, performing best in graph description, followed by the question-answer type, summary tasks and opinion essays. 2. The high-proficiency group had a rather high writing ability, the mid-proficiency group had a mid-level writing ability, and the low-proficiency group had a mid-level-to-somewhat low writing ability. Statistical differences were found among the writing abilities of these three proficiency groups. 3. With respect to language use, science student writers performed better in summary tasks than in graph description and in opinion essays respectively. 4 With respect to discourse organization, science student writers performed better in graph description than in summary tasks and in opinion essays respectively. 5. With respect to gist or content, science student writers performed better in graph description than in summary tasks and in opinion essays respectively. 6.Moderate-to-weak correlations were found among the scores for each writing task. 7 Writing errors committed by lower proficiency groups were similar in kind to, but occurred more frequently than those made by higher proficiency group in all aspects, including mechanics, vocabulary, grammar and discourse errors. 8.Grammar was reported to be the most severe problem of science student writers, followed by vocabulary, discourse organization, content generation, and writing mechanics. Results of the study indicate that writing proficiency is influenced by several factors such as language proficiency, background knowledge and writing tasks, and that language proficiency levels affect the kind and the number of writing errors,. It had been suggested that writing instruction should focus on grammar and vocabulary as well as the writing process. The product-based approach and the process-based approach should be integrated in teaching academic writing. Reading and writing practices must also be emphasized both in and outside classroom.
Description: การเรียนรู้ภาษาที่สอง -- การจัดหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา -- ทักษะการเขียน -- การทดสอบและประเมินความสามารถในการเขียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/763
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supanee(eap).pdf19.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.