Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76379
Title: A topical eye drop versus intra-meibomian gland injection of bevacizumab for meibomian gland dysfunction patients.
Other Titles: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการหยอดตาและการฉีดยาบีวาซิซูแมบ (bevacizumab) เข้าสู่ต่อมไขมันที่เปลือกตาในการรักษาผู้ป่วยโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน
Authors: Chitchanok Tantipat
Advisors: Krit Pongpirul
Ngamjit Kasetsuwan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Purpose: To compare the efficacy and safety of topical bevacizumab eye drop versus intra-meibomian gland injection of bevacizumab when used with the standard lid hygiene in meibomian gland dysfunction (MGD) patients. Methods: 60 eyes of 30 MGD patients with lid margin telangiectasia were randomized to receive 0.05% bevacizumab eye drop or single 2.5% intra-meibomian gland bevacizumab injection plus standard lid hygiene. The primary outcomes were telangiectasia grading and the computerized lid margin neovascularized area (LMNA). The secondary outcomes were the ocular surface disease index (OSDI) score, corneal staining, meibomian gland quality, meiboscore, conjunctival redness, fluorescein break up time (FBUT), noninvasive tear breakup time (NIBUT), lipid layer thickness (LLT), compliance of treatments, and adverse events (AE). All the parameters were re-evaluated before and until 3 months after treatment. Results: A significant improvement in telangiectasia grading and LMNA, primary outcomes, were observed in injection group at month 3 (p<0.05) but LMNA was not apparent in the eye drop group. In the injection group, there were significant improvements in corneal staining, meiboscore, and FBUT compared with the eye drop group (p<0.05). Both groups showed significant improvements in OSDI score, corneal staining, MG quality, meiboscore, and conjunctival redness compared with pre-treatment. (p<0.05). Conclusions: Both routes of intra-MG injection and eye drop bevacizumab administrations were safe and effective in reducing lid margin telangiectasia and signs and symptoms of MGD. Therefore, both routes of administration could be an alternative or adjunctive treatment with the standard lid hygiene for MGD patients.
Other Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยระหว่างการรักษาด้วยการหยอดตากับการฉีดยาบีวาซิซูแมบเข้าสู่ต่อมไขมันที่เปลือกตาเมื่อใช้ร่วมกับการทำความสะอาดเปลือกตาแบบมาตรฐานในผู้ป่วยโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาทางคลินิคเปรียบเทียบแบบสุ่ม โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตันร่วมกับพบภาวะเส้นเลือดที่ขอบเปลือกตาที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการแบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่ม เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วยยาหยอดตาบีวาซิซูแมบวันละ 4 ครั้งทั้ง 2 ข้างร่วมกับการประคบอุ่นและทำความสะอาดเปลือกตา กลุ่มที่ 2 ได้รับการฉีดยาบีวาซิซูแมบเข้าสู่ต่อมไขมันที่เปลือกตาทั้ง 2 ข้างจำนวน 1 ครั้งร่วมกับการประคบอุ่นและทำความสะอาดเปลือกตา ผลลัพธ์หลักที่ต้องการศึกษาคือ ปริมาณเส้นเลือดที่ขอบเปลือกตา ซึ่งสามารถวัดได้ 2 วิธีคือการประเมินโดยจักษุแพทย์และการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์อื่นๆ ได้แก่ อาการตาแห้ง การตรวจการติดสีฟลูออเรสซีนของผิวกระจกตา การตรวจคุณภาพของน้ำมันที่เปลือกตา การตรวจปริมาณความเสื่อมของต่อมไขมันที่เปลือกตาจากการถ่ายรูป ความแดงของเยื่อบุตาขาว เวลาในการคงสภาพของชั้นน้ำตาจากการตรวจด้วยการย้อมสีฟลูออเรสซีนและการถ่ายภาพ และการตรวจด้วยการถ่ายภาพความหนาของชั้นไขมันในชั้นน้ำตา ความสม่ำเสมอในการประคบอุ่นและทำความสะอาดเปลือกตา และผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาบีวาซิซูแมบ เป็นต้น อาสาสมัครจะได้รับการตรวจติดตามที่สัปดาห์แรก เดือนที่ 1, 2 และ 3 หลังการรักษา ผลการศึกษา: อาสาสมัคร 30 คนได้รับการสุ่มเพื่อรับยาหยอดจำนวน 15 คน และรับการฉีดยาบีวาซิซูแมบจำนวน 15 คน ในกลุ่มฉีดยาพบว่าปริมาณเส้นเลือดที่ขอบเปลือกตาซึ่งวัดด้วยการประเมินและการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 3 เดือนหลังการรักษา (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มหยอดยาไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวัดปริมาณเส้นเลือดด้วยคอมพิวเตอร์ ในผลลัพธ์อื่นๆของการศึกษาพบว่ากลุ่มยาฉีดมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในค่าการติดสีฟลูออเรสซีนของผิวกระจกตา ค่าคุณภาพของน้ำมันที่เปลือกตา ค่าปริมาณความเสื่อมของต่อมไขมันที่เปลือกตาจากการถ่ายรูป เปรียบเทียบกับกลุ่มหยอดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ทั้งสองกลุ่มมีอาการตาแห้ง ค่าคุณภาพของน้ำมันที่เปลือกตา ค่าปริมาณความเสื่อมของต่อมไขมันที่เปลือกตาจากการถ่ายรูป ค่าการติดสีฟลูออเรสซีนของผิวกระจกตาและค่าความแดงของเยื่อบุตาขาว ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาที่ 3 เดือน (p<0.05) ทั้งสองกลุ่มไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงหลังการรักษาด้วยยาบีวาซิซูแมบ สรุปผลการศึกษา: ทั้งสองวิธีของการให้ยาบีวาซิซูแมบด้วยการหยอดตาและการฉีดยาเข้าสู่ต่อมไขมันที่เปลือกตาร่วมกับการทำความสะอาดเปลือกตาแบบมาตรฐานมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณเส้นเลือดที่ขอบเปลือกตาและลดอาการแสดงต่างๆในผู้ป่วยโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน ดังนั้นการรักษาด้วยยาบีวาซิซูแมบทั้ง 2 วิธีสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งหรือเป็นการรักษาร่วมกับการรักษามาตรฐานของผู้ป่วยโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตันได้
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2020
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Clinical Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76379
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.123
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.123
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6278001330.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.