Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/766
Title: การวิเคราะห์วิถีสัมพันธ์ของตัวประกอบที่มีผลต่อสัมฤทธิผล ในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 2 : รายงานการวิจัย
Other Titles: A path analysis of the factors affecting the second year student's achievement in learning English
Authors: สุพัฒน์ สุกมลสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การวิเคราะห์วิถีสัมพันธ์
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์วิถีสัมพันธ์ของตัวประกอบจำนวนหนึ่งที่คาดว่าจะมีผลต่อสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 2 และเพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวประกอบดังกล่าวแล้ว พลวิจัยครั้งนี้ได้แก่ตัวอย่างนิสิตชั้นปีที่ 2 จาก 5 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนรายวิชา EAP II ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2532 จำนวน 460 คน จากประชากรทั้งหมด 1,006 คนหรือร้อยละ 45.72 ซึ่งได้จากการสุ่มหลายระดับชั้น เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบทดสอบสัมฤทธิผลที่ใช้จริงในการเรียนรายวิชา EAP II แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน แรงจูงใจ และเจตคติของนิสิต แบบสำรวจนิสัยและเจตคติในการเรียน และแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของอาจารย์ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย multiple regression, F-test, t-test, simple correlation, PLS (Partial Least Square test) และ W test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สัมฤทธิผลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตได้รับอิทธิพลโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญจากตัวประกอบ (ตัวแปร) 10 ตัว รวมกันร้อยละ 58.81 โดยพื้นความรู้ทางภาษาอังกฤษมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ร้อยละ 40.64 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรต่างๆ 20 ตัว ซึ่งตัวแปร 5 ตัว มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุ โปรแกรมการเรียน การใช้สื่อมวลชน เจตคติของผู้สอนและความรู้เกี่ยวกับวิธีสอนอิทธิพลโดยตรงจากตัวประกอบด้านผู้เรียน ผู้สอน และหลักสูตร มีอัตราส่วน 6:4:1 2. รูปแบบความสัมพันธ์ที่ตัดแต่งแล้วเป็นแบบผสมและสอดคล้องกับรูปแบบความสัมพันธ์เต็มรูปจากข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าว ประกอบด้วยตัวแปรทำนายที่เป็นสาเหตุรอบนอก 7 ตัว และเป็นตัวแปรทำนายที่เป็นสาเหตุภายใน 17 ตัว รูปแบบนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งระบบได้ร้อยละ 99.69
Other Abstract: The main purposes of this study were to analyze a causal relation model composing of some factors expected to affect the second year students' achievement in learning English and to construct a hypothesized final model. The subjects used in the study were 460 second year students out of 1,006 or 45.72% from 5 faculties of Chulalongkorn University. They were learning EAP II in the second semester of the academic year 1989 and were samples by a multi-stage sampling technique. The instruments used were actual achievement tests, a questionnaire on students' personal backgrounds, motivation and attitudes, a survey of study habits and attitudes and a questionnaire on teachers' personal background and opinions. The data were then analyzed by means of descriptive statistics, multiple regression, F-tests, t-tests, simple correlations, PLS (Partial Least Square test) and W tests. The findings can be summarized as follows: 1. The students' achievement in learning English is directly affected significantly by 10 predictor variables (factors) and their total effect is 58.81%. Their English background has the strongest effect for 40.34%. Their achievement is also affected indirectly by 20 predictor variables and 5 of them have significant effects. They are age, study program, mass media usage, teacher's attitudes and teachers' understanding about teaching methods. Besides, the proportion of direct effects of the factors from the learners, teachers and curriculum is 6:4:1. 2. The trimmed hypothesized causal model is a mixed one and significantly fits a fully recursive model basing on empirical data. This final model is composed of 7 exogeneous variables and 17 endogeneous ones. It can explain 99.69% of the total variance of the whole system.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/766
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supat(fac).pdf20.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.