Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76600
Title: การประเมินความเปราะบางของครัวเรือนต่อการจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม: ชุมชนหมู่1พัฒนา เทศบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Vunerability assessment of households to managing the flood relief operations centre: a case study of moo1pattana community, Ban phai municipality Khonkean province
Authors: ชนาภิวัฒน์ ขันทะ
Advisors: อุ่นเรือน เล็กน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุทกภัย -- ไทย -- ขอนแก่น
ความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- ขอนแก่น
Floods -- Thailand -- Khonkean
Flood damage -- Thailand -- Khonkean
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความต้องการต่อการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมระหว่างครัวเรือนที่มีความเปราะบางแตกต่างกัน และจัดทำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ครัวเรือนในชุมชนหมู่1พัฒนา จำนวนทั้งสิ้น 231 ครัวเรือนและได้รับแบบสอบถามกลับคืน 111 ครัวเรือน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.812 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการบรรยายข้อมูลสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  การวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่มีความเปราะบางที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันต่อความต้องการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม, เกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ,พบว่ามี 2 ประเด็น คือ การจัดหาพื้นที่หลับนอนและการจัดหาพื้นที่แยกสมาชิกกลุ่มเปราะบาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ,และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยการจัดเตรียมถุงยังชีพในครัวเรือนเพื่อพร้อมอพยพอยู่เสมอ ส่งเสริมกิจกรรมและกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมที่ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน
Other Abstract: This research study investigated and compared the needs of households with different degrees of vulnerability on flood management by the flood relief center. It was intended to provide suggestive information on the flood management. The population of this qualitative research was 231 families in Moonueng Pattana Community. A set of questionnaire with a reliability of 0.812 was distributed to the above households and a total of 111 questionnaires were returned to the researcher. Descriptive statistics including; frequency, percentile, mean and standard deviation were used for data interpretation and explaining social and economical status of the participants. The statistics used in the data analysis were Independent t-test and One-way Anova.It was observed that the various degrees of families’ vulnerability had not been associated with different needs on the flood management. On the average, a moderate level of opinion was observed in both of the topics above. Finding sleeping areas, and finding separated spaces for the vulnerable groups. It was suggested that the flood relief center; provide the households with life-packages for flood evacuation, prepare facilities and place for flood relief and evacuation. It was also advised for the flood relief center to conduct activities to enhance public awareness on the impact of flood on the people lives and properties.  
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76600
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.927
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.927
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280093620.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.