Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76792
Title: การสร้างอนุภาคเหมือนเดนโซไวรัสในกุ้งและการทดสอบประสิทธิภาพ
Other Titles: Production of shrimp densovirus like particles and efficiency test
Authors: รพี สินเนืองนอง
Advisors: วันชัย อัศวลาภสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคหัวเหลืองเป็นปัญหาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง มีสาเหตุจากการติดไวรัสหัวเหลือง วิธีการหนึ่งในการป้องกันการติดไวรัสหัวเหลือง คือ การใช้อาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อยีนของไวรัสหัวเหลืองมากระตุ้นผ่านกระบวนการ RNA interference อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากการฉีดอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองเข้าสู่กุ้งโดยตรง อาจถูกย่อยโดยเอนไซม์เอนโดนิวคลีเอสภายในกุ้ง ดังนั้นการใช้อนุภาคเหมือนไวรัสในการขนส่งอาร์เอ็นเอสายคู่อาจจะช่วยป้องกันการย่อยสลายของอาร์เอ็นเอสายคู่ภายในกุ้ง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งการติดไวรัสหัวเหลืองในกุ้งได้ โดยอาศัยคุณสมบัติของอนุภาคเหมือนไวรัสที่คล้ายคลึงกับไวรัสที่พบในธรรมชาติและสามารถเข้าจับแบบจำเพาะกับเซลล์เจ้าบ้าน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างอนุภาคเหมือนไวรัส PmDNV และ PstDNV เพื่อใช้เป็นตัวขนส่งอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองและนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการติดไวรัสหัวเหลืองในกุ้ง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเพิ่มจำนวนยีนโปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัส PmDNV และ PstDNV พบว่ามีขนาดประมาณ 1,600 และ 1,000 คู่เบสตามลำดับ มาเชื่อมเข้ากับ พลาสมิดที่ใช้สำหรับการแสดงออก pET28a(+) เพื่อแสดงออกใน E.coli Rosetta-gami ผลการทดลองพบว่ารีคอมบิแนนท์โปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัส PmDNV และ PstDNV สามารถชักนำให้เกิดการแสดงออกเมื่อชักนำด้วย 0.4 มิลลิโมลาร์ IPTG ที่อุณหภูมิ 30 °ซ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เมื่อทำการวิเคราะห์โปรตีนด้วย SDS-PAGE และ western blotting analysis พบรีคอมบิแนนท์โปรตีนขนาด 64 และ 37 กิโลดาลตันตามลำดับและโปรตีนดังกล่าวสามารถถูกจับด้วยแอนติบอดีที่จำเพาะต่อฮีสติดีนได้ จากนั้นนำไปทำโปรตีนให้บริสุทธิ์ด้วย Nickel Affinity Chromatography พบว่าสามารถทำรีคอมบิแนนท์โปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัสทั้งสองชนิดให้บริสุทธิ์ได้และเกิดการสร้างอนุภาคเหมือนไวรัสภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) แต่เนื่องจากข้อจำกัดในการทำโปรตีนให้เสียสภาพของรีคอมบิแนนท์โปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัส PmDNV จึงได้คัดเลือกอนุภาคเหมือนไวรัส PstDNV มาใช้เป็นพาหะในการขนส่งอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองต่อไป โดยนำรีคอมบิแนนท์แบคทีเรียมาสร้างเป็นเซลล์คอมพีเทนต์และทรานสฟอร์มพลาสมิดที่สร้างอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลือง (YHV-Protease) ให้เกิดการแสดงออกภายในเซลล์แบคทีเรียเดียวกันผ่านการชักนำด้วย 0.4 มิลลิโมลาร์ IPTG ที่อุณหภูมิ 30 °ซ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่ามีการแสดงออกทั้งรีคอมบิแนนท์โปรตีนและอาร์เอ็นเอสายคู่ จากนั้นนำไปทำโปรตีนให้บริสุทธิ์และตรวจสอบการสร้างอนุภาคเหมือนไวรัส ซึ่งพบการรวมกลุ่มกันของอนุภาคเหมือนไวรัสและสามารถห่อหุ้มอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองได้ ต่อมานำอนุภาคเหมือนไวรัส PstDNV ที่ห่อหุ้มอาร์เอ็นเอสายคู่มาประยุกต์ใช้ในการยับยั้งการติดไวรัสหัวเหลืองในกุ้ง ผลการทดลองพบว่าการใช้อนุภาคเหมือนไวรัส PstDNV ในการขนส่งอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองสามารถยับยั้งการติดไวรัสหัวเหลืองในกุ้งได้ดีกว่าการฉีดอาร์เอ็นเอสายคู่เข้าสู่กุ้งโดยตรง เมื่อควบคุมปริมาณอาร์เอ็นเอสายคู่ในปริมาณที่เท่ากัน นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการติดไวรัสหัวเหลืองในระยะยาว พบว่าอนุภาคเหมือนไวรัส PstDNV สามารถทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองป้องกันการย่อยสลายของอาร์เอ็นเอสายคู่จากเอนไซม์จากกุ้ง และป้องกันการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสหัวเหลืองในระยะยาวได้อีกด้วย
Other Abstract: Yellow head disease, caused by yellow head virus (YHV), is a major problem in shrimp farming industry. One approach for protection the shrimp from YHV infection is double-stranded RNA (dsRNA)-mediated RNAi pathway. However, dsRNA might be digested by endonuclease after direct injection into the shrimp. Thus, the virus like particles (VLPs) might protect dsRNA from endonuclease and enhance the efficiency of the YHV inhibition. The aim of this study was to construct the PmDNV and PstDNV VLPs in order to deliver YHV-specific dsRNA and apply for YHV inhibition in shrimp. The PmDNV and PstDNV capsid protein genes (1,600 and 1,000 bp, respectively) were amplified and ligated into the pET28a(+) expression plasmid. The recombinant plasmids were transformed into E.coli Rosetta-gami, and the capsid proteins were induced by 0.4 mM IPTG at 30 °c for 3 h. The results found the size of PmDNV and PstDNV capsid protein approximately 64 and 37 kDa, respectively and these proteins were able to bind with anti-histidine monoclonal antibody. Next, the recombinant proteins were purified by Nickel Affinity Chromatography for VLP visualization by TEM. The results indicated that the both PmDNV and PstDNV recombinant proteins were successfully purified and could form the VLPs. However, PmDNV VLPs had a limitation because the PmDNV VLPs could be formed under denaturing condition. Thus, PstDNV was selected for deliver YHV-Protease dsRNA (dsYHV). The recombinant PstDNV clone was used to be the host for transforming the YHV-Protease dsRNA encoding plasmid. After induction with IPTG, the recombinant PstDNV VLP-dsYHV clone was investigated the expression of the recombinant protein and dsRNA. The results showed that the PstDNV capsid protein and dsRNA were able to express in the bacterial cell. Then, the protein was purified and visualized the VLPs by TEM. The results indicated that the VLPs could be formed and contained dsYHV. Finally, the purified PstDNV VLP-dsYHV was tested to suppress the YHV replication in shrimp. The results showed that the purified PstDNV VLP-dsYHV could suppress YHV replication in shrimp more efficient than the only dsYHV. It might be concluded that the PstDNV VLPs could protect dsRNA from host endonuclease for a long time in shrimp and might be developed the oral feed supplement to prevent shrimp mortality from YHV during an outbreak of infection.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76792
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.317
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.317
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472885723.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.