Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/768
Title: การวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2531-2533 : รายงานการวิจัย
Other Titles: Item bias analyses of th eEnglish entrance examination in 1988-1990
Authors: สุพัฒน์ สุกมลสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ความลำเอียงของข้อทดสอบ
ข้อสอบ--ความตรง
ภาษาอังกฤษ--ข้อสอบ
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อวิเคราะห์หาความลำเอียงต่อเพศ และต่อภาคภูมิศาสตร์ของข้อทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. ปี พ.ศ. 2531-2533 3 วิธี คือ Delta Plot Method, Chi-square Method และ Three-parameter Logistic Method และ 2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงจากการวิเคราะห์ทั้ง 3 วิธี ประชากรของการวิจัยได้แก่ผู้สอบแบบทดสอบดังกล่าว จำนวน 6 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 30,000 - 80,000 คน และแต่ละกลุ่มแบ่งตามเพศ และภาคภูมิศาสตร์ของผู้สอบ พลวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างงานจากประชากรแต่ละกลุ่มโดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มมีเพศชายและหญิงเท่ากัน และไม่เกิน 3,000 คน ทำให้ได้ผลวิจัยกลุ่มละ 424-3,000 คน ซึ่งมากกว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้คือผลการสอบข้อทดสอบภาษาอังกฤษ ชุด กข. และ กขค. จำนวน 600 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหลายอย่าง เช่น Classical Item Analysis, Logistic Item Analysis, ICC-test, Factor Analysis, Chi-square, Bias test และ F-test เป็นต้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. ปี 2531-2533 มีความลำเอียงต่อเพศ โดยเฉลี่ยประมาณฉบับละ 7-28 ข้อ (ร้อยละ 7-28) ส่วนชุด กขค. มีความลำเอียงประมาณฉบับละ 4-41 ข้อ (ร้อยละ 4-41) แล้วแต่วิธีวิเคราะห์ 2. แบบทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. ปี 2531-2533 มีความลำเอียงต่อภาคภูมิศาสตร์โดยเฉลี่ยประมาณฉบับละ 6-45 ข้อ (ร้อยละ 6-45) ส่วนชุด กขค. มีความลำเอียงประมาณฉบับละ 5-43 ข้อ (ร้อยละ 5-43)แล้วแต่วิธีวิเคราะห์ 3. ข้อทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. ปี พ.ศ. 2531-2533 มีความลำเอียงต่อผู้สอบจากภาคอื่นมากกว่าภาคกลาง ประมาณ 2-3 เท่า และมีแนวโน้มว่ามีความลำเอียงต่อผู้สอบเพศชายมากกว่าเพศหญิง 4. การวิเคราะห์หาความลำเอียงของข้อทดสอบด้วย 3 วิธี พบข้อทดสอบที่ลำเอียงต่อเพศและต่อภาคภูมิศาสตร์ของผู้สอบจำนวนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงของแต่ละวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญ การวิเคราะห์โดยThree-parameter Logistic Method เมื่อไม่ได้วิเคราะห์ความลำเอียงระดับต่ำพบจำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ Chi-square Method และ Delta Plot Method พบข้อทดสอบที่ลำเอียงจำนวนน้อยที่สุด
Other Abstract: The main purposes of this study were 1) to analyze the items biased against sexes and geographical regions of the English Entrance Examinations, Form AB's and ABC's in 1988-1990 by Delta-Plot Method. Chi-square Method and Three-parameter Logistic Method, and 2) to compare the numbers of biased item results from the 3 mentioned methods. The populations of this study were 6 groups of approximately 30,000-80,000 actual testes and each was subdivided according to sexes and their geographical regions. They were then sampled by a simple sampling technique with 2 conditions: equal numbers of males and females and not more than 3,000 in each subgroup. The subjects in each subgroup were then ranging from 424 t0 3,000 which were more than optimal sizes. The instruments used were 600 items of the 1988-1990 English Entrance Examinations, Form AB's and ABC's. The data were analyzed by means of Classical Item Analysis, Logistic Item Analysis., ICC test, Factor Analysis, Chi-square test, Bias test and F-test. The findings can be summarized as follows: 1.On average, there were approximately 5-35 items biased against sexes in each form of the examination (approx. 5%-35%) depending on methods of analyses. 2. On average, there were approximately 8-36 items biased against geographical regions in each form of the examinations (approx. 8%-36%) depending on methods of analyses. 3. Generally speaking, the examination in 1988-1990 biased against the testees from 4 geographical regions more than those from the central region approximately 3-4 times. There was a tendency that they biased against males more than females. 4. The numbers of biased items results from the 3 methods were significantly different and correlated each other insignificantly. Three-parameter Logistic Method when excluded low biases was the most sensitive method. It detected the highest numbers of biases items and the next one was Chi-Square Method. Delta-Plot Method was a very conservative method. It detected biased items the least.
Description: ความลำเอียงของข้อทดสอบ -- การวิเคราะห์หาความลำเอียงของข้อทดสอบ 3 วิธี : Delta Plot Method ; Chi-square Method ; Three-parameter Logistic Method -- ความลำเอียงต่อเพศและต่อภาคภูมิศาสตร์ -- เปรียบเทียบจำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงต่อเพศและต่อภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/768
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supat(bias).pdf13.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.