Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77023
Title: การสกัดคอลลาเจนจากเอ็นร้อยหวายสุกรเพื่อใช้ในการเตรียมฟิล์มคอลลาเจนผสมไฟโบรอินไหมไทย
Other Titles: Extraction of collagen from porcine achilles tendon for preparation of collagen/Thai silk fibroin blended films
Authors: เทพฤทธิ์ วงศ์ภาคำ
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
สุทธิลักษณ์ ปทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดคอลลาเจนจากเอ็นร้อยหวายสุกร ศึกษาสมบัติของคอลลาเจนและศักยภาพในการนำไปใช้ร่วมกับไฟโบรอินไหมไทย คอลลาเจนจากเอ็นร้อยหวายสุกรที่สกัดด้วยกรดอะซิติก ความเข้มข้น 1 โมลาร์ ต่อด้วยสารละลายเอนไซม์เปปซินที่สภาวะต่างๆ คือ อุณหภูมิ (4 และ 25 องศาเซลเซียส) เวลา (24 และ 48 ชั่วโมง) และอัตราส่วนเอนไซม์ต่อคอลลาเจน (1/10, 1/30, และ 1/50 โดยน้ำหนัก) เพื่อกำจัดส่วนเทโลเปปไทด์ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้เมื่อนำไปใช้ คอลลาเจนที่สกัดด้วยกรด (ASC) และสกัดต่อด้วยสารละลายเปปซิน (PSC) มีร้อยละผลได้เท่ากับ 76.43±0.69 และ 74.07±2.80 ตามลำดับ การศึกษาค่าศักย์เซต้าของ ASC และ PSC เพื่อประมาณค่าจุดไอโซอิเล็กทริก พบว่ามีค่าประมาณ 5.61±0.02 และ 7.15±0.03 ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของกรดอะมิโน, น้ำหนักโมเลกุลด้วยเทคนิค SDS-PAGE และโครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค FTIR พบว่า PSC เป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1 โดยดูจากการวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลด้วยเทคนิค SDS-PAGE แถบโปรตีนของคอลลาเจนนั้นปรากฏแถบของสาย α1, α2, β และ γ ที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 127, 110, 230, และ 300 กิโลดาลตัน ตามลำดับ การวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของคอลลาเจนด้วยเทคนิค FTIR พบว่าคอลลาเจนมีโครงสร้างเป็นเกลียวสามสายที่มีความคล้ายคลึงกับคอลลาเจนทางการค้า การวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนของ ASC และ PSC ด้วยเทคนิค Thermogravimetric Analysis พบว่ามีอุณหภูมิในการเสียสภาพที่ 75.33 และ 72.50 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์อุณหภูมิในการเสียสภาพด้วยเทคนิค Differential Scanning Calorimeter พบที่ 92.63 และ 97.50 องศาเซลเซียส ตามลำดับ การเตรียมสารละลายไฟโบรอินไหมจากไหมไทยพันธุ์เหลืองไพโรจน์โดยสกัดด้วยสารละลายลิเธียมโบรไมด์ แล้วนำมาเตรียมเป็นฟิล์มผสมคอลลาเจน/ไฟโบรอินไหมที่อัตราส่วน 99/1, 95/5, 90/10 และ 80/20 โดยน้ำหนัก พบค่ามุมสัมผัสของน้ำบนฟิล์มคอลลาเจน (PSC) สูงกว่าฟิล์มคอลลาเจน/ไฟโบรอินไหมและฟิล์มไฟโบรอินไหมบ่งบอกว่าฟิล์มคอลลาเจนมีความไม่ชอบน้ำมากกว่า
Other Abstract: This study aimed to extract collagen from porcine Achilles tendon and to evaluate its physicochemical properties and its potential to use with Thai silk fibroin. Acid soluble collagen (ASC) was extracted from porcine Achilles tendon using 1 M acetic acid. ASC was then extracted in gastric proteinase pepsin solution at different temperatures (4 and 25◦C), times (24 and 48h) and enzyme/collagen weight ratio (1/10, 1/30 and 1/50) to telopeptides, yielded pepsin-treated ASC (PSC). Yields of ASC and PSC extracted were at 76.43±0.69% and 74.07±2.80 (wt), respectively. The isoelectric points of ASC and PSC were estimated at 5.61±0.02 and 7.15±0.03 respectively using zeta potential measurement. Amino acid composition, SDS-PAGE, and Fourier transform infrared spectrometry (FTIR) analysis confirmed that PSC were mainly composed of type I collagen. SDS-PAGE analysis revealed the presence of α1 and α2 chain as well as β and γ chain of collagen type I at Mw of 127, 110, 230, and 300 kDa, respectively. Further analysis with FTIR confirmed the presence of triple helix structure of collagen type I, similar to commercially available collagen. The denaturation temperatures of ASC and PSC were 75.33 and 72.50 °C, respectively, using Thermogravimetric Analysis. However the denaturation temperature evaluated from Differential Scanning Calorimeter of ASC and PSC were found at 92.63 and 97.50 °C, respectively. The extracted Thai silk fibroin (SF, Lueangpiroj) solution was prepared using LiBr. Collagen/silk fibroin (C/SF) films were prepared at the ratio of 99/1, 95/5, 90/10 and 80/20 (wt). Water contact angle on C films were higher those of C/SF films and SF films indicating higher hydrophobicity of films.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77023
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470576421.pdf11.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.