Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเขียน ธีระวิทย์-
dc.contributor.advisorสุรชัย ศิริไกร-
dc.contributor.authorนภดล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialลาว-
dc.date.accessioned2008-07-30T03:35:24Z-
dc.date.available2008-07-30T03:35:24Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746390996-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7702-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมาจนปี พ.ศ. 2540 การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการของไทยกับต่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในด้านมูลค่าและโครงการ ในการนี้ ลาวเป็นประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจากไทยมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากลาวมีความสำคัญต่อไทยเป็นอย่างมาก ไทยกับลาวมีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใกล้เคียงกัน ความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งเอื้ออำนวยต่อการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และวิชาการของไทยต่อลาว อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือกับลาวดังกล่าวก็ยังประสบปัญหาหลายประการ อันเป็นผลมาจากความไม่พร้อมของทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายลาว ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น ยังไม่ได้มีการจัดองค์กรในการกำหนด และบริหารการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการ กับต่างประเทศที่เป็นระบบ กระทรวงการต่างประเทศและกรมวิเทศสหการ เป็นหน่วยงานซึ่งมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดและบริหารนโยบายดังกล่าว โดยมีหน่วยงานอีกเป็นจำนวนมากที่เข้ามาเกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ นอกจากนั้น ผู้บริหารทางด้านการเมืองซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล การบริหารราชการของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง มักจะพยายามผลักดันให้องค์กรในความรับผิดชอบของตน มีบทบาทหลักในการกำหนดและบริหารนโยบายดังกล่าว ซึ่งสภาพดังกล่าวนี้ทำให้การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และวิชาการของไทยกับต่างประเทศประสบปัญหาในหลายด้าน สำหรับปัญหาในกรณีของการให้ความช่วยเหลือลาวนั้นมีหลายประการ เช่น ความล่าช้าในการดำเนินโครงการต่างๆ ผู้รับทุนซึ่งมีผลการศึกษาไม่ดีมีจำนวนค่อนข้างสูง อุปกรณ์บางอย่างที่ไทยให้แก่ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนมักมีการเปลี่ยนแปลงโครงการระหว่างดำเนินการหลายครั้ง ฯลฯ ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากการขาดองค์กรกลาง ซึ่งมีหน้าที่อย่างชัดเจนในการกำหนดและบริหารนโยบายดังกล่าว นอกจากนั้น องค์กรต่างๆ เหล่านี้ยังได้พยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน ให้การกำหนดและบริหารนโยบายเป็นไปตามแนวทางและทัศนะของตน การศึกษาดังกล่าวนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่เชื่อว่า การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการของไทยต่อลาวนั้น มีปัญหาในด้านโครงสร้างของอำนาจในการกำหนดและดำเนินนโยบาย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบบรัฐบาล ทำให้นโยบายการกำหนดโครงการและการบริหารงานไม่มีเอกภาพเท่าที่ควร ตามแนวคิดของ Graham T. Allison ที่เรียกว่าแนวทางการเมืองในระบบรัฐบาล"(Governmental Politics Model)en
dc.description.abstractalternativeThai economic and technical assistance increased tremendously between 1991 and 1997 in terms of the amount of funding as well as the number of projects initiated. Laos became the major aid recipient because of the cultural resemblance and the difference in the level of economic development of the two countries. However, the assistance effort faced several problems due to factors which can be attributed to both sides. For Thailand, there was no unified mechanism responsible for the systematic policy formulation and implementation. Several organizations involved in the assistance effort especially the Ministry of Foreign Affairs and the Department of Technical and Economic Cooperation. In addition, the politicians in charge of those organizations pushed the policy implementation in their desired directions. Concerning Thailand's assistance to Laos, many problems have been existed. The inefficiency in implementing the project, including some changes of project direction and the academic deficiency of scholarship recipients can be cited as examples. These problems were due mainly to the lack of central organization responsible for policy formulation and implementation. The results of the study support the hypothesis that the change in government in Thailand and competition among the governmental agancies led to the problem in policy formulation and implementation which resulted in the lack of unity in assistance administration as stated by Graham T. Allison's Governmental Politics model.en
dc.format.extent505453 bytes-
dc.format.extent878095 bytes-
dc.format.extent2017466 bytes-
dc.format.extent3958538 bytes-
dc.format.extent1222911 bytes-
dc.format.extent1082207 bytes-
dc.format.extent1504104 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของไทย -- ลาวen
dc.subjectความช่วยเหลือทางเทคนิคของไทย -- ลาวen
dc.subjectไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ลาวen
dc.titleการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการของไทยต่อลาวen
dc.title.alternativeThailand's economic and technical assistance to the Lao People's Democratic Republicen
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineรัฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nophadol_Ch_front.pdf493.61 kBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_ch1.pdf857.51 kBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_ch2.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_ch3.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Nophadol_Ch_back.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.