Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77169
Title: อิทธิพลจาก COVID-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Influence of COVID-19 situations on the ride-hailing applications utilization in Bangkok
Authors: วัฒนา เล้าสินวัฒนา
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- -- อิทธิพล
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
COVID-19 Pandemic, 2020- -- Influence
Mobile apps
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง จำนวนประชากรและความต้องการในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing applications: RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทางของผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมืองในประเทศไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในรูปแบบรถยนต์ วัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยบริการนี้ และรูปการเดินทางอื่นที่ถูกแทนที่โดยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านทัศนคติ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทางเลือกเรียงลำดับ (Ordered logistic regression) จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย รายได้สูง และผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนมาอย่างยาวนาน เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร และจากการศึกษาระดับความถี่ในการใช้งาน พบว่า การปิดประเทศ ส่งผลให้ระดับความถี่ในการเดินทางด้วยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารลดลง อีกทั้งยังปัจจัยด้านอายุที่สูงขึ้น และระดับการศึกษาที่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร มีความถี่ในการใช้งานที่ลดลง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารมีแนวโน้มในการถูกนำมาใช้ทดแทนแท็กซี่ ดังนั้นการกำกับดูแลจึงมีความจำเป็นในการรักษาความเท่าเทียมในการแข่งขัน
Other Abstract: As Bangkok expanded and urbanized over the past decades, the population and travel demand have increased rapidly. Urban mobility such as ride-hailing applications (RHAs) has become a popular alternative travel mode in Bangkok. Knowledge of these services, therefore, becomes more important for the sustainable development of an urban mobility system. In this paper, the factors affecting the adoption of ride-hailing services were investigated by observing the use of RHAs through the questionnaire survey in Bangkok. Binary logistic regression was used to analyze the influence of socio-demographic variables, socio-economic variables, and attitudes towards RHAs adoption. Our findings showed that RHAs users are young adults, high-income, and using a smartphone for a long time. RHAs were mostly used for personal business and meeting friends. Our findings also showed that RHAs users are the same pool of demand for taxis. In other words, RHAs were likely to substitute taxis. Therefore, RHAs regulations are required in order to keep the fair competition between RHAs and taxis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77169
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1371
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1371
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170268121.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.