Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77262
Title: แบบจำลองสถานการณ์ของเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่องเพื่อประเมินประสิทธิภาพของท่าเรือบก กรณีศึกษาท่าเรือบกลาดกระบัง
Other Titles: A discrete event simulation model for evaluating inland terminal’s efficiency: a case study of Ladkrabang inland container depot
Authors: พิพัฒน์ พิมพะนิตย์
Advisors: พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ท่าเรือบกเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกหลักในเครือข่ายการขนส่งทางทะเล ที่ช่วยให้ผู้ขนส่งสามารถเข้าถึงภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้ ผ่านการเชื่อมต่อกับท่าเรือ ในขณะที่ผลกระทบของท่าเรือบกต่อประสิทธิภาพของการขนส่งแบบหลายรูปแบบนั้นค่อนข้างมีความชัดเจนในช่วงเวลาที่ผ่านมา การประเมินประสิทธิภาพของท่าเรือบกเองกลับมีความซับซ้อน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับผู้ให้บริการที่หลากหลาย ซี่งแต่ละผู้ให้บริการต่างก็บริหารจัดการทรัพยากรภายใน หรือ CHE ที่มีจำนวนแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแบบจำลองสถานการณ์ของเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของท่าเรือบกลาดกระบัง (LICD) ในปัจจุบัน และในอนาคต ผ่านโปรเเกรม SIMIO โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ LICD ในปัจจุบัน และแผนการปรับปรุง LICD ใหม่ จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาจากประสิทธิภาพการใช้งานของทรัพยากรภายใน LICD ประสิทธิภาพโดยรวมของ LICD ในปัจจุบันมีค่าค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรถบรรทุกหัวลากภายใน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า ประสิทธิภาพของการใช้งานทรัพยากรภายในมีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการเปลี่ยนสัดส่วนการขนส่งตามนโยบายการขนส่งใหม่ ในทำนองเดียวกัน ประสิทธิภาพโดยรวมของ LICD ในอนาคตนั้น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจำนวนของทรัพยากรภายในแต่ละประเภทที่ถูกสรรหามาในแต่ละรอบการสรรหา โดยรถเครนขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ปกติ หรือ FCL Crane จัดเป็นทรัพยากรภายในหลักที่มีแนวโน้มการใช้งานมากสูงสุด ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วางแผนจึงควรจัดหา FCL Crane ในแต่ละรอบการสรรหาให้เหมาะสมกับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการขนถ่ายผ่าน LICD เพื่อให้ LICD สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Other Abstract: An inland terminal, or dry port, is one of the main facilities in maritime transport networks that helps provide access between hinterland and the rest of the world via the seaports. While the impact of these dry ports on the efficiency of multimodal transportation has recently become more evident, it is relatively challenging to evaluate dry port's performance, as it typically involves many operations performed by different gate operators with different number of internal resources (Container handling equipment, CHE). To better evaluate dry port's performance, a Discrete Event Simulation (DES) model is herein proposed and implemented in SIMIO modeling platform based on the current data and the new development plan of Ladkrabang Inland Container Deport (LICD), Thailand. We find that all of the CHE at the LICD are currently underutilized, especially the internal trucks; and, the utilization of CHE significant changes according to the adopted transportation policies. Regarding the new development plan, the utilization of CHE greatly depends on the number of each CHE type, and the FCL Crane is found to be the most utilized CHE type in the LICD. Based on this finding, we suggest that, for each procurement round, policy makers should pay more attention to the incremental number of FCL cranes so that such a number well suits the expected container flow at the LICD. 
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77262
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1189
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1189
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270189921.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.