Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77493
Title: การตกแต่งต้านแบคทีเรียบนผ้าฝ้ายด้วยไมโครแคปซูลของน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรียโดยการเคลือบแบบพ่นละออง
Other Titles: Antibacterial finishing onto cotton fabric with galangal essential oil/polyurethane-urea microcapsules by spray-coating
Authors: อารีรัตน์ พรามศิริ
Advisors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: น้ำมันหอมระเหย
ข่า (พืช)
โพลิยูริเธน
Essences and essential oils
Languas galanga
Polyurethanes
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมไมโครแคปซูลพอลิยูรีเทน-ยูเรียที่ภายในบรรจุน้ำมันหอมระเหยข่าด้วยเฮกซะเมทิลีนไดไอโซไซยาเนต พอลิเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไดแอมีนโดยวิธีอินเทอร์เฟเชียลพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชันระบบน้ำมันในน้ำ ที่ปรับเปลี่ยนความเร็วรอบในการปั่นผสม (10000-18000 รอบต่อนาที) และปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่า (10, 20 และ 30 มิลลิลิตร) พบว่าไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรีย ที่เตรียมได้มีรูปร่างอนุภาคค่อนข้างกลมและกระจายตัวได้ดีในตัวกลาง ไมโครแคปซูลที่เตรียมได้จากความเร็วรอบในการปั่นผสม 14000 รอบต่อนาที และปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไป 10 มิลลิลิตร มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (6.27 ไมโครเมตร) และค่าการกระจายขนาดที่แคบ นอกจากนี้ยังมีปริมาณของน้ำมันหอมระเหยข่าที่บรรจุในไมโครแคปซูลประมาณร้อยละ 16 เนื่องมาจากความเร็วรอบในการปั่นผสมที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่บรรจุภายในไมโครแคปซูลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไปมากกว่า10 มิลลิลิตร จะทำให้ไมโครแคปซูลที่เตรียมได้มีขนาดใหญ่มากขึ้นและน้ำมันหอมระเหยข่าที่บรรจุอยู่ภายในมีปริมาณลดลง ดังนั้นความเร็วรอบในการปั่นผสม 14000 รอบต่อนาที และใช้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่า 10 มิลลิลิตร จะได้ไมโครแคปซูลที่มีความเหมาะสมสำหรับนำไปตกแต่งต้านแบคทีเรียบนผ้าฝ้ายถักต่อไป การตกแต่งต้านแบคทีเรียบนผ้าฝ้ายถักด้วยเทคนิคการเคลือบและการบ่มที่แตกต่างกัน พบว่าผ้าฝ้ายถักที่ตกแต่งต้านแบคทีเรียโดยการเคลือบแบบพ่นละอองด้วยไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรียความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยใช้สารยึดนาโนพอลิยูรีเทนที่ความเข้มข้นร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก และสารช่วยผนึกที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก และบ่มด้วยความร้อนที่ 170 องศาเซลเซียส นาน 30 วินาที มีการลดลงของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สูงถึงร้อยละ 98.97 และยังคงต้านแบคทีเรียได้ดีเยี่ยมหลังนำไปซัก 25 รอบ ผ่านการอาบแสง การรีดร้อน และการแช่เหงื่อเทียม (การลดลงของแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 99) ในขณะที่ผ้าฝ้ายถักที่ตกแต่งต้านแบคทีเรียโดยการเคลือบแบบพ่นละอองด้วยไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรียความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยใช้สารยึดพอลิยูรีเทนอะคริเลต ความเข้มข้นร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก สารริเริ่มปฏิกิริยาด้วยแสงที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2 โดยน้ำหนักของสารยึด และสารช่วยผนึกที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก บ่มด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต มีการลดลงของแบคทีเรีย S. aureus บนผ้าถึงร้อยละ 98.07 และยังคงต้านแบคทีเรียได้ดีเยี่ยมหลังนำไปซัก 25 รอบ ผ่านการอาบแสง และการรีดร้อน (การลดลงมากกว่าร้อยละ 99) แต่กลับไม่แสดงประสิทธิภาพการต้านแบคทีเรียหลังผ่านการแช่เหงื่อเทียม สุดท้ายยังพบว่าผ้าที่ผ่านการตกแต่งจะมีค่าความต้านแรงดันทะลุเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับผ้าที่ไม่ผ่านการตกแต่ง
Other Abstract: In this research, polyurethane-urea (PUU) microcapsules containing galangal essential oil (GEO) as a core material were prepared using hexamethylene diamine, polyvinyl alcohol and ethylene diamine via interfacial polymerization in oil-in-water emulsion with various stirring rate (10000-18000 rpm) and amounts of GEO (10, 20 and 30 mL). The prepared microcapsules were nearly spherical shape and well-disperse in the medium. The GEO/PUU microcapsules with particle size less than 10 µm (6.27 µm) and narrow particle size distribution and 16% oil loading could be prepared by using stirring rate at 14000 rpm with 10 mL of GEO. When amounts of GEO was added more than 10 mL, it was found that particle size of microcapsules extremely increased but oil loading decreased. Consequently, the optimal GEO/PUU microcapsules prepared by using 10 mL of GEO at stirring rate of 14000 rpm and were taken to antibacterial finishing onto knitted cotton fabrics. Antibacterial finishing onto knitted fabrics by different coating and curing techniques were investigated. The spray-coated cotton fabrics with 10% solid content of GEO/PUU microcapsules, 3%wt of nano-polyurethane binders, 0.1%wt of fixer and curing at 170 °C for 30 second exhibited the antibacterial activity against Staphyloccus aureus (98.97% reduction of bacteria). The antibacterial activity of the coated fabrics was durable upto 25 washing cycles and still remains excellent after light exposure, hot press and perspiration exposure (% reduction of bacteria > 99%). In case of spray-coated cotton fabrics with 10% solid content GEO/PUU microcapsules, 3%wt of polyurethane acrylate binders, 2%wt (on weight of solid binder) of photoinitiator, 0.1%wt of fixer agent and curing under UV light, the antibacterial activity against S. aureus (98.07% reduction of bacteria) were obtained. The antibacterial activity of the coated fabrics was durable upto 25 washing cycles and still remains excellent after light exposure, hot press (% reduction of bacteria > 99%). The spray-coated cotton fabrics with nano-polyurethane binders and fixer agent were durable to perspiration more than polyurethane acrylate binders and fixer agent. Moreover, the bursting strength of the spray-coated cotton fabrics was higher than that of unfinished cotton fabric.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77493
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572182223.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.