Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77502
Title: Ecosystem function assessment and participatory modelling for community forest management at Lainan Subdistrict, Wiang Sa District, Nan Province
Other Titles: การประเมินฟังก์ชันของระบบนิเวศและการสร้างแบบจำลองอย่างมีส่วนร่วม สำหรับการจัดการป่าชุมชนที่ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
Authors: Wuthiwong Wimolsakcharoen
Advisors: Pongchai Dumrongrojwatthana
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Composite materials -- Effect of environment on
Biotic communities
Community forests
วัสดุเชิงประกอบ -- ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศ
ป่าชุมชน
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Community forest management (CFM) is one way used to mitigate deforestation and forest degradation which have been occurring for more than half a century, particularly in northern Thailand. The collaboration in CFM, especially at multiple scales (e.g. subdistrict, district, or provincial levels) is essential to improve a forest ecosystem status and avoid forest degradation risks in the future. Recently, integrative and participatory modelling methodologies, specifically the Companion Modelling (ComMod), have been implemented in the context of sustainable common-pool resource management in several regions of the world. However, the application of this approach in CFM across institutional scales has still been challenging. Therefore, this research aimed to assess community forest ecosystem functions at the seven villages of Lainan Subdistrict, Wiang Sa District, Nan Province, and conduct a participatory modelling and simulation process to promote collaborative CFM at the subdistrict scale. Ecologically conventional and participatory assessments of ecosystem functions were performed to assess community forest ecosystem status. Lainan’s community forests have officially been operating for nearly 50 years. There were 67 tree species, 18 orders of soil fauna, 105 wild mushroom species, and 183 non-timber forest products (NTFPs). Among these diverse NTFPs, Melientha suavis, Oecophylla smaragdina’s queen broods, and wild edible mushrooms were identified as the three common NTFPs at this site with the productivity of 2, 12, and 2 kg/ha/y, respectively. The results from the participatory assessment showed that the forest status scores of all villages ranged from 233 to 322 of 500 points. Only village 3 obtained “good” for its community forest ecosystem status while the other villages’ status was “moderate”. However, all villages were still facing forest degradation risks. Following this preliminary diagnostic analysis, a ComMod process including two participatory modelling and simulation sequences was implemented with 48 local stakeholders. The results showed that this iterative and evolving process could stimulate the integration of scientific and local knowledge through the exchanges of viewpoints, perceptions, knowledge, and experiences among local stakeholders, as well as between them and researchers. Moreover, it also supported collective decision-making among them as two CFM collective action plans at the subdistrict scale were proposed, including establishment of firebreaks and management options to deal with the over-harvesting of non-timber forest products by outsiders. In summary, the participatory assessment generated a shared understanding on the community forest ecosystem status and the participatory modelling and simulation approach supported collaborative CFM at the subdistrict scale. To translate the proposed CFM plans into actual collective action, focus group discussions and further participatory gaming and simulation sessions need to be enhanced by enrolling diverse stakeholders across generations, especially young local villagers. The participatory assessment and modelling process used in this case study would be useful to improve collaborative CFM at higher institutional scales or at other sites facing the similar problems.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อเตรียมและดัดแปรไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพื่อใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในวัสดุเชิงประกอบพอลิโพรพิลีน ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราถูกเตรียมจากกระบวนการตัดสายโซ่ด้วยกรดโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเส้นใยขี้เลื่อยไม้ยางพาราต่อกรดเท่ากับ 1:15 ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราแสดงความเป็นเซลลูโลสประเภทที่ 1 ที่มีดัชนีความเป็นผลึกเท่ากับ 60 นอกจากนี้ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพารายังมีความทนความร้อนได้ดีกว่าขี้เลื่อยไม้ยางพารา จากนั้นไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราได้ถูกดัดแปรพื้นผิวด้วยสารคู่ควบที่แตกต่างกัน ได้แก่ มาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟพอลิโพรพิลีน ออร์แกโนไซเลน และแอซิดคลอไรด์ สำหรับสารคู่ควบที่ใช้ในการดัดแปรไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ได้แก่ ไวนิลไตรเมทธอกซีไซเลนและแอซิดคลอไรด์ที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ เบนโซอิลคลอไรด์ เฮกซะโนอิลคลอไรด์ และลอโรอิลคลอไลด์ ด้วยกระบวนเคมีเชิงกลโดยใช้เครื่องบดด้วยลูกบอลที่อุณหภูมิห้อง ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการดัดแปรและวิเคราะห์สมบัติของเซลลูโลสดัดแปรด้วยสารคู่ควบ ผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรสโคป (FTIR) และองค์ประกอบพื้นผิวด้วยเทคนิคสเปคโตรสโคปีของอนุภาคอิเล็กตรอนที่ถูกปลดปล่อยด้วยรังสีเอกซ์ (XPS) ของเซลลูโลสดัดแปรด้วยไซเลนยืนยันการเกิดพันธะเคมีระหว่างเซลลูโลสและสารคู่ควบไซเลน ในขณะที่โครงสร้างทางเคมีของเซลลูโลสดัดแปรด้วยแอซิดคลอไรด์มีหมู่คาร์บอนิลของสารดัดแปรเกิดขึ้นที่เลขคลื่นตำแหน่ง 1740 cm⁻¹ ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส และไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ถูกดัดแปรได้นำมาใช้เพื่อเตรียมวัสดุเชิงประกอบพอลิโพรพิลีน ที่อัตราส่วนร้อยละ 5 ถึง 30 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องผสมแบบภายในและขึ้นรูปชิ้นงานด้วยกระบวนการฉีดขึ้นรูป การจัดการป่าชุมชนเป็นหนึ่งในแนวทางบรรเทาปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศไทย การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดการตรวจสอบและปรับปรุงสถานภาพ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ระบบนิเวศป่าชุมชนเสื่อมโทรมในอนาคต ปัจจุบันการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างแบบจำลองอย่างมีส่วนร่วม (participatory modelling) ในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ยังคงมีการใช้อย่างจำกัดในบริบทการจัดการป่าชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการมีส่วนร่วมหลายระดับ (ตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ ไปจนถึงระดับจังหวัด) งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพป่าชุมชนผ่านฟังก์ชันของระบบนิเวศที่หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งของตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และใช้กระบวนการสร้างแบบจำลองและสถานการณ์จำลองอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการบูรณาการความรู้และสร้างความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชนระดับตำบล ผลการศึกษาพบไม้ต้น 67 ชนิด, สิ่งมีชีวิตในดิน 18 อันดับ, เห็ดป่า 105 ชนิด และของป่า 183 ชนิด โดยที่ผักหวานป่า ไข่มดแดง และเห็ดกินได้จัดเป็นของป่า 3 ชนิดหลักในพื้นที่ศึกษานี้ ซึ่งมีผลิตภาพ (productivity) 2, 12 และ 2 กิโลกรัม/เฮกตาร์/ปีตามลำดับ ผลการประเมินสถานภาพระบบนิเวศป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพบว่า คะแนนสถานภาพทั้ง 7 หมู่บ้านอยู่ในช่วงตั้งแต่ 233 ถึง 322 คะแนนจากคะแนนเต็ม 500 คะแนน โดยสถานภาพป่าชุมชนของหมู่ที่ 3 อยู่ในระดับ “ดี” ในขณะที่สถานภาพป่าชุมชนของหมู่บ้านอื่น ๆ อยู่ในระดับ “ปานกลาง” อย่างไรก็ตามป่าชุมชนของทุกหมู่บ้านยังคงมีความเสี่ยงที่จะเสื่อมโทรมได้ในอนาคต หลังจากนั้นได้ใช้กระบวนการสร้างแบบจำลองเพื่อนคู่คิด (Companion Modelling) ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 48 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างแบบจำลองเพื่อนคู่คิดผ่านแบบจำลองและสถานการณ์จำลอง จำนวน 2 รอบ (sequences) สามารถกระตุ้นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์-ท้องถิ่นผ่านการแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะนักวิจัย อีกทั้งยังสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการป่าชุมชนระดับตำบล โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการจัดการป่าชุมชนระดับตำบล ได้แก่ การสร้างแนวกันไฟ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการลักลอบเก็บของป่าโดยคนนอกชุมชน สรุปได้ว่าการประเมินสถานภาพระบบนิเวศป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมทำให้เกิดความเข้าใจในสถานภาพระบบนิเวศป่าชุมชนร่วมกันและการใช้กระบวนการสร้างแบบจำลองและสถานการณ์จำลองอย่างมีส่วนร่วมสามารถส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชนระดับตำบล ในการนำแผนงานและแนวทางที่กำหนดขึ้นไปสู่การปฏิบัตินั้น การสนทนากลุ่มและการใช้เกมและสถานการณ์จำลองยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดขึ้นเพิ่มเติมอีกในอนาคต โดยเพิ่มความหลากหลายของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนในพื้นที่ กระบวนการประเมินสถานภาพและสร้างแบบจำลองอย่างมีส่วนร่วมในกรณีศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชนระดับที่สูงขึ้น (เช่น อำเภอเวียงสาหรือจังหวัดน่าน) หรือนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biomedical Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77502
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.31
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.31
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572836023.pdf8.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.