Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77850
Title: ความไวและความต้านทานของยุงก้นปล่อง Anopheles (Cellia) dirus สามสายพันธุ์จากท้องถิ่น ต่อดีดีทีและสารฆ่าแมลงบางชนิด
Other Titles: Susceptibility and resistance in three local strains of Anopheles Cellia dirus to DDT and some other insecticides
Authors: วนิดา เลิศวิจิตรธนา
Advisors: สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ
ชูศักดิ์ ประสิทธิสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ดีดีที (ยาฆ่าแมลง)
ยุงก้นปล่อง
ยาฆ่าแมลง
DDT (Insecticide)
Anopheles
Insecticides
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาระดับความไวของยุงก้นปล่อง Anopheles (Cellia) dirus 3 สายพันธุ์ (dirus A จาก อุดรธานีและจันทบุรี, dirus C จากสิชล) ต่อดีดีที (DDT) , เฟนนิโตรไธออน (fenitrotion) , ไพริธรินส์ (pyrethrins) , เดลต้า เมธริน (deltamethrin) , ไบโดเรสเมธริน (bioresmethrin) และอัลเลธริน (allethrin) โดยใช้ค่า LT₅₀ เปรียบเทียบกับ LT₅₀ ของยุง dirus A สายพันธุ์ SEAD ซึ่งเป็นสายพันธุ์จากห้อง ปฏิบัติการและมีความไวต่อสารฆ่าแมลง ไม่พบว่ามีความท้านทานต่อสารฆ่าแมลงและการต้านสารเคมีข้ามกลุ่ม แต่พบว่าสายพันธุ์จันทบุรีมีความทนทานต่อเดลต้า เมธรินในระดับ 20. และ 1.96 ในเพศผู้และเพศเมีย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบความทนทานในยุงทั้งสามสายพันธุ์ต่อไบโอเรสเมธริน โดยที่ความทนทานและความไวต่อสารฆ่าแมลงเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับชนิดของยุง dirus A หรือ C เมื่อเปรียบเทียบระดับความไวต่อสารฆ่าแมลงพบว่า ยุงเพศผู้มีความไวต่อพิษของไพรินส์และไพริธรอยด์มากกว่าเพศเมีย ส่วนดีดีทีและเฟนนิโตรไธออนมีความเป็นพิษต่อยุงเพศผู้และเพศเมียในระดับที่ใกล้ เคียงกัน เรียงลำดับความเป็นพิษของสารฆ่าแมลงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ เดลต้า เมธริน, ไพริธรินส์, ไบโอเรสเมธริน, เฟนนิโตรไธออน, อัลเลธริน และดีดีที สารฆ่าแมลงที่คาดว่าอาจนำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงทนแทนหรือสารเคมีเสริมได้แก่เฟนนิโตรไธออน และอัลเลธริน ทั้งนี้ควรได้รับการศึกษาทดสอบรายละเอียดต่าง ๆ ในภาคสนามก่อนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
Other Abstract: Susceptibilities of three strains of Anopheles (Cellia) dirus (dirus A from Udornthani and Chantaburi, dirus C from Sichol) to DDT, fenitrothion, pyrethrins, deltametrin, bioresmethrin and allethrin were determined. Susceptibility levels were measured by LT₅₀ values with comparisons to the dirus A SEAD strain’s, a susceptible strain from laboratory colonies. No resistance and cross-resistance were observed with the exception of Chantaburi strain, which was tolerant to deltamethrin with the tolerance level of 2.0 in males and 1.96 in females. Tolerances to bioresmethrin were also observed in these strains. However, there was no relation of tolerances and susceptibilities to the two cryptic species. Susceptibility of males were higher than females when exposed to pyrethrins and pyrethroids, but there were no differences in the LT₅₀ of DDT and fenitrothion for males and females. The approximate order from highest to lowest of toxicity of the samples tested was deltamethrin, pyrethrins, bioresmethrin, fenitrothion, allethrin and DDT. These results suggested that fenitrothion and allethrin may be used for alternative insecticides. But field testing should thoroughly be done before used.
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1986.87
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1986.87
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida_le_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch1_p.pdfบทที่ 1733.08 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch2_p.pdfบทที่ 21.18 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch3_p.pdfบทที่ 31.07 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch4_p.pdfบทที่ 42.16 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch5_p.pdfบทที่ 5907.48 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_ch6_p.pdfบทที่ 6707.43 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_le_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.