Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78015
Title: ผลของยีสต์และราบางชนิดต่อรูปแบบสารให้กลิ่นในสาโท
Other Titles: Effects of certain yeasts and molds on aroma compounds in Sato
Authors: นริสา ตรีเนตร
Advisors: ชุลี ยมภักดี
ณัฐชนัญ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยีสต์
สาโท
ไวน์ข้าว
เชื้อรา -- เทคโนโลยีชีวภาพ
Yeast
Rice wines
Fungi -- Biotechnology
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สาโทเป็นไวน์ข้าวพื้นบ้านของประเทศไทย มีลูกแป้งสุราเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการหมักข้าวเหนียวเพื่อผลิตเป็นสาโทเพื่อการบริโภคในชุมชน เมื่อผลิตสาโทในระดับอุตสาหกรรม พบว่าสาโทที่ได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอระหว่างชุดการผลิต สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้ลูกแป้งสุราที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ได้ การใช้จุลินทรีย์บริสุทธิ์ผสมจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว งานวิจัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่มุ่งศึกษาสมบัติของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะราและยีสต์ที่แยกได้จากลูกแป้งสุราในด้านการย่อยแป้งและความสามารถในการผลิตเอทานอล งานวิจัยนี้สนใจศึกษาบทบาทของยีสต์และราจากลูกแป้งสุราที่คัดเลือกได้ที่มีต่อการสร้างสารให้กลิ่นในสาโท เริ่มจากนำลูกแป้งสุราที่เมื่อนำมาผลิตสาโท ได้สาโทที่มีคุณภาพด้านกลิ่นรสดีที่สุด จำนวน 3 แหล่ง จากการคัดเลือกแหล่งลูกแป้งสุราที่รวบรวมมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ ลูกแป้งสุราจากจังหวัดนครพนม (NP1) ลูกแป้งสุราจากจังหวัดน่าน (NN6) และลูกแป้งสุราจากจังหวัดหนองคาย (NK2) มาผลิตสาโทและวัดค่าองค์ประกอบทางเคมี กรดอินทรีย์ และสารให้กลิ่นต่างๆ เปรียบเทียบกับสาโททางการค้า 2 แหล่ง พบว่า สาโทที่ผลิตจากลูกแป้งสุรา NP1 มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงและมีปริมาณสารให้กลิ่นที่ดีหลายชนิด ตลอดจนได้ผลการประเมินทางประสาทสัมผัสดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับสาโทที่ผลิตจากลูกแป้งสุรา NN6 NK2 และสาโททางการค้าอีก 2 แหล่ง จึงเลือกลูกแป้งสุรา NP1 ในการศึกษาขั้นต่อไป โดยนำราและยีสต์บริสุทธิ์ ที่แยกได้จากลูกแป้งสุรา NP1 มาทำเป็นกล้าเชื้อบริสุทธิ์ผสม จับคู่เป็นชุดการทดลองต่างๆ สำหรับผลิตสาโทเปรียบเทียบกับการใช้ลูกแป้งสุรา NP1 เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ พบว่า ในชุดควบคุม M1M2 ที่มีเฉพาะราบริสุทธิ์ 2 สายพันธุ์ คือ Mucor racemosus NP102 (M1) และ Rhizopus oligosporus NP101 (M2) พบสารให้กลิ่นในปริมาณที่ต่ำมากๆ ได้แก่ 2,3 บิวเทนไดออล และพบการสะสมของกรดไพรูวิก โดยมีการสร้างตั้งแต่วันเริ่มต้นของการหมัก(วันที่ 0) ในชุดการทดลอง M1M2+Y1 พบว่ายีสต์ Saccharomyces cerevisiae NP1930 (Y1) มีบทบาทในการสร้างสารให้กลิ่น ไอโซบิวทานอล และ เอมิลแอลกอฮอล์ ที่ระดับ 45.68 และ 6.89 มก./ล. ตามลำดับ ส่วนยีสต์ในกลุ่ม Non-Saccharomycese ได้แก่ Pichia anomala NP101 (Y2) ในชุดทดลอง M1M2+Y1+Y2 มีบทบาทในการสร้าง ไอโซเอมิลแอซิเทต ที่ระดับ 0.81 มก./ล. และ ยีสต์ Saccharomycopsis fibuligera NP1030 (Y3) ในชุดทดลอง M1M2+Y1+Y3 มีบทบาทในการสร้าง เอทิลแอซิเทต ที่ระดับ 27.75 มก./ล. สารให้กลิ่นที่สร้างจากยีสต์เหล่านี้ถูกสร้างตั้งแต่วันที่ 3 ของการหมักและมีระดับสูงสุดในวันสุดท้ายของการหมัก(วันที่ 11) นอกจากนี้การเติมแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากลูกแป้งสุรา NP1 ลงในกล้าเชื้อบริสุทธิ์ผสมของยีสต์และรา (ชุดการทดลอง M1M2+Y1+Y2+Y3) ทำให้พบว่าสาโทที่ได้มีปริมาณกรดซัคซินิก กรดแลคติก และกลีเซอรอลสูงกว่าสาโทที่ผลิตจากเชื้อบริสุทธิ์ผสมของยีสต์และราในชุดทดลองอื่นๆ ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสของสาโทที่ผลิตจากกล้าเชื้อบริสุทธิ์ผสม พบว่าแม้จะให้ผลทางคุณภาพด้านกลิ่นรสที่ต่ำกว่าสาโทที่ผลิตจากลูกแป้ง NP1 เล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ผลจากงานวิจัยนี้จะเป็นแนวทางนำไปสู่การใช้กล้าเชื้อบริสุทธิ์ผสมที่คัดเลือกแล้ว เพื่อพัฒนาการผลิตสาโทที่มีคุณภาพดีและคงที่ระหว่างชุดการผลิตต่อไป
Other Abstract: Sato is a traditional Thai rice wine. Loogpang is used, as a source of microorganisms to ferment glutinous rice into rice wine. Problem on commercial Sato production is the inconsistency in quality of Sato produced between batches. The use of mixed pure culture for Sato production is a way to solve the problem. In the past, the research had been focused on isolation of molds and yeasts on their roles as good producers of amylolytic enzymes and ethanol, respectively. This work intended to study the roles of molds and yeasts isolated from the selected loogpang on aroma compounds in Sato. Three sources of selected loogpang NP1, NN6 and NK2 were used to produce Sato and their physical, biochemical parameters as well as organic acids and volatile compounds were analysed in comparison with 2 sources of commercial Sato. The result showed that among all, Sato produced from NP1 loogpang contained high content of ethanol, good volatile compounds and obtained the best sensory evaluation. Molds and yeasts isolated from NP1 loogpang were used as mixed pured culture in various combination to produce Sato and the resulting Sato were compared to that produced from NP1 loogpang. Sato produced from mold only (M1M2) which consists of Mucor racemosus NP102 (M1) and Rhizopus oligosporus NP101 (M2) as control group showed detectable amount of 2,3 butanediol and marked accumulation of pyruvic acid since the beginning of the fermentation process (day 0). Data using different combination of molds and yeasts revealed the roles of each kind of yeast on production of certain aroma in Sato which accumulation on various kinds of volatile compounds were observed. The yeast Saccharomyces cerevisiae NP1930 (Y1) was not only responsible for ethanol production but also some good volatile compounds such as isobutanol (45.68 mg/L) and amyl alcohol (6.89 mg/L). The other 2 non-Saccharomyces yeasts, Pichia anomala NP101 (Y2) and Saccharomycopsis fibuligera NP1030 (Y3) took part in production of isoamyl acetate (0.81 mg/L) and ethyl acetate (27.75 mg/L), respectively. There was no significant difference (p<0.05) on sensory evaluation between the Sato produced from mixed pured cultures of yeasts and molds and from NP1 loogpang. Sato produced from the addition of lactic acid bacteria isolated from NP1 loogpang into mixed culture of yeasts and molds didn’t cause significant difference (p<0.05) on sensory evaluation from those produced from NP1 loogpang and the mixed culture of yeasts and molds. Addition of lactic acid, however, caused increased level of lactic acid as well as glycerol but not other volatile compounds in Sato. The results from this study could be used to develop good source of mixed pure culture in place of loogpang for improvement of quality and the consistency of Sato produced between batch.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78015
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2239
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2239
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4772336523.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.