Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78123
Title: | โครงการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ กรอบการออกแบบระบบการผลิตอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Rapid Manufacturing System Design Framework for SMEs |
Authors: | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี ภูมิ เหลืองจามีกร สุรพงษ์ ศิริกุลวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ -- การบริหารงานผลิต การควบคุมการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบการผลิตมีความสำคัญต่อความสามารถต่อการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ โดยที่ระบบการผลิตเป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบต่างๆ ทั้งปัจจัยการผลิตเชิงกายภาพและการบริหารจัดการ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ แรงงาน เส้นทางการไหลของพัสดุในระบบการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อต้องมีการออกแบบระบบการผลิต ก็ต้องคำนึงถึงข้อมูลแวดล้อมและธรรมชาติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่ง เป็นต้น เนื่องด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ที่หลากหลายในทางปฏิบัติ อีกทั้งข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ของการออกแบบระบบการผลิต ที่ยังแบ่งออกเป็นส่วนๆ จึงทำให้การออกแบบระบบการผลิตที่นั้นมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และต้องพึงพาประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นสำคัญ จึงก่อให้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการออกแบบระบบการผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการด้านการผลิตบางรายเท่านั้นที่สามารถมีระบบการผลิตที่ดีได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบวิธีคิดในการออกแบบอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม กรอบวิธีคิดที่นำเสนอนี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบระบบการผลิตมีแนวคิดและขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถออกแบบระบบการผลิตได้อย่างรวดเร็วและได้ประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ กรอบวิธีคิดนี้ยังสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในกรณีที่ต้องการสร้างระบบการผลิตขึ้นมาใหม่ หรือกรณีมีต้องการปรับปรุงระบบการผลิตที่มีอยู่แล้ว กรอบความคิดในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบในระบบการผลิต โครงสร้างข้อมูลในการออกแบบ หลักการออกแบบระบบการผลิตแต่ละส่วน ได้แก่ ผลลัพธ์ที่ต้องได้จากการออกแบบ ข้อมูลนำเข้า ตัวแปรที่ต้องพิจารณาและหลักการตัดสินใจ ความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบแต่ละส่วน รวมทั้งตัวชี้วัดสำหรับควบคุมทิศทางการออกแบบให้ตรงตามจุดประสงค์ของการออกแบบระบบการผลิต โดยงานวิจัยนี้เกิดจากการศึกษาการออกแบบอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจริง และการศึกษาหลักการการออกแบบระบบการผลิตของงานวิจัยต่างๆ นำมาวิเคราะห์ผ่านการแยกย่อยความต้องการ (Requirements Decomposition) ซึ่งสามารถสร้างเป็นกรอบการออกแบบระบบการผลิตในรูปแบบของคำอธิบายผ่านแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram, DFD) และนำไปสู่การสร้างระบบสนับสนุน เพื่อใช้ออกแบบระบบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิผล ผลลัพธ์จากงานนี้ ถูกประเมินการใช้งานผ่านการนำเสนอกรอบการออกแบบระบบการผลิตนี้กับผู้ใช้งานทั้งสองฝ่าย คือ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบระบบการผลิต และผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานต่อไป |
Other Abstract: | To satisfy customer needs as effectively and efficiently as possible, a good manufacturing system is vital. A manufacturing system is a collection of integrated resources, both tangible and intangible, such as machines, tools, human resources, production routing etc. working together to achieve a common goal or a deliverable. Its design is both challenging and comprehensive, requiring a complete understanding of the manufacturing system characteristics including the characteristic of the product, manufacturing process and transportation systems. Additionally, cohesive integration of knowledge from various fields is often a prerequisite to such manufacturing system design. Needless to say, designing an efficient manufacturing system is a complex endeavor. In most cases, the design of a manufacturing system requires the support and supervision of a manufacturing expert due to its complex nature. The design of an efficient manufacturing system is costly and time-consuming. With such impediments, not all manufacturers can afford to implement an efficient manufacturing system. In catering to the Small and Medium-sized Enterprises (SMEs), whose monetary resources and time are limited, the proposed framework in this research report has been developed to allow for a rapid designing of the manufacturing system. This framework provides systematic processes and steps to achieve an efficient manufacturing system design at low cost and in short time. Additionally, this framework is developed to be applicable to both new and existing manufacturing systems. The framework comprises of an analysis of the manufacturing system components, data structure and design components (e.g., inputs, outputs, decision variables, decision criterion, relationships between the components and their performance indicators). The research is performed in multiple steps. First, we study the manufacturing system design process both in theoretical and practical contexts. Then, we analyze all the related information and manufacturing system components. All requirements are decomposed and the manufacturing system design framework is then developed. The Data Flow Diagrams (DFDs) are used to graphically illustrate components and the flow of information in the system. Once components and flows are identified, the supporting system is designed. To validate and verify our design for practicality and ease of use, we would subject our framework to experimentation by both experts and enterprises. |
Description: | ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ -- การออกแบบระบบการผลิต -- การสำรวจและศึกษารวบรวมข้อมูลระบบการผลิตในภาคปฏิบัติ -- นิยามของระบบการผลิต -- องค์ประกอบของระบบการผลิต -- หลักการออกแบบระบบการผลิต -- มิติชี้วัดของระบบการผลิต -- กรอบการออกแบบระบบการผลิต -- ส่วนสนับสนุนการออกแบบระบบการผลิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78123 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Eng_Paveena Chao_2018.pdf | รายงานวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.