Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78132
Title: | การแยกและเลี้ยง zooxanthellae สายพันธุ์ทนร้อนจากปะการังและหอยสองฝา : รายงานผลการดำเนินงาน |
Other Titles: | Isolation and culture of thermal tolerance stain of zooxanthellae from corals and marine bivalve |
Authors: | ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ซูแซนเทลลี ปะการัง หอยสองฝา |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและความเค็มที่ลดลงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในปะการังและสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง เพื่อให้ทราบผลของปัจจัยดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาความทนทานต่ออุณหภูมิและความเค็มใน zooxanthellae ที่แยกจาก ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora damicornis), ปะการังดอกเห็ด (Fungia sp.) และ ดอกไม้ทะเล (Epiactis sp.) โดยทำการแยกเลี้ยงเซลล์ zooxanthellae แบบปลอดเชื้อที่ 33 องศาเซลเซียส โดยประกอบด้วย 5 ระดับความเค็ม ได้แก่ 10, 15, 25, 28 (ควบคุม) และ 33 psu ทำการสุ่มนับเซลล์ทุก 2 วัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ความหนาแน่นเซลล์ zooxanthellae ที่แยกจากปะการังทั้ง 2 ชนิด ลดลงอย่างรวดเร็วและเซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 8 ของการทดลอง สำหรับเซลล์ zooxanthellae ที่แยกจากดอกไม้ทะเล ที่ระดับความเค็มต่ำ (10, 15 และ 25 psu) ความหนาแน่นเซลล์จะลดลงอย่างรวดเร็วและเซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 8 ของการทดลอง แต่ที่ระดับความเค็มสูง (28 และ 33 psu) ความหนาแน่นเซลล์จะค่อยๆลดลง และเซลล์ส่วนใหญ่ตายเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (วันที่ 14) จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า zooxanthellae ที่ทนทานต่ออุณหภูมิและความเค็มมากที่สุด คือ zooxanthellae ที่แยกจากดอกไม้ทะเล |
Other Abstract: | The elevated water temperature and decreased water salinity cause bleaching in coral and other marine invertebrates. To clarify the effect of temperature and salinity on zooxanthellae, this study was conducted in the zooxanthellae isolated from cauliflower coral (Pocillopora damicornis), mushroom coral (Fungia sp.) and sea anemone (Epiactis sp.). The experiments were performed in axenic culture at 33 oC with 5 salinity levels of 10, 15, 25, 28 (control) and 33 psu. Sampling cells were enumerated every 2 days for 14 days. The cell densities of zooxanthellae isolated from both coral species were rapidly decreased and most cells died on day 8. At low salinity levels (10, 15 and 25 psu) cell densities of zooxanthellae isolated from sea anemone were rapidly decreased and most cells died on day 8. At high salinity levels (28 and 33 psu) cell densities were gradually decreased and most cells died at the end of experiments (day 14). These results reveal that the most temperature and salinity tolerance clone is zooxanthellae isolated from sea anemone. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78132 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thaithawon L_Res_2557.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 581.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.