Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78139
Title: การสังเคราะห์ไคโตซานพอลิเมอร์ชนิดใหม่เพื่อควบคุมการปลดปล่อยพิวราริน
Other Titles: Synthesis of New Chitosan Polymer for Controlled Release of Puerarin
Authors: ณรงค์ชัย กัณหานนท์
Advisors: นงนุช เหมืองสิน
ณรงค์ ประไพรักษ์สิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: พิวราริน
ระบบนำส่งยา
Puerarin
Drug delivery systems
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ตามธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่าย โดยสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยากำจัดหมู่อะซีติลของไคติน ซึ่งได้จากเปลือกกุ้ง รวมทั้งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เหมาะสมแก่การนำมาทำเป็นพอลิเมอร์เพื่อนำส่งสารสกัดพิวราริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจและสมอง และรักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงศึกษาการควบคุมการปลดปล่อยพิวราริน โดยใช้ PAAm-g-Chitosan ซึ่งสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน โดย PAAm-g-Chitosan จะแสดงคุณสมบัติไฮโดรเจลเมื่อนำไปละลายในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสมบัติสำคัญที่ใช้ในการปลดปล่อยพิวราริน จากนั้นจึงนำไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคอินฟราเรด-สเปกโตรสโกปี และนำไปหา % การปลดปล่อยยา (Encapsulation) ด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรสโกปีเทียบกับสารละลายมาตรฐานของพิวราริน ที่อัตราส่วนพิวราริน:PAAm-g-Chitosan เท่ากับ 1:20 ให้ % การปลดปล่อยยาสูงสุด 50% เมื่อนำมาศึกษาการควบคุมการปลดปล่อยในสภาวะจำลองบริเวณ กระเพาะอาหาร (pH 1.2), ลำไส้เล็กตอนต้น (pH 6.4), ลำไส้เล็กตอนปลาย (pH 7.4) พบว่า PAAm-g-Chitosan มีการปลดปล่อยยาอย่างรวดเร็วใน 2-3 ชั่วโมง และปลดปล่อยยาอย่างช้าๆจนถึงเวลา 24 ชั่วโมง
Other Abstract: Chitosan is a readily natural polymer. It can be synthesized by deactylation reaction of Chitin that found on Shrimp. Chitosan can decomposed naturally. These properties make it suitable for Puerarin delivery system. Puerarin is a natural extract that has many properties for angioplasty and diabetes treatments. In this research, the controlled release of Puerarin is studied by using PAAm-g-Chitosan that can be synthesized by a polymerization reaction. The PAAm-g-Chitosan showed hydrogel properties when it is dissolved in aqueous solution. Hydrogel properties play important roles for releasing Puerarin from the PAAm-g-Chitosan. PAAm-g-Chitosan were characterized using infrared spectroscopy. UV-Visible spectroscopy was used to determine %encapsulation by comparing to the standard Puerarin solution. The ratio of Puerarin:PAAm-g-Chitosan at 1:20 gave the highest %encapsulation (50%). The controlled release of Puerarin is stimulated in the stomach condition, gastrointestinal (pH 1.2), duodenum (pH 6.4), ileum (pH 7.4). The prepared PAAm-g-Chitosan was able to intermediately release Puerarin in 2-3 hours. Then, the polymer composite released Puerarin slowly in the next 24 hours.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78139
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongchai_Ka_Se_2558.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.