Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78152
Title: การฟื้นฟูแนวปะการังในธรรมชาติโดยใช้ตัวอ่อนปะการังที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ในระบบแบบฟัก-3 : ขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสมของการอนุบาลตัวอ่อนปะการังระยะหลังการลงเกาะในระบบเลี้ยงเพื่อการฟื้นฟูปะการังในธรรมชาติ : รายงานวิจัย
Other Titles: Coral restoration by laboratory seeding - 3 : suitable size and rearing time after settle for transferring coral spats to natural site
Authors: วรณพ วิยกาญจน์
สุชนา ชวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ปะการัง
การฟื้นฟูแนวปะการัง
Corals
Coral reef restoration
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเติบโตและอัตรารอดของปะการัง Acropora millepora ภายหลังการเพาะฟักด้วยวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทำการศึกษาในปะการังที่อนุบาลในระบบอนุบาลบนบกเป็นเวลา 9 เดือน, 1 ปี 9 เดือน และ 2 ปี 9 เดือน แล้วจึงนำสู่ทะเลเป็นเวลา 9 เดือน โดยเปรียบเทียบกับชุดควบคุมอายุ 9 เดือนที่อนุบาลต่อในระบบอนุบาล พร้อมศึกษาในตัวอ่อนปะการังที่เพาะฟักและนำคืนสู่ทะเลทันทีเมื่อมีอายุได้ 1 เดือน, 2 เดือน และ 3 เดือนหลังการลงเกาะบนพื้นผิว ทั้งนี้พื้นที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ปะการัง คือ แนวปะการังเกาะเตาหม้อ จากนั้นจึงนำมาเพาะฟักและอนุบาลในระบบอนุบาล ณ โรงเพาะขยายพันธุ์และอนุบาลปะการังเกาะแสมสาร และนำปะการังกลับคืนสู่ทะเลโดยยึดติดกับโครงสร้างซีเมนต์ที่ใช้เป็นฐานปะการัง ณ แนวปะการังเกาะจานและ ชายฝั่งหาดหน้าบ้าน เกาะแสมสาร ผลการศึกษาพบว่า ปะการังที่มีอายุหรือขนาดที่สูงกว่า มีการเติบโตและอัตรารอดที่ดีกว่าเมื่อนำกลับสู่ทะเล อย่างไรก็ตาม ปะการังอายุ 9 เดือนหลังการลงเกาะที่นำกลับสู่ทะเลมีอัตรารอดต่ำกว่าปะการังอายุเดียวกันที่อนุบาลต่อในระบบอนุบาล สำหรับตัวอ่อนปะการังซึ่งมีอายุหลังการลงเกาะ 1 เดือน, 2 เดือน และ 3 เดือน พบแนวโน้มการเติบโตที่ดีกว่าเมื่อนำสู่ทะเล อย่างไรก็ตาม ไม่พบอัตรารอดของปะการังดังกล่าว พบการรอดของปะการังที่อนุบาลต่อในระบบอนุบาลเท่านั้น ผลการศึกษาแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันของตัวอ่อนปะการังหากมีขนาดเล็ก อายุน้อยกว่า 1 ปีหลังการลงเกาะ จะไม่สามารถแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงตะกอนได้เมื่อนำกลับสู่ทะเล ปะการังที่มีอายุประมาณ 2 ปี มีความเหมาะสมกว่าในการนำกลับสู่ทะเลในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร
Other Abstract: Growth and survival rates of juvenile coral, Acropora millepora, were investigated. This juvenile Acropora millepora were from culturing using sexual reproduction technique. Coral gametes were collected from a coral reef at Ko Tao Mo. They were fertilized and reared in the rearing system at Ko Samae San Corals Hatchery and Nursery. In this study, the treatments included land based rearing for 9 months group, 1 year and 9 months group, and 2 years and 9 months group of juvenile corals (2013, 2012, and 2011 spawning season respectively). Growth and survival rates of corals in all groups were monitored after transplanted into the sea by fixing on cement structures at Ko Chan and at Had Naa Ban Ko Samae San. In addition, coral groups which age 1 month, 2 months, and 3 months after settle (2014 spawning season) were also studied. The results showed that older ages/sizes of corals had higher growth and survival rates after transplantation. However, for 9-month-old coral group in rearing system showed higher survival rates than that of in the transplanted groups. Yet, juvenile corals from 2014 spawning season were all died in all groups within 4 months after transplanted while the ones raised in the rearing system had nearly 50% survival rate. The results can imply that smaller corals could not compete with marine fouling organisms and sedimentation in the sea after transplanted to the sea. Thus, 2-years-old corals is a suitable age for transplantation because of high survive and growth rates.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78152
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voranop V3_Res_2557.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)488.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.