Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78168
Title: | ความหลากหลายของผึ้งและชันโรง และการนำมาใช้ประโยชน์ของโพรพอลิสจากรังผึ้งและชันโรงในพื้นที่ตำบลไหลน่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และพื้นที่อพ.สธ. บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ และเขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี : รายงานผลการดำเนินงาน |
Other Titles: | Diversity of honey bee and stingless bee and utilization of propolis from their nests in the area of Chulalongkorn University Forest and Research Station at Lai Nan subdistrict, Wiang Sa district, Nan province and the RSPG area at Srinakarin Dam, and Khao Wang Khamen, Kanchanaburi province |
Authors: | สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ ชญานี อ๊อดทรัพย์ วชิราภรณ์ ฟูนัน ธัญลักษณ์ ตะโกดี หนึ่งฤทัย วิชัยกุล สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ผึ้ง ชันโรง โพรพอลิส |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของผึ้งและชันโรง ในพื้นที่ อพ.สธ. บริเวณพื้นที่ศึกษาเขาวังเขมร อำเภอไทรโยค พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่าพื้นที่ศึกษาเขาวังเขมรมีความหลากหลายของชนิดชันโรงมากที่สุด คือ 9 ชนิด รองลงมา คือ พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ พบ 7 ชนิด ส่วนพื้นที่ศึกษาสถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์ ตำบลไหล่น่าน พบน้อยที่สุด คือ 4 ชนิด โดยในแต่ละพื้นที่มีชันโรงชนิดเด่นที่แตกต่างกันออกไป พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์และสถานีวิจัยฯ ตำบลไหล่น่าน พบชันโรง Tetragonilla collina เป็นชนิดเด่น ส่วนพื้นที่เขาวังเขมร พบชันโรง Lepidotrigona terminata เป็นชนิดเด่น และพบว่าชันโรง Tertigona apicalis เป็นชนิดที่มีการแพร่กระจายมากที่สุดในทั้งสามพื้นที่ สำหรับความหลากหลายของผึ้งให้น้ำหวาน ในแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายเท่าๆ กัน แต่มีชนิดที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น พื้นที่เขาวังเขมร ไม่พบผึ้งให้น้ำหวานชนิด Apis andreniformis ในขณะที่พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ ไม่พบชนิด A. dorsata ส่วนพื้นที่สถานีวิจัยฯ ที่ตำบลไหล่น่าน พบผึ้งให้น้ำหวานเพียง 2 ชนิด คือ A. cerana และ A. florea สารสกัดพรอพอลิสจากปากทางเข้ารังของชันโรง T. apicalis และ T. collina จากจังหวัดน่าน มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม Sesquiterpenes และพบว่ามีสารประกอบหลักอย่างน้อย 1 สารที่เป็นองค์ประกอบร่วมในสารสกัดพรอพอลิสจากปากทางเข้ารังของชันโรงทั้งสองชนิด ผลการทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผิวหนังในคน 5 ชนิด พบว่า สารสกัดพรอพอลิสจากปากทางเข้ารังชันโรงทั้งสองชนิด สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคผิวหนังได้ 3 ชนิด คือ Microsporum gypseum, M. carnis และ Epidermophyton flocosum ที่ค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งมากกว่า 50% โดยที่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ฤทธิ์ในการยับยั้งจะสูงขึ้น |
Other Abstract: | Diversity of honey bees and stingless bees in the area of Chulalongkorn University Forest and Research Station at Lai Nan sub-district, Wiang Sa district, Nan province and the RSPG area at Srinakarin Dam, and Khao Wang Khamen, Kanchanaburi province was studied. The most diversity of stingless bee species was found in Khao Wang Khamen with 9 species, following by Srinakarin Dam with 7 species, while Research Station at Lai Nan sub-district showed the less diverse species of stingless bees with 4 species. The dominant species in Srinakarin Dam and Research Station at Lai Nan sub-district was Tetragonilla collina, while Lepidotrigona terminata was the dominant species in Khao Wang Khamen. Tetrigona apicalis was a species spreading the most in all areas. The diversity of honey bees in each study area was similar but differed in species. In Khao Wang Khamen area, Apis andreniformis was not found, while A. dorsata was not found in Srinakarin Dam. It was found only two honey bee species in Research Station at Lai Nan sub-district as A. cerana and A. florea. The compositions of propolis extract from nest entrance of two stingless bees, T. apicalis and T. collina from Nan province were the compounds in sesquiterpenes. At least a main compound was detected in both propolis extracts. Inhibition Efficacy of propolis extracts against five human dermatophytic fungi showed more than 50% of growth inhibition in three species, Microsporum gypseum, M. carnis and Epidermophyton flocosum. The increasing concentrations made their higher activity. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78168 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sureerat D_Res_2557.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.