Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-07T08:23:21Z-
dc.date.available2022-03-07T08:23:21Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78186-
dc.description.abstractเกาะเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญต่อนกหลายชนิดและมีความเปราะบางเสี่ยงต่อการถูกรบกวนโดยมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นในหาแนวทางอนุรักษ์ แต่อย่างไรก็ตามเกาะในท้องทะเลไทยมีมากมาย แต่ละเกาะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งการที่จะวางแผนหรือดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายของนกบนเกาะทุกเกาะพร้อมๆ กันย่อมกระทำได้ยาก จึงควรมีการศึกษาเพื่อจัดลำดับเกาะต่างๆ ที่มีความสำคัญในแง่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์กลุ่มนก ประกอบกับยังไม่มีการทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของนกที่อาศัยตามเกาะต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการอนุรักษ์ในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของนกที่สำรวจพบตามเกาะต่างๆ ในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. โดยใช้ข้อมูลการสำรวจนกของ วีณา เมฆวิชัย (2554) และ วีณา เมฆวิชัยและพงชัย หาญยุทธนากร (2554) เป็นข้อมูลหลัก และจัดลำดับความสำคัญของเกาะต่างๆ ตามความเร่งด่วนในการอนุรักษ์ โดยพิจารณาจากการพบนกที่มีความเสี่ยงระดับต่างๆ ตามเกณฑ์ของบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) หรือ IUCN Red List of Threatened Species), อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ , Thailand Red Data และการเป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก รวมถึงขนาด ระยะห่างจากชายฝั่งและการรบกวนของมนุษย์ ทำการถ่วงน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์ต่างๆ แล้วนำคะแนนรวมทุกหมวดมาใช้จัดลำดับความสำคัญของเกาะ ผลการศึกษาพบรายการแก้ไขตัวสะกดและปรับปรุงชื่อไทย ชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ ของข้อมูลจากงานวิจัยก่อนหน้ารวมทั้งสิ้นจำนวน 84 รายการ และได้ทำการสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยสร้างชั้นข้อมูลขอบเขตของเกาะ ขนาดและระยะห่างจากชายฝั่ง ในรูปแบบ shapefile และไฟล์สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลอรรถาธิบาย (attribute data) เพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ ไฟล์ข้อมูลนกที่พบตามเกาะต่างๆ และสถานภาพของนกตามเกณฑ์ขององค์กรอนุรักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการจัดลำดับพบว่า เกาะที่ควรอนุรักษ์เร่งด่วน เพื่อรักษาความหลายหลายทางชีวภาพของสัตว์กลุ่มนก 10 อันดับแรก ได้แก่ เกาะตะรุเตาและเกาะกาเบ็ง จังหวัดสตูล, เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะระ เกาะพระทอง กลุ่มเกาะสิมิลัน-เมียง และ กลุ่มเกาะเกาะหูยง-ปาหยัน จังหวัดพังงา, เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี เกาะเหล่านี้มีลักษณะเด่นที่ต่างกันจึงต้องอาศัยแนวทางการอนุรักษ์ที่ต่างกัน โดยอาจเน้นการอนุรักษ์ระดับชนิด (species-based approach) หรือระดับระบบนิเวศ (ecosystem-based approach) หรือต้องดำเนินการควบคู่กันen_US
dc.description.abstractalternativeIslands are important to many bird species. They are fragile and vulnerable to anthropogenic and natural disturbances. Therefore, it is necessary to identify conservation strategies. However, Thailand has many islands distributed in the Andaman sea and the Gulf of Thailand. They have different characters to conserve bird populations. Moreover, there is no spatial database of islands in Thailand that can be used to support conservation planning for the long term. Therefore, this study aims to create a spatial database of the birds found in the islands under the RSPG project and prioritize them for effective conservation. The main sources of bird data were Meckvichai (2011) and Meckvichai and Harnyuttanakorn (2011). Scoring and weighting technique was used based on six criteria, including i) number of bird species found in each island, ii) conservation status from IUCN (International Union for Conservation of Nature) Red List of Threatened Species, CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora), and Thailand Red Data: Birds, iii) Important Bird Areas, iv) size of island, v) distance from mainland, and vi) human activity inside and surrounding the island. Before construction of the spatial database, 84 cases of birds’ name from the former researches were corrected. Most of them were incorrect spelling. Then, a shapefile presenting the island boundries, sizes and distances from mainland was created. Two related files were then created for additional data, including bird species found in the islands and birds’ status based on international and Thai conservation organizations. Finally, ten islands having high priority for bird diversity conservation were Tarutao and Ko Ka Beng islands in Satun province, Yao Yai, Yao Noi, Ra, Phra Thong Similan-Miang and Huyong – Payang islands in Phang Nga province, Kra in Nakhon Si Thammarat provinc, and Samea San island in Chonburi province. These islands have different characters to support different groups of birds. Therefore, species-based or ecosystem-based approaches, or both are needed to implement differently in each island.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2557en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนก -- การสำรวจen_US
dc.subjectเกาะ -- การสำรวจen_US
dc.titleการจัดลำดับความสำคัญของเกาะต่างๆ ในพื้นที่ อพ.สธ. ในการอนุรักษ์ปักษาพรรณ : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativePriority of Islands in RSPG area for birds conservationen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongchai D_Res_2557.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.