Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7826
Title: | ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Directions of domestic film industry development |
Authors: | รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม |
Email: | Ruksarn.V@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | อุตสาหกรรมภาพยนตร์ -- ไทย ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ไทย -- การตลาด |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยด้านการจัดจำหน่ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างการผลิตและการฉายเข้าด้วยกัน การศึกษาด้านการจัดจำหน่ายนี้เน้นการวางแผนการตลาดตามทัศนคติของผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย ที่มีผลต่อรายได้ของภาพยนตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางแนวทางความช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการจัดจำหน่าย การวิจัยนี้ได้สำรวจโดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 484 คน จากผู้ชมภาพยนตร์ไทยในปี 2547 จากจำนวนทั้งสิ้น 43 เรื่อง ในโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 220 โรงภาพยนตร์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลาจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ แจกแจงร้อยละ ค่าเฉลี่ย T-test One-way Anova, Pearson’s Correlation Coefficient และ Multiple Regression ประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่าการวางแผนการตลาดสำหรับภาพยนตร์ไทยเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายคนดู ขนาด ประเภท จุดขายของภาพยนตร์ และฉายในระยะเวลาที่เหมาะสม การวางแผนสื่อที่ดีมีผลต่อการตัดสินใจในการจูงใจให้ไปชมภาพยนตร์ไทย สื่อป้ายโฆษณาบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ แระแสปากต่อปาก การวิจารณ์ภาพยนตร์ในแง่บวก ผู้กำกับ ดาราภาพยนตร์ และการจัดอันดับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูง ล้วนส่งผลต่อการชักจูงคนมาชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ควรมีการใช้สื่อเฉพาะให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการซื้อสื่อที่ไม่เป็นประโยชน์และการไร้ประเมินผลการใช้สื่ออย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต สำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ได้แก่กลุ่มวัยรุ่น การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เพศหญิงชอบภาพยนตร์ผี และตลก ขณะที่เพศชายชอบภาพยนตร์แอ็คชั่นมากกว่า ส่วนภาพยนตร์ชีวิตทั้งเพศชายและเพศหญิงชื่นชอบเหมือนกัน ต่างต้องการชมภาพยนตร์ไทยเพื่อความสนุกบันเทิงมากกว่าเหตุผลด้านเนื้อหา ส่วนผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่มักไม่ค่อยนิยมชมภาพยนตร์ไทย แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีคุณภาพ ตลาดในประเทศจะตอบรับมากขึ้นและได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศด้วย สิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนอย่างจริงจังคือนโยบายส่งเสริมภาพยนตร์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่สินค้าทางเศรษฐกิจ และควรสร้างความเข้มแข็งในภาคของคนดูให้เป็นผู้แสวงเสพ ไม่ใช่ผู้รอเสพ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาขั้นสูงด้านการเขียนบทภาพยนตร์เพื่อภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study domestic film industry in the area of distribution, the “middle activity” area is the most crucial, because it connects the production and exhibition sectors. This research focused on film marketing and how film producers attitudes toward the film marketing and planning has effect on the box office results and to find a policy guideline for government assistance in the sector of distribution. Questionnaires ere used to collect raw data from 484 samples in 220 first class Bangkok movie theaters and, forty-three Thai movies were screened. Tabulation of the results were achieved with the use of percentage, mean, T-test, One-way Anova, Pearson’s Correlation Coefficient and Multiple Regression for data analysis and SPSS/PC program was used for data processing. The results showed how very important planning is in domestic film marketing which include target audience, size of production, type and, unique selling point of the production. Other areas include, when a film should it be released for exhibition. An effective media campaign is needed to persuade the public to see the movies. The use of a film teaser clip, TV spot, billboards and video stand, located at movie theater lobbies are effective advertising tools. Another area is by word of mouth, examples of this would be a positive film critic review, a movie star or a film director’s appearance and a box office ranking were also much more impact to persuade or entice people to see the movie. In addition, the proper use of media should be used to target specific audience groups so advertising money would not be lost without having effective media result evaluations, as was the case in the past. The largest sampling group of moviegoers were teenagers below the under-graduate level. Horror and comedy films were the most popular among the female audience and action films were among male audience. Drama films, were also popular to both males and females and, they went to see the film more for entertainment than an intellectual reason, and adult audiences had little interested in domestic film. It is also noted that domestic film production that approached high international standards of quality were favored and, that quality of work would be of more interest to the international film market as well. It should also be said that the government should mobilize support film policy for cultural good that would encourage advertising of the domestic economic goods and products, and should encourage the audience a more active rather than passive consumer. There is also need for support for film school education in advanced screenwriting which is necessary to teach students how to produce quality scripts thereby producing quality films. |
Description: | แนวความคิดเกี่ยวกับประเภทของภาพยนตร์ไทย ; การตัดสินใจชมภาพยนตร์ ; ธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ; การรับข่าวสารของภาพยนตร์และการส่งเสริมการตลาด ; ช่องทางการสื่อสารการตลาดของธุรกิจภาพยนตร์ -- แนวทางคำถามสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย -- รายนามผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7826 |
ISBN: | 9749980905 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Raksarn_dir.pdf | 66.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.