Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78397
Title: ความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องหน้าดินในระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
Other Titles: Diversity of soil arthropods in two man-made ecosystems
Authors: สายกลาง ศรีสำราญ
Advisors: ชัชวาล ใจซื่อกุล
ฉัตรทิพย์ รอดทัศนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ระบบนิเวศ
สัตว์ขาปล้อง
Insects
Biotic communities
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made ecosystem) เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อ ทดแทนพื้นที่ป่าธรรมชาติที่สูญเสียไปอีกทั้งมีบทบาทเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมีหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อสังคมสัตว์ขาปล้องหน้าดินที่อาศัยและหากินในชั้นซากพืช การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องหน้าดินในชั้นซากพืชบริเวณระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น (ป่านิเวศและไบโอโทปป่าดิบ) จังหวัดฉะเชิงเทรา ศึกษาโดยเก็บตัวอย่างสัตว์ขาปล้องหน้าดินจากชั้นซากพืชในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม สิงหาคม และ ตุลาคม พ.ศ. 2562) แล้วนำไปจำแนกอันดับและจัดกลุ่มตามหน้าที่ทางนิเวศวิทยา (functional group) ทำการเปรียบเทียบความหนาแน่นและความหลากหลายในสองระบบนิเวศ ผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นของสัตว์ขาปล้องหน้าดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณซากพืชและความสูงของชั้นซากพืช แต่แปรผกผันกับอุณหภูมิในชั้นซากพืช ส่งผลให้ความหนาแน่นของสัตว์ขาปล้องหน้าดินลดลงในช่วงปลายฤดูฝนที่มีปริมาณซากพืชและความสูงชั้นซากพืชที่ลดลง ความหนาแน่นของสัตว์ขาปล้องหน้าดินในระบบนิเวศไบโอโทปป่าดิบมากกว่าในป่านิเวศ เนื่องจากมีปริมาณและความสูงของซากพืชมากกว่า ในทางตรงข้ามดัชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener index, H’) ในป่านิเวศมีค่ามากกว่าในไบโอโทปป่าดิบ อาจเนื่องมาจากสังคมพืชในป่านิเวศประกอบด้วยพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ทำให้มีสภาพใกล้เคียงป่าในธรรมชาติและมีความหลากชนิดของพืชมากกว่า จำนวนอันดับที่พบทั้งหมดในป่านิเวศและโอโทปป่าดิบไม่แตกต่างกัน (14 และ 17 อันดับ) โดยทั้งสองระบบนิเวศพบจำนวนสัตว์ขาปล้องในอันดับ Acari และ Collembola มากที่สุด และพบกลุ่มผู้ย่อยสลาย (Detritivore) มากที่สุด จึงสรุปได้ว่าระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มีโครงสร้างสังคมพืชที่แตกต่างกันจะส่งผลให้องค์ประกอบของสังคมสัตว์ขาปล้องหน้าดินที่พบในชั้นซากพืชแตกต่างกัน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการออกแบบและ จัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้ระบบนิเวศสามารถตั้งตัวและดำเนินกระบวนการทางนิเวศวิทยาได้ใกล้เคียงกับระบบนิเวศธรรมชาติ อีกทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ขาปล้องหน้าดินได้อย่างยั่งยืน
Other Abstract: Man-made ecosystem increases green space to compensate for losing the area of natural forests and functions as conservation of biodiversity. There are many types of man-made ecosystems depending on different purposes, which influence on a community of soil arthropods living and feeding in a litter layer. This study aims to investigate and compare the diversity of litter arthropods in two man-made ecosystems (Ecoforest and Biotope) at Chachoengsao Province. Litter arthropods were collected from the litter layer in the wet season (May, August, and October 2019) then the samples were identified into order and classified into functional groups. We compared the density and diversity of litter arthropods in two man-made ecosystems. The results showed that the arthropod density positively correlated to litter quantity and litter layer depth but negatively correlated with temperature in the litter layer. Therefore, the density of litter arthropods decreased in the late wet season according to lower litter accumulation and litter layer depth. Arthropod density in the Biotope ecosystem was more than those of Ecoforest because of the greater litter accumulation and litter layer depth. On the contrary, the diversity indices (Shannon-Wiener index, H’) of Ecoforest were higher than the values of Biotope, which might due to the vegetation in the Ecoforest composing of native tree species resulted to a similar condition to natural forest and greater plant diversity. The total number of orders found in the Ecoforest was not different from the Biotope (14 and 17 orders, respectively). In both ecosystems, Acari and Collembola were the dominant groups with a high number of individuals and the detritivore was a main functional group. In conclusion, the man-made ecosystems with different vegetation structures would cause different compositions of soil arthropod communities. This indicates that it is important to design and manage appropriately so that the ecosystem being able to establish and continue ecological processes close to that occurring in natural ecosystems and play a role to sustainably conserve the biodiversity of soil arthropods.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78397
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BIO-030 - Saiklang Srisamran.pdf853.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.