Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78452
Title: การคัดแยกและคัดกรองยีสต์ที่มีความสามารถในการผลิตน้ำตาลแอลกอฮอล์
Other Titles: Isolation and screening of sugar alcohol-producing yeasts
Authors: ณิชนันทน์ หนันทุม
Advisors: วิชาณี แบนคีรี
สีหนาท ประสงค์สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยีสต์
Yeast
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อะราบิทอล (arabitol) เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน อุตสาหกรรมอาหารและยา เนื่องด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายประการ เช่น เป็นสารให้ ความหวานพลังงานต่ำเมื่อเทียบกับน้ำตาลซูโครส ช่วยให้อาหารมีรสสัมผัสนุ่ม และมี ความสามารถในการรักษาความชื้นได้ งานวิจัยนี้ได้คัดแยกและคัดกรองยีสต์ที่มี ความสามารถในการผลิตน้ำตาลแอลกอฮอล์จากส่วนเหลือทิ้งของผลไม้ จากเชื้อ 8 ไอโซเลตที่คัดแยกได้พบว่ายีสต์ไอโซเลตที่ 7.3 มีความสามารถในการผลิตอะราบิทอล สูงสุดที่ 2.3 ±0.03 กรัมต่อลิตร จึงเลือกไอโซเลตที่ 7.3 มาศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการ ผลิตอะราบิทอล พบว่าเมื่อใช้กลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน ยีสต์ไอโซเลตที่ 7.3 สามารถ ผลิตอะราบิทอลได้ 2.3±0.01 กรัมต่อลิตร และเมื่อใช้แอมโมเนียมออกซาเลตเป็นแหล่ง ไนโตรเจนจะผลิตอะราบทอลได้เท่ากับ 5.03±0.14 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงขึ้นจากเดิม 2 เท่า และ เมื่อนำยีสต์ไอโซเลตที่ 7.3 มาระบุชนิดโดยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยเริ่มจาก การสกัดดีเอ็นเอและเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณของ Internal Transcribed Spacer ด้วย ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอร์เรสโดยใช้ไพรเมอร์ ITS1/ITS4 เมื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้ด้วย เทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟรีซิสพบแถบของผลิตภัณฑ์ขนาดระหว่าง 500-600 คู่เบส
Other Abstract: Arabitol is a sugar alcohol that widely used in food and pharmaceutical industries due to its interesting properties, for example, a low-calorie sweetener compared to sucrose, a food texturing agent and a humectant. In this study, arabitol-producing yeasts were isolated and screened from the fruit wastes. Among 8 isolates, the highest arabitol yield (2.30±0.03 g/L) was obtained from isolate 7.3 Therefore, it was selected for the optimization of arabitol production.When glucose was used as the carbon source, 2.3±0.01 g/L arabitol was obtained. When ammonium oxalate was employed as the nitrogen source, the maximum yield of 5.03±0.14 g/L was achieved which was 2-fold increase compared to culture in standard medium. For molecular identification of isolate 7.3, the DNA extraction was performed and amplified the region of internal transcribed spacer by polymerase chain reaction (PCR) using primer ITS1/ITS4. The PCR product of approximately 500-600 base pairs was visualized by gel electrophoresis.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78452
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-sp-GENE-008 - Nitchanun Nuntoom.pdf837.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.