Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78462
Title: ชนิดและการกระจายของไมโครพลาสติกในพื้นผิวดินตะกอนบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
Other Titles: Classification and distribution of microplastics in surface sediments in the Gulf of Thailand
Authors: ปิ่นมนัส บูชา
Advisors: สุจารี บุรีกุล
เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไมโครพลาสติก
ขยะพลาสติกในทะเล -- อ่าวไทย
Microplastics
Plastic marine debris -- Thailand, Gulf of
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตัวอย่างดินตะกอนพื้นผิว 28 สถานี จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลในบริเวณอ่าวไทย นำมาทำการสกัดแยกไมโครพลาสติกด้วยกระบวนการ Density floatation ด้วยสารละลายเกลือแกงอิ่มตัว (saturated sodium chloride solution) และกรองแยกด้วยแผ่นกรอง IsoporeTM polycarbonate (ขนาดรูเปิด 5.0 μm) นำมาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ เพื่อศึกษาจำนวน ขนาด ลักษณะทางกายภาพได้แก่ สีและรูปร่างและระบุชนิดไมโครพลาสติกด้วยตัวอย่างภาพ ที่ทราบชนิดพลาสติกแล้วจากการวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชันของ โมเลกุลโดยเทคนิค Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR spectroscopy) พบไมโครพลาสติกทั้งสิ้น 275 ชิ้น (5,362.9 ชิ้นต่อกก.นน.แห้ง) มีขนาดชิ้นตั้งแต่ 42 ถึง 4,985 μm และส่วนใหญ่มีขนาดระหว่าง 5 – 250 μm โดยส่วนใหญ่เป็นไมโครพลาสติกรูปร่างไร้รูปแบบ (fragment) และรูปร่างเส้นใย (filament) และพบไมโครพลาสติกโทนสีน้ำเงิน (blue) มากที่สุด จากการระบุชนิดไมโคร-พลาสติก พบว่าส่วนใหญ่เป็นพลาสติก Polypropylene (PP) และ Polyethylene (PE) จากแผนที่ การกระจายพบปริมาณไมโครพลาสติกสะสมในดินตะกอนในพื้นที่ปากแม่น้ำสูงกว่าในพื้นที่บริเวณชายหาดหรือหาดทราย โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดที่สถานีปากแม่น้ำท่าจีน (TC) และแนวสันทรายเขื่อนกันคลื่น ปากแม่น้ำปราณบุรี (PBJ) เท่ากับ 422.0 และ 9.7 ชิ้นต่อกก.นน.แห้ง ตามลำดับ ทั้งนี้พบแนวโน้มว่ารูปร่าง และชนิดของไมโครพลาสติกมีแนวโน้มสัมพันธ์กับขนาดอนุภาคดินตะกอน ไมโครพลาสติกรูปร่าง ไร้รูปแบบและเส้นใยพบมากในพื้นที่มีอนุภาคดินตะกอนละเอียดและหยาบตามลำดับ และในอนุภาคดิน ตะกอบหยาบพบ Polyethylene (PE) เป็นชนิดเด่นเพียงชนิดเดียว
Other Abstract: Surface sediment sampled from twenty-eight coastal area stations in the Gulf of Thailand, extracted by density floatation with saturated sodium chloride solution and filtered with Isopore[TM] polycarbonate membrane filters (pore size 5.0 μm) to separate microplastics. Number, size and physical properties (shape and color) of microplastic was studied under stereomicroscope. Plastic types later, identified by sample pictures from the functional group of plastic analysis by Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR). Total, 275 microplastic items (5,362.9 items/kg dry wt.) observed with ranged size from 42 - 4,985 μm. Mostly was in the size range of 5 - 250 μm. Fragment and filament were the most abundance plastic shapes found while blue was the most common plastic color. For plastic type identification, most microplastics items were Polypropylene (PP) and Polyethylene (PE). The distribution map shown the accumulation of microplastics in the area near the river mouth than the sand beach area. The highest and the lowest amounts of microplastic in sediment reported at a mouth of Tha Chin River (TC) and Pranburi Jetty (PBJ) with the average numbers of 422.0 and 9.7 items/kg dry wt., respectively. There was a tendency that shape and type of microplastic were related with sediment grain-size. Fragment and filament items were dominant in sediment with fine and coarse grain size, respectively and Polyethylene (PE) was the only microplastic type abundant in fine grain sediment. Keywords:
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78462
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MARINE-009 - Pin Bucha.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.