Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78482
Title: ไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานคาร์บอน
Other Titles: Catalytic hydrothermal liquefaction of biomass by using carbonaceous catalyst
Authors: ณภัทร ประพันธ์วงศ์
สิรินรัตน์ คำภูผา
Advisors: ประพันธ์ คูชลธารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น และเพื่อทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังหมดไป เชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ หนึ่งในชีวมวลที่ได้รับความนิยมในการนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงเหลวคือชานอ้อยซึ่งพบได้มากในประเทศไทย จึงได้มีการศึกษาการแปรูปชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงเหลวด้วยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากชานอ้อยจึงมีการศึกษาการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมด้วย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเชิงเร่งปฏิกิริยาของชานอ้อย ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ ชนิดของถ่านชาร์ (ถ่านชาร์ชานอ้อยและถ่านชาร์กะลามะพร้าว) อุณหภูมิที่ใช้เผาชาร์ (600 และ 700 องศาเซลเซียส) และการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานคาร์บอนร่วมกับแคลเซียมออกไซด์ สำหรับในช่วงแรกเป็นการศึกษาผลของการผสมชานอ้อยกับชาร์ชานอ้อยและชาร์กะลามะพร้าวที่เผาด้วยอุณหภูมิเดียวกันคือ 600 องศาเซลเซียส ด้วยอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก พบว่าปริมาณของเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากชานอ้อยผสมกับชาร์ชานอ้อย มีปริมาณสูงกว่าเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากชานอ้อยผสมกับถ่านชาร์กะลามะพร้าว สำหรับการทดลองในช่วงที่สองเป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้เผาชาร์ โดยเมื่อเปรียบเทียบที่การผสมชานอ้อยกับชาร์ชนิดเดียวกัน การเพิ่มอุณหภูมิในการเผาถ่านชาร์ ส่งผลให้ปริมาณเชื้อเพลิงเหลวชีวภาพลดลง และการทดลองในช่วงที่สามเป็นการศึกษาผลของการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานคาร์บอนร่วมกับแคลเซียมออกไซด์ การใช้ตัวรองรับเป็นชาร์ที่อุณหภูมิเผาเดียวกัน พบว่าปริมาณของเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากชานอ้อยผสมกับตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์บนชาร์กะลามะพร้าว มีปริมาณสูงกว่าเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากชานอ้อยผสมกับตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์บนชาร์ชานอ้อย และแคลเซียมออกไซด์บนตัวรองรับชนิดเดียวกัน การผสมชานอ้อยกับชาร์ที่เผาที่อุณหภูมิสูงกว่า ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อเพลิงเหลวลดลง
Other Abstract: Nowadays, the demand for fossil fuels is increasing and to replace the energy from fossil fuels that are currently running out. Biofuel from biomass is one alternative that can replace fossil fuels. One of the biomasses that is popular for converting into liquid fuel is bagasse which is very common in Thailand. There are several studies of converting bagasse into liquid fuel by hydrothermal liquefaction. To increase the potential for producing liquid fuel from bagasse, some catalyst might be added. This research was aimed to study the catalytic hydrothermal liquefaction of bagasse using char. The parameters in this research are the char types (bagasse char and coconut char), calcination temperature (600°C and 750°C) and effect of calcium oxide on char. In the first part, the effect of char types has been studied. From the experiment, bagasse mix with bagasse char showed higher bio-oil yied compared to the bagasse mix with coconut char bio-oil. In the second part, the effect of calcination temperature has been studied. By mixing bagasse with the same type of char, increasing the calcination temperature decreased the yield of bio-oil. In the last part, the effect of calcium oxide on char has been studied. Using the same type of char but difference calcination temperature as support obtained bio-oil from bagasse mix with CaO/coconut char showed higher yield than bagasse mix with CaO/bagasse char bio-oil and with the same supported higher calcination temperature of char decreased the yield of bio-oil.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78482
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEMENG-007 - Napat Pra.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.