Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78494
Title: การใช้กระดาษเป็นฐานสำหรับการตรวจวัดพาราควอตด้วยเทคนิคเปเปอร์สเปรย์แมสสเปกโทรเมตรี
Other Titles: Paper usage as a platform for paraquat detection by paper spray mass spectrometry
Authors: วรกานต์ ชูตะกูล
Advisors: ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กระดาษ -- การทดสอบ
แมสสเปกโทรเมตรี
พาราควอท
Paper -- Testing
Mass spectrometry
Paraquat
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิธีการตรวจวัดพาราควอต (PQ) แบบใหม่โดยอาศัยวิธีการทาง เปเปอร์สเปรย์แมสสเปกโทรเมตรี (PS-MS) ซึ่ง PQ เป็นสารเคมีทางการเกษตรที่มีความเป็นพิษและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนอกจากการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการดังกล่าวในรูปแบบปกติแล้ว ผู้วิจัยยังได้ศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดด้วยการดัดแปรกระดาษทางเคมี เพื่อคาดหวังจะเพิ่มการดักจับ PQ ซึ่งมีประจุบวกบนกระดาษที่ดัดแปรให้เป็นประจุลบผ่านแรงระหว่างประจุ โดยในที่นี้เลือกติดประจุลบของหมู่ฟังก์ชันซัลโฟเนต (R-SO₃-) ผ่านโมเลกุล (3-mercaptopropyl)trimethoxysilane (MPTS) และติดหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิเลต (R-COO-) ผ่านโมเลกุล succinic anhydride รวมไปถึงสภาวะอื่น ๆ ที่ปรับปรุงจากสภาวะดังกล่าว ลงบนพื้นผิวกระดาษ ทั้งนี้ อินดิเคเตอร์โบรโมครีซอลกรีน (BCG) ได้พิสูจน์แล้วว่ากระดาษที่ดัดแปรขึ้นทุกชนิดมีหมู่ฟังก์ชันที่เป็นกรด แต่กระดาษเหล่านี้กลับมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับกระดาษที่ไม่ผ่านการดัดแปร ดังนั้นกระดาษที่ไม่ผ่านการดัดแปรจึงถูกนำมาใช้ในการวิจัยนี้ เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการวิเคราะห์ จากผลการทดลองพบว่า การวิเคราะห์ PQ ในน้ำธรรมชาติด้วยเทคนิค PS-MS ที่ปราศจากขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างเพิ่มเติม สามารถให้ประสิทธิภาพในการตรวจวัดที่สูง จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้งานจริง โดยเฉพาะในแง่ของความไว ความรวดเร็ว และความถูกต้องในการวิเคราะห์ ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวสามารถตรวจวัด PQ ได้ต่ำถึง 7.55 ng/mL และมีร้อยละการได้กลับคืนอยู่ในช่วงร้อยละ 92-103 อีกทั้งคาดว่าหากศึกษาต่อไปอาจจะสามารถนำวิธีการตรวจวัดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการตรวจวัด PQ ในตัวอย่างจำพวกดิน ผัก หรือเนื้อสัตว์ได้
Other Abstract: This research aims to the development of a new detection method for paraquat (PQ), a toxic and widely-used agrochemical, by paper spray mass spectrometry (PS-MS). In addition to the conventional method of PS-MS, the researcher also studied how to increase the detection efficiency by using chemical modifications on paper. Electrostatic interaction was expected to increase the binding level of the cationic PQ on a negatively-charged paper. The modifications to result in negative charges involved the sulfonate group (R-SO₃-) via the (3-mercaptopropyl)trimethoxysilane (MPTS) bridge, and the carboxylate group (R-COO-) via the succinic anhydride bridge, along with some other related conditions. Bromocresol green (BCG) indicated that all modified papers contained acidic functional groups. However, the modified papers showed no significant difference in binding efficiency to PQ. Therefore, the unmodified paper was preferred to reduce complication of the analytical process. The result indicated that the PQ detection in natural water by PS-MS without any sample preparation step exhibited high efficiency, thus having potential for real uses. This was evaluated mainly on rapidness, sensitivity, and accuracy. Moreover, this method has the limit of detection at 7.55 ng/mL, with the percent recovery in the range of 92-103%. Further applications can be done on other samples such as soil, vegetables or meats.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี.. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78494
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-041 - Worakan Chutakool.pdf722.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.