Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78506
Title: สังคมแมลงน้ำใน mesocosm บ่อน้ำที่มีความซับซ้อนระดับขั้นการบริโภคที่ต่างกัน
Other Titles: Aquatic insect community in pond mesocosm under different tropic complexity
Authors: กัลป์ชนม์ ดิลกนรนารถ
Advisors: ชัชวาล ใจซื่อกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แมลงน้ำจืด -- นิเวศวิทยา
นิเวศวิทยาน้ำ
ยุง -- การควบคุม
Freshwater insects -- Ecology
Aquatic ecology
Mosquitoes -- Control
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บ่อน้ำเป็นระบบนิเวศแหล่งน้ำ (aquatic ecosystem) ที่มีการสร้างโดยมนุษย์ เป็นแหล่งอาศัยของแมลงน้ำหลายชนิดรวมทั้งเป็นเพาะพันธุ์ที่สำคัญของยุงที่เป็นศัตรูทางการแพทย์ต่อมนุษย์ซึ่งทำให้มีการใช้สารฆ่าแมลงในการควบคุมมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย การจัดการแหล่งน้ำที่เหมาะสมจะช่วยในการใช้ศัตรูธรรมชาติมาควบคุมยุงได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแบบจำลองระบบนิเวศหรือ mesocosm แหล่งน้ำขนาด 66 ลิตร ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สำคัญของยุง โดยมีปัจจัยที่แตกต่างในแต่ละชุดการทดลองคือ ผู้ผลิต (สาหร่ายหางกระรอก) และผู้ล่า (ปลาหางนกยูง) เพื่อเปรียบเทียบสังคมของแมลงน้ำระหว่าง มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2563 ในพื้นที่เมือง ผลการศึกษาพบว่ามีแมลงน้ำทั้งหมดจาก 4 อันดับ 9 วงศ์ 9 ชนิด วงศ์ที่มีจำนวนตัวมากที่คือ Chironomidae ที่ 94 ตัว/mesocosm คิดเป็น 40.8% ของแมลงน้ำทั้งหมด พบจำนวนตัวของแมลงน้ำมากที่สุดในกลุ่มควบคุม (1,133 ตัว จาก 3,682 ตัว) และพบลูกน้ำยุงมากที่สุดในชุดที่มีทั้งผู้ผลิตและผู้ล่า (15.5 ตัว/mesocosm)ในขณะที่ชุดผู้ล่ามีลูกน้ำยุงน้อยที่สุด (2.5 ตัว/mesocosm) ชุดที่มีทั้งผู้ผลิตและผู้ล่ามีดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-ไวเนอร์สูงที่สุดที่ 1.700 ส่วนชุดควบคุมมีค่าน้อยที่สุดที่ 1.416 ผลจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าองค์ประกอบในระบบนิเวศคือปัจจัยของผู้ผลิตและผู้ล่ามีผลต่อสังคมแมลงน้ำทั้งด้านความหลากหลายและความชุกชุม ดังนั้นการจัดการปัจจัยผู้ผลิตและผู้ล่าในแหล่งน้ำให้เหมาะสมจึงสามารถช่วยการควบคุมจำนวนของยุงและรักษาสมดุลของระบบนิเวศแหล่งน้ำให้ยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: Pond is a man-made quatic ecosystem serves as a habitat for many aquatic insects as well as breeding site for several mosquitoes which can be serious medical pests. Chemical control of mosquitoes by using insecticides could affect non-target organisms. Therefore, this study aimed to elucidate the roles of a producer (waterthyme) and a vertebrate predator (guppy) to aquatic insect community in 66 liter pond mesocosms in urban setting from Janurary-March 2020. There were 9 aquatic insect species from 9 families of 4 orders found during the study period. The most abundant aquatic insects were from family Chironomidae at 94 individuals/mesocosm and 40.8% of all aquatic insects. Most aquatic insects were found in the control mesocosms (1,133 from 3,682 individuals) while most mosquito larvae were found in the mesocosms with both producer and vertebrate predator (15.5 individuals/mesocosm) and least mosquito larvae were found in the only-predator mesocosms (2.5 individuals/mesocosm). The highest Shannon-Weiner diversity index was found from the mesocosms with both producer and predator at 1.700 while the lowest was from the control mesocosms at 1.416. In conclusion, the ecological factors of producer and vertebrate predator are found to influence the diversity and the abundance of aquatic insects in aquatic ecosystem. The suitable management of these factors is required to successfully control mosquitoes and sustainably maintain the ecological equilibrium of the aquatic ecosystem.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78506
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BIO-006 - Kulchon diloknorranart.pdf774.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.