Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78512
Title: ความแปรผันทางสัณฐานและการประมาณอายุในกบอ่องใหญ่ Syvirana mortensini (Boulenger, 1903) ในเกาะกูด จังหวัดตราด
Other Titles: Morphological variation and age estimation of Syvirana mortensini (Boulenger, 1903) in Kood Island, Trat Province
Authors: ณัฐณิชา พลายงาม
Advisors: ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
นพดล กิตนะ
จิรารัช กิตนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กบอ่องใหญ -- การกำหนดอายุ
การกำหนดอายุจากโครงร่าง
Sylvirana mortenseni -- Age determination
Age determination by skeleton
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศ แต่ปัจจุบันสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีการลดลงของประชากรเป็นจำนวนมาก การศึกษานิเวศวิทยาจึงมีความสาคัญมากในกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ข้อมูลที่สาคัญในการศึกษานิเวศวิทยาเพื่อทราบแนวโน้มประชากรได้นั้นคือ โครงสร้างอายุของประชากร โดยเราสามารถประมาณอายุสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้ด้วยวิธี skeletochronology เป็นเทคนิคการประมาณอายุของสัตว์แต่ละตัวจากการนับจานวนของเส้นที่เกิดขึ้นในกระดูกที่เรียกว่าเส้นแสดงอายุ (Line of Arrested Growth หรือ LAGs ) ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของกระดูกของกบอ่องใหญ่ Syvirana mortensini (Boulenger, 1903) ในเกาะกูด จังหวัดตราด นอกจากนี้ เรายังพบความแปรผันทางสัณฐานของทั้งสองเพศในกบอ่องใหญ่อีกด้วย ซึ่งการระบุความแตกต่างทางสัณฐานระหว่างเพศนี้ จะช่วยให้สามารถ จำแนกเพศได้ในภาคสนาม ในงานวิจัยนี้ จึงศึกษาเพื่อประเมินความเหมาะสมของชิ้นกระดูกที่ใช้ในการตรวจสอบอายุและเปรียบเทียบความแปรผันทางสัณฐานของเพศผู้และเพศเมีย โดยนำกระดูกส่วน femur, humerus, radioulnar, tibiofibular และ phalange ของกบอ่องใหญ่จากตัวอย่างทั้ง 2 เพศที่มีขนาดที่แตกต่างกันแบ่งเป็น 3 ขนาดคือเล็ก กลางและใหญ่ เพื่อหาบริเวณที่ดีที่สุดในการประมาณอายุ โดยนำตัวอย่างมาเตรียมด้วยวิธี paraffin method และย้อมด้วยสี hematoxylin และ eoxin ก่อนนำมาตรวจสอบการปรากฏของเส้น LAGs ผลการศึกษาพบว่า phalange คือชิ้นส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการศึกษา skeletochronology ส่วนลักษณะทางสัณฐานที่มีความแตกต่างระหว่างเพศ ได้แก่ ระยะระหว่างหูถึงตา ความกว้างหัว ความยาวรยางค์หน้า ความกว้างแขน ความยาวรยางค์หลัง ความยาวตีนหลัง ความยาวตุ่มใต้ฝ่าตีนด้านนอกและด้านใน การประเมินอายุและการศึกษาความแปลผันทางสัณฐานของกบอ่องใหญ่นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการอนุรักษ์และการจัดการพื้นที่ในเกาะกูด จังหวัดตราดต่อไป
Other Abstract: Amphibians are vertebrates and important in ecosystems. Currently, amphibians tend to be declined in populations. Ecological studies in population level are therefore very important in the group of amphibians. One of the most important study determing population trends is population age structure. We can estimate age of amphibians by using skeletochronology which is a technique for estimating age of each animal by counting the number of lines in the bone called Line of Arrested Growth (LAGs). In this research, the bone histological characteristics of the Syvirana mortensini (Boulenger, 1903) were studied in Kood Island, Trat Province. In addition, we found trend of sexual size dimorphisms in adult frog. This research sujects for assessing the type of bone that suitable for age determination and comparing morphological variations between both sexes. The skeletochronology we used femur, humerus, radioulnar, tibiofibular and phalange bones of the large frogs from both sexes with different sizes, divided into 3 sizes, small, medium and large, to find the best area for estimating age. The samples were prepared by paraffin method and dyed with hematoxylin and eoxin before being examined for the appearance of line of arrested growth (LAGs) under optical microscopy. The results show that phalange is the most suitable component in the study. In the morphological variation, we found tympanum-eye length, head width, forelimb length, forearm width, hindlimb length, food length, inner and outer metatarsal tubercle length are different between adult male and female. The results of age determination and morphological variation of the frog can be used for basic information of wildlife management and conservation in the area.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78512
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ZOO-011 - Natnicha Plai.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.