Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78521
Title: รายงานการวิจัย การแยกและศึกษาสมบัติของเชื้อเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในมันสำปะหลัง และการนำมาประยุกต์ใช้
Other Titles: การแยกและศึกษาสมบัติของเชื้อเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในมันสำปะหลัง และการนำมาประยุกต์ใช้
Authors: วันชัย อัศวลาภสกุล
กนกพร ไตรวิทยากร
ศุภจิต สระเพชร
ณัฐพล อภิรติกุล
วัฒนชัย จำปาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาจุลชีววิทยา
Subjects: เอนโดไฟท์
มันสำปะหลัง
แบคทีเรียก่อโรค
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการนี้เป็นโครงการปีที่ 3 ของการศึกษาหาเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่เจริญอยู่ร่วมกับมันสำปะหลังจำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1) พันธุ์ห้วยบง 60 2) พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ 3) พันธุ์พิรุณ 1 รายงานครั้งนี้ได้นำเอนโดไฟท์แบคทีเรียที่แยกได้มาทำการศึกษาความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์และในพืช พบว่าเอนโดไฟท์แบคทีเรียที่แยกได้มาบางส่วนสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์และในพืชได้ โดยพบว่าเอนโดไฟท์แบคทีเรียส่วนใหญ่มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในพืชได้ดีกว่า จึงได้คัดเลือกเอนโดไฟท์แบคทีเรียไอโซเลท KUs6 มาเป็นต้นแบบในการศึกษาวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และวิธีทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในพืช Xanthomonas axonopodis และราก่อโรคพืชจำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Colletotrichum gloeosporioides Fusarium moniliformis Fusarium proliferatum และ Fusarium solani ผลการทดลองพบว่า เอนโดไฟท์แบคทีเรียไอโซเลท KUs6 มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและราก่อโรคพืชได้ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในพืช ซึ่งวิธีการศึกษาดังกล่าวในโครงการนี้สามารถเป็นต้นแบบในการศึกษาเอนโดไฟท์แบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในพืชได้ต่อไป นอกจากนี้ได้ศึกษาแบคทีเรียที่สมบัติในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสที่ช่วยในการย่อยสลายซากพืชจากดินที่ปลูกมันสำปะหลังทั้ง 3 สายพันธุ์ ในระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 เดือน พบแบคทีเรียที่มีสมบัติในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลส จำนวน 86 ไอโซเลท และได้คัดเลือกไอโซเลทที่แยกได้จะถูกนำมาศึกษาสมบัติของเอนไซม์เซลลูเลสที่จำเพาะและประยุกต์ใช้ต่อไป ในรายงานนี้ได้คัดเลือกแบคทีเรีย 3 ไอโซเลท ได้แก่ PR1-P15 (6 เดือน), PR1-N9 (6 เดือน) และ HT-P9 (6 เดือน) มาทดสอบความสามารถในการย่อย filter paper และใบมันสำปะหลัง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
Other Abstract: This is the third-year project to isolate the plant-associated endophytic bacteria from three cassava strains including Huay Bong60 (HB 60), Kasetsart 50 (KU 50) and Pirun-1 (PR1). In this study, the antimicrobial activity of endophytic bacteria was assessed against human and plant pathogen. The results showed that a number of isolated entophytic bacteria could inhibit both human and plant pathogens. However, most of them were more efficient to suppress plant pathogens than human ones. Therefore, endophytic bacterial isolate KUs6 was selected and used as a model to develop the method for bioactive compound extraction. KUs6 isolate and its extract were subsequently used to inhibit plant pathogenic microorganisms including bacteria Xanthomonas axonopodis and other fungi including Collectotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliformis, Fusarium proliferatum and Fusarium solani. The results demonstrated KUs6 isolate had the ability to suppress the growth of plant pathogenic bacteria and fungi in vitro and in vivo. Therefore, the developed method in this project could be used to apply for examination of other endophytic bacteria inhibiting plant pathogenic microorganisms. Further, this project also studied the cellulase producing bacteria which could decompose the dead leave or plant from 3 strains of cassava-grown soil at 3, 6, 9 and 12 months. Eighty-six cellulase producing bacteria were isolated and determined the specific cellulase enzyme. In this study, 3 bacterial isolates-PR1-P15 (6 months), PR1-N9 (6 months) and HT-P9 (6 months) were examined the ability to decompose a filter paper and cassava leaf.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78521
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sci_Wanchai Assavalapsakul_2018.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.