Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78523
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุธาพร บุญญเจตน์พงษ์ | - |
dc.contributor.advisor | ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ | - |
dc.contributor.author | สุนิดา ปานเพชร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-02T09:29:21Z | - |
dc.date.available | 2022-05-02T09:29:21Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78523 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | กำลังการผลิตขั้นต้น (primary productivity) ทางทะเล คือ อัตราการผลิตสารอินทรีย์ของแพลงก์ตอนพืชชนิดหนึ่ง ๆ ซึ่งมีความสำคัญมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบขั้นต้นของสายใยอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดระดับความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและแหล่งน้ำ การศึกษานี้ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาดที่พบในบริเวณอ่าวไทย 2 ชนิด คือ Chattonella sp. (ความกว้างเฉลี่ย 23.181 ± 3.318 ไมโครเมตร และความยาวเฉลี่ย 30.346 ± 3.379 ไมโครเมตร) และ Isochrysis sp. (4.330 ± 0.771 ไมโครเมตร) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มนาโนแพลงก์ตอนและพิโคแพลงก์ตอนตามลำดับ (ลัดดา วงศ์รัตน์, 2539) โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ส่วน (ก) ในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่า นาโนแพลงก์ตอนมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและมีกำลังการผลิตขั้นต้นอยู่ในช่วง 46.65 - 451.88 มิลลิกรัมคาร์บอน/ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าพิโคแพลงก์ตอน (0.48 - 333.56 มิลลิกรัมคาร์บอน/ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง) โดยผลการทดลองสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ ความหนาแน่นของเซลล์ ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตละลายน้ำที่เพิ่มขึ้น และปริมาณสารอาหารที่ลดลง (ข) ในสภาวะแข่งขัน เป็นระยะเวลา 10 วัน และมีความจำกัดของสารอาหารที่ระดับความเข้มข้น 100% 75% 50% และ 1% ของสารอาหารสูตร T1 พบว่า กำลังการผลิตขั้นต้นรวมแปรผันตรงกับระดับความเข้มข้นของสารอาหาร และสอดคล้องกันกับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า (1) ในทุกสภาวะพิโคแพลงก์ตอนมีประสิทธิภาพของกำลังการผลิตขั้นต้นต่อหน่วยคลอโรฟิลล์เอมากกว่านาโนแพลงก์ตอน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อระดับความเข้มข้นของสารอาหารลดลง (2) ในสูตรอาหารเดียวกัน (100% ของสารอาหารสูตร T1) ซึ่งมีปริมาณสารอาหารมากเกินพอ พบว่า ในสภาวะแข่งขันมีกำลังการผลิตขั้นต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และขนาดเซลล์ลดลง เมื่อเทียบกับในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว | en_US |
dc.description.abstractalternative | Marine primary productivity is the rate of primary production of phytoplankton which is very important in the marine environment. It is a preliminary component of the food web and an indicator of the abundance of aquatic animals and the ecosystem. This study was conducted in laboratory in order to compare the primary productivity of two phytoplankton cell sizes. The two chosen phytoplankton which normally found in the Gulf of Thailand were Chattonella sp. (mean width 23.181 ± 3.318 microns and mean length 30.346 ± 3.379 microns) and Isochrysis sp. (4.330 ± 0.771 microns). They were classified as nanoplankton and picoplankton, respectively (Wongrat, 1996). The experiment was divided into 2 parts. (a) In a pure culture condition for 20 days, the nanoplankton has shown a rapid growth increase and the primary productivity is in the range of 46.65 - 451.88 mg C/m³/h which is higher than the picoplankton (0.48 - 333.56 mg C/m³/h). The results are consistent with other environmental factors, including cell density, chlorophyll a, dissolved carbohydrate, and nutrient content. (b) In mixed culture conditions for 10 days and with a limitation of nutrients at different concentrations (100%, 75%, 50%, and 1% of T1 medium), the primary productivity varies according to the concentration of nutrients. The results are also consistent with other environmental factors. Furthermore, the data showed that (1) in all conditions, the efficiency of primary productivity per chlorophyll a unit of picoplankton is higher than it of nanoplankton and tends to increase with the decreasing of nutrient contents and (2) in the same condition of excessive amounts of nutrients (100% of T1 medium), the primary productivity, chlorophyll a and the cell size of mixed cultures is reduced, comparing to it of pure cultures. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แพลงก์ตอนพืช | - |
dc.subject | Phytoplankton | - |
dc.title | การเปรียบเทียบกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด | en_US |
dc.title.alternative | Comparison of primary productivity in two phytoplankton cell sizes | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-MARINE-017 - Sunida Panpet.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.