Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78527
Title: การคัดแยกแบคทีเรียกรดแล็กติกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหมักไซเลจ
Other Titles: Isolating lactic acid bacteria strain to enhance the fermentation quality of silage
Authors: พุฒิตา เสือยงค์
Advisors: สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แบคทีเรียกรดแล็กติก
พืชหมัก (อาหารสัตว์)
Lactic acid bacteria
Silage
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นหาแบคทีเรียผลิตกรดแล็กติกที่มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักไซเลจหญ้าเนเปียร์ โดยงานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างในการเพื่อการคัดเลือกจำนวน 27 ตัวอย่าง มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็ง MRS+CaCO₃ พบว่ามีเชื้อเจริญทั้งหมด 140 ไอโซเลต จากนั้นนำมาคัดเลือกต่อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการทดสอบทางชีวเคมี พบว่ามีไอโซเลตที่เป็นแกรมบวก และให้ผลทดสอบแคทาเลสเป็นลบทั้งหมด 102 ไอโซเลต นำทั้ง 102 ไอโซเลตมาทดสอบความสามารถในการทนอุณภูมิสูงที่ 45 และ 50 องศาเซลเซียส พบว่าที่ 45 องศาเซลเซียส มีไอโซเลตที่สามารถเจริญได้ จำนวน 45 ไอโซเลต ส่วนที่ 50 องศาเซลเซียสมีเพียง NH6-03 เท่านั้นที่สามารถเจริญได้ จากนั้นนำทั้ง 45 ไอโซเลต และเชื้อเปรียบเทียบ (Lactobacillus casei AN2 และ L. paracasei AN3) ที่สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิ 45 และ 50 องศาเซลเซียสมาทดสอบความทนกรดต่ำ โดยที่ค่าความเป็นกรด-เบส 3 พบว่ามี 22 ไอโซเลต AN2 และ AN3 ที่มีจำนวนโคโลนีมากจนไม่สามารถนับได้ในทุกระดับการเจือจางและจากการวิเคราะห์หาปริมาณกรดรวมทั้งหมดด้วยวิธีการไทเทรต พบว่า ไอโซเลตที่มีปริมาณกรดรวมมากที่สุดคือ ไอโซเลตที่คัดแยกจาก ตัวอย่างไซเลจ (15SS-02) วัดได้ 270 mM ไอโซเลตที่มีความสามารถในการทนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส (NH6-03) วัดได้ 180 mM เชื้อเปรียบเทียบ AN2 และ AN3 วัดได้ 250 และ 260 mM ตามลำดับ งานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของแบคทีเรียกรดแล็กติกที่จะนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักแก่พืชหมักชนิดต่าง ๆ โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกไอโซเลตที่จะนำไปทดสอบต่อไป คือ 0.5SML-01, 0.5SML-03, 0.5SML-07, 10SSL-01, 10SS-04, NH3-07, NH3-08, FG-01, 15SS-02 และ NH6-03
Other Abstract: This study aims to investigate efficiency of silage Napier grass fermentation which increased by lactic bacteria. 27 samples were used and cultured in MRS+CaCO3 agar, the results found that 140 isolates of lactic bacteria were grown. Investigation of lactic bacteria by their morphologies and biochemistry test, we found that 102 isolates were gram positive bacteria and negative catalase test. These 102 isolates were cultured in 45°C and 50°C, 45 isolates could grow at 45°C and only NH6-03 could grow at 50°C. Then, 45 isolates and control bacteria such as Lactobacillus casei AN2 and L. paracasei AN3 which could grow at both 45°C and 50°C were tested low-acid resistance (pH 3), found that amount of colony of 22 isolates AN2 and AN3 are countless in every dilution. Amount of total acid which analyzed by titration, found that the most amount of acid which came from lactic bacteria isolated from silage sample (15SS-02) was 270 mM. Amount of acid of thermophile isolate which could grow at 50°C (NH6-03) was 180 mM compared with Amount of acid of control bacteria AN2 and AN3 were 250 and 260 mM respectively. This study informs basic characteristic of lactic bacteria for increasing fermentation efficiency, 0.5SML-01, 0.5SML-03, 0.5SML-07, 10SSL-01, 10SS-04, NH3-07, NH3-08, FG-01, 15SS-02 and NH6-03 isolates lead to be tested for future research.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78527
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-022 - Phutthita Seauyong.pdf690.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.