Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78555
Title: การผลิตโปรตีนเข้มข้นจากใบพืชผักบุ้งไทย Ipomoea aquatica Forssk. และกระถิน Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit
Other Titles: Protein Extraction from Ipomoea aquatica Forssk. and Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit
Authors: พิมพ์ปวีณ์ พิศาลปีติ
สีหนาท ประสงค์สุข
Advisors: สีหนาท ประสงค์สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: โปรตีนจากพืช
ผักบุ้งไทย
กระถิน
Plant proteins
Ipomoea aquatica
Leucaena leucocephala
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสกัดโปรตีนเข้มข้น (Leaf protein concentrate) จากใบผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatica Forssk.) และกระถิน (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit) ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านที่พบได้มากในประเทศไทย สำหรับเป็นแนวทางในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมในอาหารคนหรืออาหารสัตว์โดยได้ทำการสกัดโปรตีนจากใบพืชทั้ง 2 ชนิดด้วยวิธี Acid-base extraction ที่สภาวะการสกัดที่ ความเป็นกรด-ด่างต่าง ๆ ได้แก่ 6, 7, 8 และ 9 แล้วตรวจวัดปริมาณโปรตีนที่สกัดได้ด้วยวิธีของ Lowry จากการทดลองพบว่าปริมาณโปรตีนที่ได้จากการสกัดจากใบผักบุ้งที่ความเป็นกรด-ด่าง 6 ให้ปริมาณโปรตีนมากที่สุด (0.72±0.01 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ความเป็นกรด-ด่าง 9 ให้ปริมาณโปรตีนน้อยที่สุด (0.42±0.01 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) และเมื่อสกัดโปรตีนเข้มข้นจากใบกระถินพบว่าที่ความเป็นกรด-ด่าง 9 ให้ปริมาณโปรตีนมากที่สุด (0.21±0.01 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ความเป็นกรด-ด่าง 6 และ 7 ให้ปริมาณโปรตีนน้อยที่สุด (0.12±0.00 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) และ (0.12±0.00 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ และความเป็นกรด-ด่างของการตกตะกอนโปรตีนของใบพืชผักบุ้งไทย และกระถิน พบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจาก 80 เป็น 85 องศาเซลเซียส ที่ความเป็นกรด-ด่าง 3 และ 4 ของใบพืชผักบุ้งไทย มีการตกตะกอนโปรตีนเพิ่มขึ้นจาก 0.14±0.03 เป็น 0.19±0.04 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ 0.08±0.01 เป็น 0.19±0.06 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ในขณะเดียวกันที่ความเป็นกรด-ด่าง 4 และ 5 ของใบพืชกระถิน มีการตกตะกอนโปรตีนเพิ่มขึ้นจาก 0.03±0.01 เป็น 0.11±0.04 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ 0.06±0.02 เป็น 0.08±0.03 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ
Other Abstract: This research is focused on extraction of Leaf Protein Concentrate (LPC) from the leaves of Thailand native species, water spinach (Ipomoea aquatica Forssk.) and river tamarind (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit) founded abundantly to be supplemented protein for food and feed. LPC from the water spinach and river tamarind leaves were extracted by acid-base extraction with different pH values of 6, 7, 8 and 9. Then, the extracted products were determined by the protein content according to Lowry method, found that at pH 6, the water spinach was the highest protein yield (0.72±0.01 g/g DW). On the contrary, the extracted protein content of the water spinach at pH 9 was the lowest (0.42±0.01 g/g DW), meanwhile the extracted protein content of the river tamarind at pH 9 was the highest (0.21±0.01 g/g DW). In contrast, the extracted protein content of the river tamarind leaves at pH 6 and 7 were the lowest (0.12±0.00 g/g DW) and (0.12±0.00 g/g DW) respectively. The interaction analysis between temperature and pH of the protein precipitation of the water spinach and river tamarind, found that when the temperature has increased from 80 to 85 degrees Celsius at pH 3 and 4 of the Water spinach, the Protein precipitation increased from 0.14±0.03 to 0.19±0.04 g/g DW and 0.08±0.01 to 0.19±0.06 g/g DW respectively. Meanwhile, at pH 4 and 5 of the river tamarind, the protein precipitation increased from 0.03±0.01 to 0.11±0.04 g/g DW and 0.06±0.02 to 0.08±0.03 g/g DW respectively.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78555
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BOT-017 - Pimpawee Pisanpeeti.pdf774.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.