Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78578
Title: การพัฒนาอุปกรณ์การวิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับการตรวจวัดแบบเรืองแสงของฟอร์มาลดีไฮด์
Other Titles: Development of paper-based analytical device for fluorescence detection of formaldehyde
Authors: ณัฎฐาภรณ์ ทองวัฒนา
Advisors: พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ฟอร์มัลดีไฮด์
อุปกรณ์ตรวจจับสารเคมี
Formaldehyde
Chemical detectors
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลินเป็นสารก่อมะเร็งโดยการจัดเป็นสารก่อมะเร็งตามข้อกำหนดขององค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) และไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยนี้ได้การพัฒนาการตรวจหาฟอร์มาลดีไฮด์บนอุปกรณ์ฐานกระดาษ (paper-based analytical device) ด้วย hydrazinyl naphthalimide-based fluorescent probe (RBNA probe) โดยความเข้มข้นของ RBNA probe ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวัดหาฟอร์มาลดีไฮด์ในสารละลาย คือ 50 µM ซึ่งมีความไวในการตรวจวัดที่ดีและให้ขีดจำกัดการตรวจวัดต่ำ (0.545 mg/L) จากนั้นใช้ RBNA probe ความเข้มข้น 50 µM ในการตรวจวัดบนอุปกรณ์ฐานกระดาษ ออกแบบระบบตรวจจับการเรืองแสงแบบประดิษฐ์เอง (Homemade fluorescence detection system) ซึ่งใช้สเปกโตรมิเตอร์ USB 2000+ แบบพกพาในการตรวจวัด เพื่อใช้ในการตรวจวัดการเรืองแสงของอุปกรณ์ฐานกระดาษ แต่ไม่สามารถตรวจวัดสัญญาณฟอร์มาลดีไฮด์บนอุปกรณ์ฐานกระดาษที่มีด้วย RBNA probe ได้ ดังนั้นจึงทำการทดสอบระบบตรวจจับการเรืองแสงแบบประดิษฐ์เองด้วย Rhodamine B พบว่าสามารถใช้ตรวจหา Rhodamine B บนอุปกรณ์ฐานกระดาษที่ความเข้มข้นสูง (25-100 mg/L) ได้ แต่ไม่สามารถตรวจวัดที่ความเข้มข้นต่ำ (1.0-10 mg/L) ได้ ด้วยเหตุนี้ระบบตรวจวัดการเรืองแสงแบบประดิษฐ์เองจึงสามารถใช้เพื่อตรวจวัดการเรืองแสงบนอุปกรณ์ฐานกระดาษได้ อย่างไรก็ตามความเข้มของการเรืองแสงจากฟอร์มาลดีไฮด์ความเข้มข้น 50 mg/L ที่ตรวจวัดบนอุปกรณ์ฐานกระดาษด้วย 50 µM RBNA probe อาจไม่สูงพอที่จะตรวจวัดโดยระบบตรวจจับการเรืองแสงแบบประดิษฐ์เองได้
Other Abstract: Formaldehyde or formalin is known to be a carcinogen by IARC classification and not allowed to use in food according to Food. So that is very necessary to detect harmful formaldehyde with a simple and effective method. In this work, the detection of formaldehyde on a paper-based analytical device by a hydrazinyl naphthylamide-based fluorescent probe (RBNA probe) was developed. The concentration of RBNA probe was first optimized for detection of formaldehyde in solution. 50 μM of RBNA probe gave a good sensitivity and low detection limit (0.545 mg/L). Therefore, 50 μM of RBNA probe was applied on paper-based device for detection of formaldehyde. The homemade fluorescence detection system which used a portable USB 2000+ spectrometer used for detection on paper-based device. Unfortunately, it cannot detect formaldehyde on a paper-based device with 50 μM of RBNA probe. Therefore, a design of the homemade fluorescence detection system was test with Rhodamine B which is a strong fluorescent compound. The design can use to detect Rhodamine B on a paper-based device at high concentration (25-100 mg/L) but cannot detect at low concentration (1.0-10 mg/L). As a result, the homemade fluorescence detection system can use to detect fluorescence on paper-based. Nevertheless, the fluorescence intensity from a paper-based detection formaldehyde with 50 μM of RBNA probe may not high enough to detect by the homemade fluorescence detection system.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78578
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-007 - Natthaporn Thongwattana.pdf27.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.