Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78581
Title: การวิเคราะห์แร่ธาตุอาหารที่มีอยู่ในนมผงโดยอาศัยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์
Other Titles: Analysis of mineral nutrient content in milk powder using X-ray fluorescence (XRF)
Authors: นันทนัช เลิศอนันต์สิทธิ์
Advisors: สุรชัย พรภคกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: นมผง
อาหาร -- องค์ประกอบ
Dried milk
Food -- Composition
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คุณภาพของนมผงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปนมผง การตรวจสอบคุณภาพและวิธีการวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมผงจึงมีความสำคัญมาก การตรวจสอบคุณภาพด้านแร่ธาตุตรวจสอบด้วยเทคนิคเอซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์เป็นที่นิยมในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมสารตัวอย่าง สามารถทำการวิเคราะห์ได้โดยตรงต่อสารตัวอย่างของแข็ง และไม่ทำลายสารตัวอย่าง ดังนั้นการทราบผลการวิเคราะห์ได้รวดเร็วจึงส่งผลดีต่อการส่งออกและการจัดจำหน่ายสินค้า บริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจด้านการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงที่มีคุณภาพสำหรับผู้ใหญ่ ทารกและเด็ก อย่างไรก็ดีทางบริษัทมีการวิเคราะห์แร่ธาตุในนมผงโดยอาศัยเทคนิค XRF และได้มีการสร้างเส้นโค้งสอบเทียบของสามแร่ธาตุคือ แคลเซียม, เหล็ก และสังกะสี เส้นโค้งสอบเทียบนั้นยังที่มีช่วงความเข้มข้นไม่ครอบคลุมความเข้มข้นของสูตรนมผงที่มีอยู่ในโรงงานปัจจุบัน ดังนั้นโครงการนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุ โดยเทคนิค XRF ได้แก่ การเตรียมสารตัวอย่าง (น้ำหนักสารตัวอย่าง, แรงดันที่ใช้ในการอัดสารตัวอย่างความชื้น และความเป็นเนื้อเดียวกันของสารตัวอย่าง) และตัวแปรต่าง ๆ ของเครื่องมือ (ศักย์ไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า) จากนั้นทำการสร้างเส้นโค้งสอบเทียบเพื่อการควบคุมคุณภาพแร่ธาตุอาหารในนมใหม่ และเพิ่มแร่ธาตุในการวิเคราะห์ใหม่สองแร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม และแมกนีเซียม สารตัวอย่างนมผงจำนวน 25 สูตร นำมาเป็นสารมาตรฐานวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุโซเดียม, แมกนีเซียม, แคลเซียม, เหล็ก, และสังกะสี พบว่าการวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์มีช่วงความเข้มข้นครอบคลุมปริมาณแร่ธาตุในนมผงแต่ละสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบัน (9.35-31.18, 3.71-12.37, 19.25-64.16, 055-1.83, และ 0.17-0.55 mg/100 g สำหรับ Na, Mg, Ca, Fe, และ Zn), และค่าความเข้มข้นสูงสุดที่วิเคราะห์ และยอมรับได้เท่ากับ 575.32, 245.03, 2311.34, 60.02 และ 17.88 mg/100 g
Other Abstract: Quality of milk powder is an important factor in milk processing industry. Quality check and quantitative method of nutrient content in products are also crucial. Analysis of mineral nutrient content in milk powder using X-ray fluorescence is popular in major industry because it is easy technique, rapid, no need of sample preparation, direct analysis with sample surface, and non-destructive. Therefore, fast of quantitative result provided by XRF benefits exporting and saling product. Mead Johnson Nutrition (Thailand) Co, Ltd. (MJN) has a business on manufacturing and sale well quality of milk products for adults, babies, and kids. However, the company has a method of analysis of mineral nutrient content in milk powder using X-ray fluorescence and has three calibration curves of calcium, iron, and zinc but concentration rang of these calibration cuvres do not cover concentration rage of all formulation milk powder in the company. Thus, this research studied many parameters such as sample preparation (mass, pressure, moisture, and homogeneity) and instrument condition (voltage, current) that affected on analysis of mineral nutrient content in milk powder using XRF and also provided new calibration curves for quality control of milk powder and for determining sodium and magnesium. Twenty five formulations of milk power were used as standard samples for quantitative analysis of sodium, magnesium, calcium, iron, and zinc. Results of the study provided the improved methods for analysis of mineral nutrient content in milk powder using XRF which covered the concentration range of all formulation (9.35-31.18, 3.71-12.37, 19.25-64.16, 0.55-1.83, and 0.17-0.55 mg/100 g for Na, Mg, Ca, Fe, and Zn, respectively), and limit of linearity 575.32, 245.03, 2311.34, 60.02 and 17.88 mg/100 g
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78581
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-005 - Nuntanuch Lersanantasit.pdf31.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.