Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78593
Title: ผลของสารยับยั้งแกมมาซีครีเตสเชิงเปรียบเทียบต่อการอยู่รอดและสมบัติการเป็นเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดของเซลล์ไลน์มะเร็งตับ
Other Titles: Effects of γ-secretase inhibitors on viability and cancer stemness in liver cancer cell lines
Authors: ภูมินทร์ สินธารา
Advisors: ธนาภัทร ปาลกะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เซลล์มะเร็ง -- การเจริญเติบโต -- การควบคุม
ตับ -- มะเร็ง
ยารักษามะเร็ง
Cancer cells -- Growth -- Regulation
Liver -- Cancer
Antineoplastic agents
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่มีความสำคัญและพบได้ในประชากรทั่วโลก ซึ่งแนวทางในการรักษาโรคมะเร็งตับในปัจจุบันด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด ยังมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการรักษาแบบมุ่งเป้า (targeted therapy) โดยใช้สารที่สามารถยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์อย่างจำเพาะ เพื่อขัดขวางการเจริญและการรุกลามของเซลล์มะเร็ง ซึ่งได้มีการศึกษาพบว่าการส่งสัญญาณในวิถีสัญญาณ Notch ที่มากผิดปกติมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งตับด้วยวิถีสัญญาณ Notch มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวน คุณสมบัติความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยมีเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการส่งสัญญาณ คือ แกมมาซีครีเตส (y-secretase) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารยับยั้งแกมมาซีครีเตส (y-secretase inhibitor; GSI) เพื่อยับยั้งการส่งสัญญาณในวิถีสัญญาณ Notch งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของ GSI 3 ชนิดในเชิงเปรียบเทียบ คือ GSI-XVI, GSI-IX และ Crenigacestat ต่อการอยู่รอดและสมบัติการเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ไลน์มะเร็งตับ HepG2 พบว่า GSI-XVI และ GSI-IX ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์ ทำให้เซลล์มะเร็งตับมีชีวิตรอดเฉลี่ยที่ 57.41% และ 63.49% ตามลำดับ และ Crenigacestat ความเข้มข้น 1 ไมโครโมลาร์ ทำให้เซลล์มะเร็งตับมีชีวิตรอดเฉลี่ยที่ 72.93% ในการเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติ โดย GSI-XVI สามารถลดการแสดงออกของโปรตีน Notch1,2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญ GSI-IX ลดการแสดงออกได้เพียงโปรตีน Notch3 และ Crenigacestat ลดการแสดงออกโปรตีน Notch1 ได้ นอกจากนี้ มีเพียง GSI-XVI และ Crenigacestat ที่ลดการอยู่รอดของเซลล์ในการเลี้ยงแบบ spheroid ได้ และ GSI-XVI และ GSI-IX สามารถลดระดับการแสดงออกของยีน hes1 และ hey1 ซึ่งเป็นยีนเป้าหมายของวิถีสัญญาณ Notch และลดระดับการแสดงออกของยีน Oct4 ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งได้ ซึ่งการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้เซลล์ไลน์มะเร็งตับชนิดอื่น โดยการเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติ หรือการยับยั้งวิถีสัญญาณ Notch ด้วยวิถีอื่นอาจนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: Hepatocellular carcinoma (HCC) is one of the most common cancers worldwide. Because of the ineffectiveness of the current treatments for HCC such as surgery, radiotherapy and chemotherapy, targeted therapy is currently development using compounds to inhibit cellular signaling that is involved in HCC development and metastasis. Previous studies showed that aberrant signaling in Notch signaling pathway is involved in the development of several cancers, including HCC. Notch signaling pathway regulates proliferation, cancer stemness and invasiveness of cancer cells. It has a key enzyme to activate the signaling pathway called γ- secretase. Currently, many γ-secretase inhibitors (GSIs) have been developed to inhibit Notch signaling via inhibiting γ-secretase. The objectives of this study are to compare the effect of 3 GSIs, including GSI-XVI, GSI-IX, and Crenigacestat, on viability and cancer stemness using liver cancer cell lines, HepG2. In 2D culture, 50 μM GSI-XVI and GSI-IX inhibit HepG2 viability to 57.41 % and 63.49 % respectively, and 1 μM Crenigacestat inhibited HepG2 viability to 72.93%. GSI-XVI also significantly inhibited Notch1, Notch2, and Notch3 protein expression, while GSIIX inhibited Notch3 expression and Crenigacestat inhibited Notch1 expression. GSI-XVI and Crenigacestat inhibited viability of HepG2 in spheroid culture. GSI-XVI and GSI-IX inhibited hes1 and hey1, which are the Notch target genes, and Oct4, a cancer stemness-related gene. Further study using other liver cancer cell lines with 3D culturing technique or inhibiting Notch signaling pathway using other methods may provide the evidence for the novel effective therapeutic options for the treatment of hepatocellular carcinoma.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78593
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-027 - Pumin Sintara.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.