Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78602
Title: ลำดับการเข้ากินซากของแมลงและสัตว์ขาข้อชนิดอื่นบนซากหมูที่ถูกเผา บริเวณป่าเบญจพรรณของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Insect and other arthropod succession on burnt pig carcass at mixed forest, Chulalongkorn University area, Kaeng Khoi, Saraburi Province
Authors: ทินัดดา เข็มรัมย์
Advisors: บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: นิติกีฏวิทยา
แมลง -- พฤติกรรม
การตรวจซากสัตว์
Forensic entomology
Insects -- Behavior
Veterinary autopsy
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประเมินระยะเวลาหลังการเสียชีวิต (postmortem interval, PMI) มีความสำคัญอย่างยิ่งทางนิติวิทยาศาสตร์ในการการเชื่อมโยงเหยื่อกับผู้ต้องสงสัย ซึ่งสามารถนำหลักฐานทางด้านนิติกีฏวิทยา (forensic entomology) ที่อาศัยความรู้ด้านการกระจายตัว ชีววิทยา และพฤติกรรมของแมลงที่พบบนศพและบริเวณรอบศพมาใช้ในการหาค่า PMI ในประเทศไทยมีข้อมูลการศึกษาทางด้านนิติกีฏวิทยายังไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ศพถูกเผาซึ่งไม่มีการศึกษากรณีดังกล่าวที่ประเทศไทย จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ ศึกษาลำดับการเข้ากินซากของแมลง เปรียบเทียบอัตราการย่อยสลายของซากหมูถูกเผากับซากหมูไม่ถูกเผา และศึกษาความหลากหลายของแมลงบนซากหมู โดยงานวิจัยทำการศึกษาบริเวณป่าเบญจพรรณของศูนย์เครือข่ายการเรียนเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้หมูน้ำหนักประมาณ 30 - 35 กิโลกรัม เป็นสัตว์ทดลอง ทำการเปรียบเทียบระหว่างซากหมูไม่ถูกเผา และซากหมูถูกเผา พบว่าแมลงหลักที่เข้ามากินซากจัดอยู่ในอันดับ Diptera, Coleoptera และ Hymenoptera โดยในซากหมูไม่ถูกเผามีแมลงวันหัวเขียวเป็นแมลงชนิดแรกที่เข้ามาที่ซากคือ Chrysomya megacephala รวมทั้งเป็นแมลงชนิดหลักที่พบมากที่สุดเช่นเดียวกับ Achoetandrus rufifacies และด้วงหลักที่พบมาที่สุดคือ Catharsius molossus ในส่วนซากหมูถูกเผาพบว่ามดแดงชนิด Oecophylla smaragdina เป็นแมลงชนิดแรกที่เข้ามากินซาก และแมลงชนิดหลักที่พบมากที่สุดคือ ชนิด C. megacephala และ A. rufifacies เช่นเดียวกับซากหมูไม่ถูกเผา และด้วงชนิดหลักที่สุ่มเก็บตัวอย่างได้มากที่สุดคือ Catharsius molossus และ Platydracus sp. ในส่วนของระยะเวลาของการย่อยสลายของซากพบว่าซากหมูไม่ถูกเผามีอัตราการย่อยสลายของซากช้ากว่าซากหมูถูกเผา ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการที่ซากหมูถูกเผาด้วยไฟทำให้เกิดการย่อยลายเนื้อเยื่อไปบางส่วนอัตราการย่อยสลายของซากจึงเกิดได้เร็วขึ้น
Other Abstract: The Postmortem interval (PMI) plays a critical role in forensic science in providing a link between the victim and suspected person via forensic entomological evidence, and is performed through knowledge of distribution, behavioural pattern, and development of carrion associated insects to estimate PMI value. However, scientific studies of forensic entomology are still limited in Thailand, especially in the case of burnt carcasses. Therefore, the objectives of this study were to study the succession pattern of insects and decomposition rate of a burnt pig carcass compared to an ordinary pig carcass. The experiment was performed at Chulalongkorn University area, Kaeng Khoi, Saraburi Province using two pig carcasses, each of 30 - 35 kg wet weight, one burnt and one unburnt. Ditera, Coleoptera and Hymenoptera were the main insect orders found on the carcasses. Blowfly (Chrysomya megacephala) and weaver ant (Oecophylla smaragdina) were the first insect species to arrive on the unburnt and burnt pig carcasses, respectively. Chrysomya megacephala and Achoetandrus rufifacies (is that not now C. rufifacies) were the most common dominant insect species found on both the unburnt and burnt pig carcasses. Catharsius molossus was the most common beetle species on the unburnt pig carcass. While C. molossus and Platydracus sp. were the most common beetle species on the burnt pig carcass. The decomposition rate of the unburnt pig carcass was slower than that of the burnt pig carcass, which likely reflects the effect of burning where the tissues are softer and easier to degrade.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78602
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ZOO-016 - Thinadda Khem.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.