Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7864
Title: อิทธิพลของ TNF-Alfla ต่อการสร้าง MMP-13, RANKL และ M-CSF ในเซลล์เพาะเลี้ยงเอ็นยึดปริทันต์ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The effect of TNF-Alfla on the expression of MMP-13, RANKL and M-CSF in cultured periodontal ligament cells
Authors: ประสิทธิ์ ภวสันต์
ทัศนีย์ ยงชัยตระกูล
Email: prasitpav@hotmail.com, Prasit.Pav@Chula.ac.th
tuss_212@hotmail.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: เอ็นยึดปริทันต์
ไซโตคายน์
โรคปริทันต์อักเสบ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เซลล์เอ็นยึดปริทันต์สามารถตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรียและไซโตไคน์ ในภาวะที่มีการอักเสบ โดยหลั่งเอนไซม์ เมทริกซ์เมแทโลโปรทีเนส-13 (MMP-13) เพิ่มขึ้น และสร้างโปรตีนนิวเคลียแฟคเตอร์แคปปาบีไลแกนด์ (RANKL) ซึ่งช่วยกระตุ้นการเกิดเซลล์สลายกระดูก (osteoclasts) ร่วมด้วย แต่การเกิดเซลล์สลายกระดูกจำเป็นต้องมี แมคโครฟาจ-โคโลนี สติมูเลติง แฟคเตอร์ (M-CSF) ร่วมด้วย เราจึงศึกษาว่า เซลล์เอ็นยึดปริทันต์สามารถสร้าง M-CSF และ MMP-13 ในการตอบสนองต่อไซโตไคน์ที่เกี่ยวกับการอักเสบในรอยโรคปริทันต์ คือ ทูเมอร์เนโครสิส แฟคเตอร์ แอลฟา (TNF[alpha]) หรือไม่ วิธีการวิจัย: กระตุ้นเซลล์เพาะเลี้ยงเอ็นยึดปริทันต์ด้วย TNF[alpha] ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ไม่มีซีรัมศึกษาการแสดงออกของ M-CSF, RANKL และ MMP-13 ด้วยอาร์ที-พีซีอาร์ วิเคราะห์การสร้างโปรตีนด้วยอีไลซาร์ หรือ เวสเทอร์น อนาไลซิส ใช้แอนติบอดีต่อรีเซบเตอร์ของทีเอนเอฟ (TNFR) ในการยับยั้ง เพื่อศึกษาว่าการกระตุ้นเกิดผ่านรีเซบเตอร์ใด ตรวจสอบการเคลื่อนของเซลล์ ผล: TNF[alpha] กระตุ้นการแสดงออกและการสร้างโปรตีนของ M-CSF, RANKL และ MMP-13 ผลต่อ M-CSF และ MMP-13 สามารถถูกยับยั้งบางส่วนได้ด้วย เกลือไพโรลิดีนขไดไธโอคาร์บาเมทแอมโมเนียม (PTDC) และ LY294002 แต่ไม่สามารถยับยั้งด้วย NS398 ผลการกระตุ้นลดลงเมื่อยับยั้ง TNFR1 นอกจากนี้ อาหารเลี้ยงเซลล์ที่เก็บจากเซลล์ที่กระตุ้นด้วย TNF[alpha] มีผลในการดึงดูดการเคลื่อนของเซลล์ RAW264.7 สรุป: เซลล์เอ็นยึดปริทันต์สร้าง M-CSF, MMP-13 และ RANKL เพิ่มขึ้น ในการตอบสนองต่อ TNF[alpha] การเพิ่มขึ้นของโปรตีนเหล่านี้ น่าจะเป็นกลไกที่เซลล์ใช้ในการมีส่วนร่วมทำลายเนื้อเยื่อปริทันต์ กลไกการกระตุ้นส่วนหนึ่งเกิดผ่าน NFkB และ PI3K โดยผ่านรีเซบเตอร์ที่เป็น TNFR1
Other Abstract: Objectives: Human periodontal ligament (HPDL) cells respond to periopathogenic factors and inflammatory cytokines by increasing matrix metalloproteinase-12 (MMP-13) and support osteoclastogenesis by expressing receptor activator of nuclear factor kappa B ligand (RANKL). As osteoclastogenesis requires the presence of macrophage colony-stimulating factor (M-CSF), we examine if HPDL cells secrete M-CSF an MMP-13 in responding to tumor necrosis factor[alpha] . (TNF[alpha]). Methods: Cultured HPDL cells were treated with TNF[alpha] in serum-free condition. The expression of M-CSF and RANKL was determined by Reverse Transcription-Polymerase Chain Reaction (TR-PCR) and Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA), respectively. Inhibitors and anti-TNF receptors (TNFR) neutralizing antibodies were used for the inhibitory experiments. Migration assay was performed. Results: TNF[alpha] up-regulated M-CSF, MMP-13 as well as RANKL in HPDL cells. The effect on M-CSF expression could be partially blocked by pyrrolidine-dithiocarbamate ammonium salt (PTDC) and LY294002 but not by NS398. Neutralizing antibody to TNFR1 could diminish the effect of TNF[alpha]. In addition, TNF-treated culture medium exhibited chemotactic effect for RAW264.7. Conclusion: HPDL cells are capable of secreting M-CASF in addition to expressing RANKL in responding to TNF[alpha]. The up-regulation of M-CSF is possible one of the mechanism that contributes to periodontal tissue destruction in response to inflammatory cytokines. The up-regulation is partly through NFkB and PI3K and possibly involves TNFR1.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7864
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prasit.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.