Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/786
Title: รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ทักษะการอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษ
Other Titles: Structural model of a learning hierarchy of the English reading comprehension skills
Authors: กรองแก้ว กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การอ่าน
ความเข้าใจในการอ่าน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้การอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษว่า จะมีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไร โดยยึดแนวความคิดของบลูมและคณะในการจำแนกความสามารถในการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ด้าน คือ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาวิชา 1 (EAP I) ในปีการศึกษา 2538 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบสมิทธิภาพ (Proficiency test) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดความสามารถทั่วไปในการอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษทั้ง 6 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยเทคนิค Partial Least Square (PLS) และทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสมมติฐานใน modelsต่าง ๆกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามวิธีการของสเปคท์ (specht) โดยใช้โปรแกรม Amos ในการวิเคราะห์และตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างของลำดับขั้นการเรียนรู้ทักษะการอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษมีลักษณะสะสมต่อเนื่อง โดยที่ความสามารถในระดับต้นที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังความสามารถในระดับสูงขึ้นไปมีเพียงด้านเดียว คือ ความสามารถด้านความรู้ความจำและมีลักษณะรูปแบบแยกแขนง (Branching) ไม่เป็นเส้นตรง (simple linear model) แต่ลักษณะการแยกแขนงมีความแตกต่างจากรูปแบบที่มีผู้อื่นศึกษามาแล้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ รูปแบบที่ทำการศึกษามีความสามารถปลายทาง 3 ด้าน คือ ความสามารถด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า โดยความสามารถด้านการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์แยกแขนงออกมาจากความสามารถด้านความเข้าใจ ส่วนความสามารถด้านการสังเคราะห์แยกแขนงมาจากความสามารถด้านความรู้ความจำโดยตรงเพียงด้านเดียว
Other Abstract: The purpose of this research was to study the structural model of a learning hierarchy of the English reading comprehension abilities following Bloom's claasification of six levels of cognitive skill: knowledge & memory, comprehension, apllication, analysis, synthesis,, and evaluation. 380 second year students studying EAP I in the Faulty of Commerce & Accountancy and the Faculty of Economics, Chulalongkorn University in the academic year 1995 were used as the subjects of the study. The instrument used was an English reading proficiency test constructed to measure the six abilities of the cognitive skill. The data was analyzed by the Path Analysis method with the Partial Least Squares technique. The models studied were tested against the empirical data following Specht's procedure available in Amos program. Findings: The model constructed was similar to the models studies earlier in that it was a branching and accumulative model in which the abilities at the lower levels have both direct and indirect effects on the abilities at the higher level. It was, however, significantly different from the models studies earlier in its branching. It had three terminal abilities: synthesis, branching directly from knowledge and memory skill, analysis and evaluation which both branch from comprehension skill.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/786
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krongkaew(stru).pdf11.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.