Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78730
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปา-
dc.contributor.authorศิรวีย์ ครองศิล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-06T08:46:01Z-
dc.date.available2022-06-06T08:46:01Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78730-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกํากับดูแลธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าในการให้บริการด้าน สุขภาพมีการพัฒนาตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของ โลก จึงควรให้ความสําคัญกับการบริการด้านสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชากร เพื่อ ตอบสนองความต้องการและสร้างมาตรฐานในเทคโนโลยีโทรเวชกรรม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทย ยังมุ่งเน้นการให้บริการโทรเวชกรรมไปที่กลุ่มของผู้ให้บริการที่เป็นสถานพยาบาลแต่เพียงเท่านั้น ทั้งที่ใน ปัจจุบันการบริการด้านสุขภาพที่มีใบประกอบอนุญาตไม่ควรจะจํากัดอยู่แค่ในโรงพยาบาล เพื่อเป็นการ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของประชาชนและเป็นการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว โดยใช้จุด แข็งที่ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญในระบบสุขภาพเป็นจํานวนมาก ได้รับรองมาตรฐานสากลเป็นที่น่าเชื่อถือ ของประชาชนไม่ว่าจะใยนประเทศหรือชาวต่างชาติ จึงควรใช้จุดแข็งนี้เป็นเครื่องมือในการต่อยอดให้ กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์อย่างครบวงจร (Medical Hub) มีการให้บริการทางการแพทย์ที่ ทันสมัย ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อข้อมูลด้านสุขภาพแม้ว่าจะอยู่ นอกสถานพยาบาล ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศแต่การบริการนี้ยังครอบคลุมไปถึงผู้ป่วยที่อยู่ในต่างประเทศ อีกด้วย ผู้ศึกษาเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวควรมีการเพิ่มเติมในส่วนการกําหนดมาตรฐานของผู้ให้บริการ การขออนุญาตเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องการศึกษาหลักการแนวปฏิบัติของโทรเวช กรรมทั้งในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสิงค์โปร์ เพื่อนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ มาตรฐานสําหรับผู้ให้บริการ ลักษณะของการขอใบอนุญาตดําเนินการให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละสาขา วิชาชีพ มาตรฐานของสถานประกอบการที่ให้บริการโทรเวชกรรม รวมไปถึงมาตรการส่งเสริมการ ให้บริการด้านสุขภาพผ่านโทรเวชกรรม จากการศึกษาพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงค์โปร์ มีแนวปฏิบัติที่ออกมากําหนดมาตรฐานการให้บริการ Telemedicine เป็นการเฉพาะ ผู้ศึกษาจึงได้มีการเสนอแนะว่าประเทศไทยควรจะนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยควรมีกฎหมายเฉพาะที่กํากับดูแลและควบคุมผู้ให้บริการด้านสุขภาพผ่านระบบโทรเวชกรรม มีการ จํากัดความรับผิด เพื่อให้ผู้รับการบริการด้านสุขภาพผ่านระบบโทรเวชกรรม ได้รับมาตรฐานการให้บริการ ที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงควรมีมาตรการในส่งเสริมเทคโนโลยีโทรเวชกรรมในประเทศไทย เพื่อดู แนวโน้มความเป็นไปได้ทางธุรกิจและไม่เป็นการปิดกั้นในการพัฒนาทางการแพทย์และธุรกิจ ภาครัฐควร ออกมาตรการสนับสนุนการใช้และการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับโทรเวชกรรมในประเทศไทย เพื่อที่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์จากเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงแม้อยู่ ในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังเป็นการลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา ทํา ให้เกิดการบริหารจัดการการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงในแง่มุมของความเข้มแข็งของ ประเทศในด้าน Health Informatics ของเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ในประเทศและเปิดทางสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สร้างโอกาสในการเข้าแข่งขันในระดับสากลได้อย่างไร้ ขีดจํากัด และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.187-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแพทย์ทางไกลen_US
dc.subjectสุขภาพen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ โดยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormanit_j@yahoo.com-
dc.subject.keywordการบริการด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordโทรเวชกรรมen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.187-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380037334.pdf918.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.