Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78763
Title: คาร์บอกซีเมทิเลชันบนผ้าฝ้ายกอซด้วยวิธีการดูดซับและวิธีการอัดรีด-อบแห้ง-บ่ม
Other Titles: Carboxymethylation on cotton gauze by exhaustion and pad-dry-cure methods
Authors: ณัฐณิชา เฮงประภากร
Advisors: สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์
วนิดา จันทร์วิกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ผ้าฝ้าย -- การดูดซึมและการดูดซับ
Cotton fabrics -- Absorption and adsorption
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดัดแปรผ้าฝ้ายกอซด้วยกระบวนการคาร์บอกซีเมทิเลชันแบบ วิธีการดูดซับและวิธีการอัดรีด-อบแห้ง-บ่ม ซึ่งการดัดแปรผ้าฝ้ายกอซทำได้ด้วยการใช้ปฏิกิริยา อีเทอริฟิเคชันกับโซเดียมไฮดรอกไซด์และกรดโมโนคลอโรแอซีติก และศึกษาตัวแปรของความ เข้มข้นของกรดโมโนคลอโรแอซีติก ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ และระยะเวลาในการทำ ปฏิกิริยา ที่มีผลกระทบต่อการแทนที่หมู่ไฮดรอกซิลของผ้าฝ้ายกอซด้วยหมู่คาร์บอกซิล และศึกษา สมบัติการแข็งตัวของเลือดการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย ประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลาย ไคโตซานและสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต การดูดซึมน้ำ ความขาว และความแข็งแรงต่อแรงดัน ทะลุของผ้าฝ้ายกอซที่ดัดแปร จากผลการทดลองที่ได้พบว่าค่าระดับของการแทนที่เทียบเคียงมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นของกรดโมโนคลอโรแอซีติก ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอก ไซด์ และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่มีระดับการแทนที่หมู่ไฮดรอก ซิลของผ้าฝ้ายกอซด้วยหมู่คาร์บอกซิลเพิ่มขึ้น มีความสามารถดูดซับไคโตซานและซิลเวอร์ไนเตรต ได้มากขึ้นและเก็บสารทั้งสองได้ในระยะเวลาที่นานขึ้น ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรสามารถต้านทานเชื้อ แบคทีเรียได้ดีกว่าผ้าฝ้ายกอซที่ไม่ดัดแปร ค่าดัชนีความขาวและค่าการดูดซึมน้ำของผ้าฝ้ายกอซ ดัดแปรใกล้เคียงกับผ้าฝ้ายกอซไม่ดัดแปร ส่วนค่าความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุของผ้าฝ้ายกอซ ดัดแปรมีค่าเพิ่มขึ้น ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรซึ่งมีค่าระดับการแทนที่เทียบเคียงประมาณ 0.4-0.5 ช่วย เร่งการแข็งตัวของเลือดได้ดีกว่าผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่มีระดับการแทนที่เทียบเคียงที่สูงกว่า
Other Abstract: The objective of this research was to modify cotton gauze by carboxymethylation by exhaustion and pad-dry-cure method by etherification with sodium hydroxide and monochloroacetic acid. Effect of three factors of monochloroacetic acid, sodium hydroxide and reaction time on the degree of substitution on modified cotton gauze were studied. Blood clotting, antibacterial, chitosan and silver nitrate absorption, water absorption, whiteness and bursting strength of the unmodified and modified cotton gauze were also studied. The results of this research found that increasing the concentration of monochloroacetic acid, concentration of sodium hydroxide and reaction time could provide a better relative degree of substitution on modified cotton gauze. Modified cotton gauze having a higher degree of substitution had a better absorption of chitosan and silver nitrate and retained two agents longer than those of unmodified cotton gauze and those of modified cotton gauze having a low degree of substitution. Modified cotton gauze had more efficiency of antibacterial than unmodified cotton gauze. Bursting strength of modified cotton gauze increased due to the shrinkage of cotton gauze. Whiteness and water absorption of modified cotton gauze were comparable to those of unmodified cotton gauze. Modified cotton gauze having the relative degree of substitution about 0.4-0.5 provided a faster rate of blood clotting, compared with cotton gauze having the higher relative degree of substitution.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78763
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4972620923_2551.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)897.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.