Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78821
Title: การคัดแยกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่ผลิต โปรตีเนส อะไมเลสและไลเปส
Other Titles: Isolation of the proteinase, amylase and lipase producing photosynthetic bacteria
Authors: บัณฑิตา จิตบรรเจิด
Advisors: กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แบคทีเรียสังเคราะห์แสง
โปรติเนส
อะมีเลส
ไลเปส
Photosynthetic bacteria
Proteinase
Amylases
Lipase
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงแดงที่ไม่สะสมกำมะถัน (Purple non-sulfur bacteria, PNSB) สามารถสร้างสารที่มีคุณค่าและนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ เช่น รงควัตถุและเอนไซม์ ในปัจจุบัน เอนไซม์จากแบคทีเรียถูกใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะคัดแยก PNSB ที่สามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเนส อะไมเลส และไลเปส โดยได้คัดแยก PNSB จากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดสมุทรสาครและสุพรรณบุรี เพาะเลี้ยงภายใต้ภาวะ photoheterotroph ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว RCVB ที่ความเข้มแสง 3,000-3,500 ลักซ์ สามารถคัดแยก PNSB ได้ 66 ไอโซเลท เมื่อนำไปคัดกรองหาไอโซเลทที่สามารถผลิตโปรตีเนส อะไมเลส และไลเปส บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง skim milk, starch และ tributyrin ตามลำดับ ภายใต้ภาวะ chemoheterotroph พบว่ามี 6 ไอโซเลท ที่สามารถผลิตอะไมเลส 12 ไอโซเลทที่สามารถผลิตโปรตีเนสและทั้ง 66 ไอโซเลท สามารถผลิตไลเปสได้ เมื่อเลือกสายพันธุ์ที่สามารถสร้างเอนไซม์แต่ละชนิดได้สูงสุด 5 สายพันธุ์แรกไปวิเคราะห์แอกทิวิตีเอนไซม์อะไมเลสจากเชื้อที่เลี้ยงทั้งภายใต้ภาวะ chemoheterotroph ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว RCVB ที่มี 1% starch soluble เป็นแหล่งคาร์บอน พบไอโซเลทที่ให้แอกทิวิตีของอะไมเลสได้สูงสุดคือ SP9 ได้เท่ากับ 0.518 ± 0.06 ยูนิต/มิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 8 วัน เมื่อคำนวณแอกทิวิตีจำเพาะของอะไมเลส พบว่า SP9 ยังเป็นสายพันธุ์ที่มีแอกทิวิตีจำเพาะสูงสุด เท่ากับ 176.11 ±4.55 ยูนิต/กรัมน้ำหนักเซลล์แห้งและ พบว่า การเลี้ยงภายใต้ภาวะ chemoheterotroph จะให้แอกทิวิตีและแอคทิวิตีจำเพาะของอะไมเลสที่สูงกว่าการเลี้ยงในภาวะ photoheterotroph นอกจากนี้ สายพันธุ์ SP9 ยังสามารถสร้างเอนไซม์โปรตีเอสและไลเปสอีกด้วย
Other Abstract: Purple non-sulfur bacteria (PNSB) can produce many valuable and useful products such as pigments and enzymes. Nowadays, enzymes from bacteria were widely used in various biotechnology and industrial processes. Therefore, the objective of this study was to isolate and screen for the proteinase, amylase and lipase producing purple non-sulfur bacteria. 66 PNSB strains were isolated from fresh water in Samut Sakhon and Suphanburi provinces by enrichment method under photoheterotroph condition in RCVB medium under light 3,000-3-500 lux. After screening for amylase, proteinase and lipase production on starch, skim milk, and tributyrin agar plates respectively. 6 isolates could produce amylase, 12 isolates produced proteinase and all of 66 PNSB isolates produced lipase under chemoheterotroph condition. The results showed that strain SP9 exhibited highest amylase activity of 0.518 ± 0.06 Unit/ml when cultured in RCVB medium containing 1% starch soluble under chemoheterotroph condition after 8 days cultivation. The highest specific amylase activity of 176 ± 4.55 Unit/g obtained from SP9 isolate. Cultivation of SP9 under chemoheterotroph condition resulted in higher enzyme activity than under photoheterotroph condition. Moreover, SP9 was capable of producing proteinase amylase and lipase.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78821
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MICRO-009 - Bantita Jitbanjead.pdf40.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.