Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78843
Title: การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลชีวภาพโดยการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพ ด้วยแบคทีเรียที่ผลิตพอลิไฮดรอกซีแอลคาโนเอต
Other Titles: Development of biorecycling process through bioplastic degradation using PHAs producing bacteria
Authors: สิริยากร มิตรจิตร์
Advisors: สุชาดา จันทร์ประทีป นภาธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: พลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพ
Biodegradable plastics
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พลาติกชีวภาพ ประกอบด้วยวัตถุดิบที่ผลิตจากแหล่งชีวมวล ซึ่งสามารถหมุนเวียนได้ โดยพลาสติก ชีวภาพนั้นมีคุณสมบัติเด่นคือ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพภายใต้สภาวะที่ เหมาะสม โดยทุกวันนี้พลาสติกชีวภาพถูกนำมาใช้ทดแทนพลาสติกปิโตรเคมีกันแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งด้วย เหตุผลที่กล่าวข้างต้นทำให้การย่อยสลายพลาสติกชีวภาพอาจกลายเป็นปัญหาได้ในอนาคต ดังนั้นการรีไซเคิล ชีวภาพโดยการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพที่การใช้งานอย่างแพร่หลาย ได้แก่ โคพอลิเมอร์ของ poly(3- hydroxybutyrate-co-3-hydroxyvalerate), พอลิแลคติกแอซิด และเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยแบคทีเรียที่มี ความสามารถในการผลิต PHAs เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในจัดการขยะพลาสติกชีวภาพ งานวิจัยนี้วิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการรีไซเคิลชีวภาพโดยการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพด้วยเชื้อ Cupriavidus necator strain A-04, เชื้อ Burkholderia contaminans SCN-KJ ซึ่ งคั ด แยก โน น างส าวก น ก จัน ท ร์ ใจบุญ แล ะ เชื้อ Burkholderia gladioli A7 ที่คัดแยกโดยนายศิริราชย์ นันทะชัย ซึ่งเป็นแบคที่เรียที่สามารถผลิต PHAs ได้ จาก ผลการทดสอบการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพในระดับขวดเขย่าพบว่า ในการเลี้ยงเชื้อทั้งสามสายพันธุ์โดยพลาสติก ชีวภาพชนิด PLA เป็นแหล่งคาร์บอนมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียมวลของพลาสติกสูงที่สุดที่ 11% ด้วยเชื้อ B. gladioli A7 และในการเลี้ยงเชื้อด้วยพลาสติกชนิด TPS ที่ 4% ด้วยเชื้อ B. gladioli A7 อย่างไรก็ตามไม่พบการ ผลิต PHAs จากผลิตภัณฑ์จากการย่อยสลายในทั้งสามสายพันธุ์ที่ทดสอบ จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาวะเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพและผลิต PHAs พร้อมกัน
Other Abstract: Bioplastics are plastic materials produced from renewable resources. Their unique properties over petrochemical based plastics are biocompatibility and biodegradable under suitable conditions. Nowadays, bioplastics are used to replace petrochemical plastics. Degradation of bioplastics may causes problems in the future. Therefore, biorecycling of widely used bioplastic pass through degradation with PHAs-producing bacteria is one of important solution that would impact on bioplastic was management. The widely used bioplastic such as poly(3-hydroxybutyrate-co-3 -hydroxyvalerate), polylactic acid and thermoplastic starch. The objective of this study was to biorecycling process through bioplastic degradation by Cupriavidus necator strain A-04, Burkhoderia contaminans SCN-KJ and Burkholderia gladioli A7, PHAs producing bacteria. The preliminary degradation study revealed that, among three strains tested, the highest weight lost of PLA at 11% was obtained from B. gladioli A7 and the highest weight lost of TOS at 4 % was also obtained from B. gladioli A7 . However, the production of PHAs from degrading products was not observed in all three strains tested. Further optimization of the conditions for simultaneous bioplastic degradation and PHAs production is required.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78843
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MICRO-018 - Siriyakorn Mitjit.pdf26.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.