Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78947
Title: การแยกแก๊สผสม ไนโตรเจน/คาร์บอนไดออกไซด์/มีเทน ด้วยเมมเบรนพอลิซัลโฟน
Other Titles: Separation of Nitrogen/Carbon dioxide/Methane mixed gas by polysulfone membranes.
Authors: ศุภวิชญ์ ไร่คลองครุ
ปกรณ์ พุ่มซ้อน
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ก๊าซ -- การแยก
เมมเบรนแยกก๊าซ
Gas separation membranes
Gases -- Separation
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะการแยกแก๊สของเมมเบรนพอลิซัลโฟนโดยทดสอบค่าการซึมผ่านเมมเบรน (Gas permeability) ของแก๊สเดี่ยว 3 ชนิด ได้แก่ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน นำมาคำนวณเป็นค่าความสามารถในการเลือกสรรคู่แก๊สอุดมคติ (Ideal selectivity) จากอัตราส่วนค่าการซึมผ่านของแก๊สเดี่ยวคู่หนึ่ง ๆ ผลการเตรียมเมมเบรนพอลิซัลโฟนด้วยเทคนิคเฟสอินเวอร์ซันจากสารละลายพอลิซัลโฟน (Average Mw ~35,000) เข้มข้นร้อยละ 25.2 โดยน้ำหนัก ใน 1-เมทิล-2-ไพโรลิไดโนน [N-Methyl-2-Pyrrolidinone (NMP)] และเอทานอลไร้น้ำ (Anhydrous ethanol) เข้มข้นร้อยละ 66.4 และ 8.4 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ได้แผ่นเมมเบรนพอลิซัลโฟนลักษณะไม่สมมาตรมีความหนาทั้งหมดเท่ากับ 0.298±0.003 mm มีชั้นเนื้อแน่นหนาประมาณ 10 ไมครอน อยู่บนชั้นรองรับมีรูพรุน ให้ค่าการซึมผ่านแก๊สมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนเท่ากับ 414.04±11.49, 513.09±3.01 และ 59.61±10.69 แบร์เรอร์ (Barrer) ตามลำดับ ณ อุณหภูมิห้อง ที่ความดันขับ (Driving force) เท่ากับ 2.5 บาร์ นำไปคำนวณค่าการเลือกสรรคู่แก๊สอุดมคติมีเทน/ไนโตรเจน และมีเทน/คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เท่ากับ 6.95±0.27 และ 0.81±0.02 ตามลำดับ แสดงว่าเมมเบรนพอลิซัลโฟนแบบไม่สมมาตรนี้สามารถแยกไนโตรเจนออกจากมีเทนและ/หรือคาร์บอนไดออกไซด์ได้ง่ายใกล้เคียงกัน แต่คาร์บอนไดออกไซด์อาจแยกออกจากมีเทนได้ไม่ดีนัก
Other Abstract: The gas separation performance of polysulfone membranes were studied in this research in term of gas permeability and ideal selectivity. The ideal selectivity was calculated from the ratio of single gas permeability of each pairs between methane, carbon dioxide and nitrogen. The polysulfone membrane was prepared by phase inversion technique from the solution of 25.2%w polysulfone (average Mw ~35,000) in a solvent mixture of 66.4%w N-Methyl-2-Pyrrolidinone (NMP) and 8.4%w anhydrous ethanol. The asymmetric membrane sheet was obtained. The membrane with total thickness of 0.298±0.003 mm with 10 micron dense layer was tested for its gas separation performance at room temperature. The permeabilities for methane, carbon dioxide and nitrogen at 2.5 bars transmembrane pressure were 414.04±11.49, 513.09±3.01 and 59.61±10.69 barrers, respectively. The ideal selectivities of CH₄/N₂ and CH₄/CO₂ were 6.95±0.27 and 0.81±0.02, respectively. The results showed that the asymmetric polysulfone membrane could be used for separation of nitrogen from methane and/or carbon dioxide easily but could not be used for separation of methane from carbon dioxide.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78947
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEMENG-017 - Suphawit Raikhlongkhru.pdf26.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.